Tuesday, March 18, 2008

กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด

       กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด
       กำลังเกิด ภัยร้าย อันใหญ่หลวง
       แก่สัตว์โลก ทั่วถิ่น จักรวาลปวง
       น่าเป็นห่วง ความพินาศ ฉกาจเกิน
            กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด
       ในโลกเกิด กลียุค อย่างฉุกเฉิน
       หลงวัตถุ บ้าคลั่ง เกินบังเอิญ
       มัวเพลิดเพลิน สิ่งกาลี มีกำลัง
            กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด
       ความเลวร้าย ลามเตลิด จวนหมดหวัง
       รีบกลับมา ทันเวลา พาพลัง
       มายับยั้ง โลกไว้ ให้ทันกาลฯ"

      

     

Tuesday, March 11, 2008

ธรรมะ...กับการเงิน

Financial Intelligence

  

"ธรรมะ...กับการเงิน" ได้ยินแล้วหลายคนอาจจะแปลกใจไม่น้อย ว่าสองเรื่องนี้มาจะหลอมรวมกันเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างไร ฟังๆ ดูน่าจะเป็นเรื่องที่อยู่กันคนละขั้ว คนละฝั่ง คนละฝา หรือหลายคนอาจจะคิดว่าคงมีหลักธรรมคำสอนเพื่อการใช้ชีวิตทั่วๆ ไปที่พอจะประยุกต์มาใช้จัดการทางการเงินได้บ้าง

 

แต่ที่จริงแล้วมีหลักธรรม คำสอนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการทางเงินมากมาย ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล คงเป็นเพราะมีผู้คนเป็นทุกข์เพราะเรื่องทรัพย์สินเงินทองกันมานานแล้ว อย่างที่เราเคยได้ยินเรื่องราวของเศรษฐี พ่อค้า คหบดีผู้มั่งคั่ง หรือยาจกเข็ญใจที่ได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าหลายเรื่อง

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า "ธรรมะ" คือ ธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราใช้ชีวิตให้เป็นไปตามธรรมดา ตามความจริงของธรรมชาติ คนธรรมดาๆ อย่างเราๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน เป็นเถ้าแก่ เป็นคุณหมอ เป็นวิศวกร เป็นแม่ค้า พ่อค้า ต่างต้องทำงาน ต้องหาเงิน ต้องใช้จ่าย ต้องทำมาหากินทุกวันเป็นธรรมดา เพราะการทำมาหากินเป็นหน้าที่ เป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นธรรมชาติของคนทำงานอย่างเรา จึงไม่น่าแปลกใจที่มีหลักธรรมเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินเงินทองมากมาย และเพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สภาพแวดล้อม และสภาวะเศรษฐกิจ ช่วงที่ผ่านมาเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนหลายคนตั้งรับไม่ทัน ปัจจัยหลายอย่างที่เคยเกื้อหนุนต่อการทำมาหากินก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย จากที่เคยซื้อง่ายขายคล่อง จะหยิบจับอะไรก็กลายเป็นเงินเป็นทอง จากที่เคยได้โบนัสปีละหลายเดือน เคยมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากเป็นกอบเป็นกำ ได้เงินปันผลงามๆ เคยจับจ่ายใช้สอยได้สบายๆ

 

ทุกวันนี้ หลายอย่างเปลี่ยนไป รายได้ไม่เป็นไปอย่างที่เคยได้ ส่วนรายจ่ายกลับสวนทางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความผันผวน ความไม่แน่นอนกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกวัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำร้ายความมั่นคงทางการเงินของเรามากน้อยแตกต่างกันไป

 

หนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างมั่นคง ก็คือการสร้างเกราะคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานที่เข้มแข็งให้ตัวเราเองโดยการน้อมนำหลักธรรมะมาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะธรรมะ In trend เสมอไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร หากเรายืนได้อย่างมั่นคง เราก็จะตั้งรับได้อย่างเข้มแข็ง และเราก็จะเดินหน้าก้าวต่อไปได้อย่างมั่นใจ

 

วันนี้ Financial Intelligence ขอนำเสนอหลักธรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพย์สินเงินทองมาเผยแผ่เพื่อให้คนทำงาน คนธรรมดาอย่างเราๆ ได้เห็นความจริงตามธรรมชาติว่า แท้จริงแล้วเรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่จัดการได้

 

"อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิธานวา สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมฺภตํ อนุรกฺขติ

ขยันทำงาน

ไม่ประมาท

ฉลาดในการจัดการ

เลี้ยงชีพแต่พอดี

 ย่อมรักษาทรัพย์สมบัติให้คงอยู่และเพิ่มทวี"

 

จะเห็นว่าแนวปฏิบัติสี่ข้อสั้นๆ นี้ทำได้ไม่ยากนัก เริ่มต้นด้วยการหารายได้ ที่ต้องขยันทำงาน คงต้องลองพิจารณาให้รอบคอบอีกสักครั้งหนึ่งว่าเราขยันแล้วหรือยัง แล้วเราขยันอย่างฉลาดหรือไม่ เราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง การทำงานเยอะๆ แบบขาดประสิทธิภาพอาจจะไม่ให้ผลผลิตที่ดี และไม่คุ้มค่า

 

นอกจากนี้ การขยันทำงานยังต้องรวมไปถึงการขยันพัฒนางานที่ทำอยู่ด้วย คือหมั่นหาความรู้เพิ่มเติม และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณภาพงานและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

 

ข้อต่อมาต้องไม่ประมาท เพราะความประมาททำให้เกิดความเสื่อม ความเสียหาย ทั้งเสื่อมเสียทรัพย์สิน เสียชื่อเสียง เสียสุขภาพ เสียงานเสียการ ซึ่งความประมาทที่เป็นตัวการสำคัญ เป็นเหตุแห่งความเสื่อมเสียทรัพย์สิน ก็คือ อบายมุขทั้งหกประการ ได้แก่ การเล่นพนันรวมทั้งแทงบอลซื้อหวย การดื่มสุรายาเสพติด การเที่ยวกลางคืน การคบเพื่อนไม่ดี การเกียจคร้านในการทำงาน และการดูหนัง ดูละครเป็นประจำ อบายมุขทั้งหกนี้ ใครต้องการมีทรัพย์ไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต ต้องการรักษาทรัพย์สินไว้ให้ลูกให้หลานใช้ในอนาคตต้องหลีกให้ไกล

 

ข้อสำคัญ ในการรักษาทรัพย์ต่อมาก็คือ ต้องฉลาดในการจัดการ ยิ่งในยุคดอกเบี้ยต่ำ น้ำมันแพง ข้าวของแพง เงินเฟ้อสูงแบบนี้ ยิ่งต้องฉลาด ต้องหาวิธีวางแผนและจัดการเงินของเราอย่างรอบคอบ อาจจะใช้หลัก โภควิภาคสี่ มาลองจัดการแบ่งเงินเป็นสี่ส่วน โดยส่วนที่หนึ่งไว้สำหรับใช้จ่ายเลี้ยงชีพ และเลี้ยงดูพ่อแม่ ส่วนที่สองและส่วนที่สามให้รวมกันแล้วใช้ในการประกอบการงานอาชีพ และส่วนสุดท้ายให้กันไว้ใช้ในยามจำเป็น และข้อสุดท้ายต้องรู้จักเลี้ยงชีพแต่พอดี ไม่ใช้จ่ายเกินฐานะ ต้องรู้จักใช้เงินให้น้อยกว่าที่หาได้เสมอ ยิ่งในยุคสังคมนิยมบริโภคอย่างในปัจจุบัน ยิ่งต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะมีสิ่งเร้ามากมาย ทั้งลดแลกแจกแถม โปรโมชั่นพิเศษที่คอยเชิญชวนให้เราจับจ่ายใช้สอยตลอดเวลา รวมทั้งการซื้อก่อนผ่อนทีหลังก็ทำได้ง่ายดายแสนสบายชวนให้เป็นหนี้ได้ทั้งที่ไม่จำเป็น

 

ดังนั้น ทุกครั้งที่จะใช้จ่ายต้องถามตัวเองเสมอว่าเราจำเป็นต้องใช้จริงๆ หรือไม่

 

จะเห็นว่าแนวปฏิบัติสี่ข้อสั้นๆ ในการรักษาทรัพย์ให้คงอยู่และเพิ่มทวีนี้เป็นแนวปฏิบัติที่ครบถ้วนสมบูรณ์และทำได้จริง สำคัญที่ว่าจะลงมือทำจริงๆ หรือไม่

 

Monday, March 10, 2008

แค่ 3 กรรม

แค่ ๓ กรรม
โอ้โลกเรา ให้ความสุข ทุกก้าวย่าง
โอ้โลกเรา ให้ทุกอย่าง กระจ่างเห็น
โอ้โลกเรา ให้ความสุข ทุกเช้าเย็น
โอ้โลกเรา มิเคยเว้น เด่นแสงธรรม

โลกให้เรา แล้วเราให้ อะไรบ้าง
กลับทิ้งขว้าง ไม่ยอมเอื้อ เกื้อกูลค้ำ
น้ำใสๆ นานไปเห็น เป็นสีดำ
เพราะเศษมูล ถูกขยำ ลงลำคลอง

มาฟื้นฟู ให้โลกนี้ มีธรรมล้ำ
ด้วยสามกรรม ล้ำเลิศสุด ให้ผุดผ่อง
กายกรรม วจีกรรม มโนตรอง
จำให้คล่อง เพื่อให้เกิด เลิศปัญญา

กายกรรม คือการทำ น้อมนำหนุน
ไม่ฆ่าสัตว์ มัดทารุณ รู้คุณค่า
วจีกรรม ต้องพูดดี มีสัมมา
ส่วนมโน ขอย้ำว่า อย่าคิดทราม

เพียงแค่นี้ ก็เหมือนช่วย อำนวยโลก
ความทุกข์โศก ย่อมหายไป ในกรรมสาม

อยู่อย่างสุข ไร้ดวงจิต คิดคุกคาม
มิต้องแบก มิต้องหาม แค่
สามกรรม...เฟื่องฟ้า


กรรม ๓ (การกระทำ, การกระทำที่
ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม )


๑. กายกรรม (กรรมทำด้วยกาย, การ
กระทำทางกาย )

๒. วจีกรรม (กรรมทำด้วยวาจา, การ
กระทำทางวาจา )

๓. มโนกรรม (กรรมทำด้วยใจ, การ
กระทำทางใจ )

Monday, March 3, 2008

ธรรมะ เพื่อความรุ่งเรือง

ธรรม เพื่อความรุ่งเรือง

J
  ตักบาตรพระล้านครั้ง   ไม่เท่ายื่นอาหารให้พ่อแม่เพียงครั้งเดียว
J
  ความดีของลูก   คือความสุขของพ่อแม่   ความเลวของลูก   คือความทุกข์ของพ่อแม่
J
  หลงผัว   หลงเมีย   จนลืมพ่อแม่   นับว่าแย่มาก
J
  อยากรวย   ให้ทำงาน   อยากสวยให้รักษาศีล   อยากดี   ให้หมั่นเจริญภาวนา
J
  คนฉลาด   กำลังทำงาน   ส่วนคนโง่   กำลังดูฤกษ์ยาม
J
  หนึ่งวินาที   คบบัณฑิต   ดีกว่าหนึ่งปี   คบคนพาล
J
  อย่าประมาทเมื่อพบงานง่าย   อย่าท้อใจเมื่อพบงานยาก
J
  ถ่อมตนคนรัก   อวดนักคนชัง(อวดดี...ไม่ใช่การอวดที่ดี)
J
  เสริมเสน่ห์ตนเองด้วยรอยยิ้ม   ดีกว่าคอยพึ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
J
  ไม่ควรไว้ใจในคนที่ชอบทำบาป  ( ถ้าทำบาปแลกบุญ   จะขาดทุนร่ำไป)
J
  คนจนยิ่งจน   เพราะทำรวย   คนรวยยิ่งรวย   เพราะทำจน
J
  เรายอมแพ้คน   เพื่อเอาชนะกิเลส   ดีกว่ายอมแพ้กิเลส   เพื่อเอาชนะคน
J
  ยามไปซื้อของ   อย่าอวดเงินทองให้ใครเห็น
J
  คำสรรเสริญควรให้ไป   คำติชม   ควรเก็บไว้เพื่อส่องตน
J
  ระวัง   อย่าให้สูญเสียคนดี   เพราะคนชั่วแทนที่ไม่ได้
J
  คนโง่   แสวงหาพระเครื่อง   ผู้ฉลาด แสวงหาพระธรรม
J
  มารยาทงามนี่แหละ   จะพลอยทำให้วาสนาดี
J
  เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้   ดีกว่าพี่น้องในไส้ที่อยู่ไกล
J
  ประดับกายด้วยความดี   มีราศีกว่าประดับเพชร
J
  กินเหล้าเพื่อเข้าสังคม   คือค่านิยมที่ผิด
J
  ความร่ำรวยหากขอกันได้   โลกนี้ก็คงจะไม่มีคนจน
J
  ทรัพย์เกิดไม่ได้   ด้วยเพียงแต่ใจคิดฝัน
J
  ตัวอย่างที่ดี   มีค่ามากกว่าคำสอน   การปฏิบัติดี   มีค่ามากกว่าการขอพร
J
  คนขยันคือคนโชคดี   ความขยันจึงเป็นพรอันประเสริฐ
J
  ถึงแม้การเลือกเกิดเราจะไม่มีสิทธิ์   แต่การเลือกทางชีวิตเป็นสิทธิ์ของเรา
J
  แสวงหาลาภจากการงาน   ดีกว่าบนบานบวงสรวง
J
  อย่าเชื่อคนโดยไร้คิด   อย่าหลงมิตรเพียงคำยอ
J
  ที่ทำดีไม่ได้ดี   เพราะทำดียังไม่มากพอ  ( ทำดีวันละนิด   ดีกว่าคิดว่าจะทำ)
J
  เมื่อมีคำขอโทษ   ความโกรธย่อมจางเร็ว
J
  วาจาอ่อนหวานลูกหลานใกล้ชิด   วาจาเป็นพิษญาติมิตรห่างไกล
J
  กินเพื่ออิ่ม   ก็จะมีปัญหาน้อย   แต่ถ้ากินเพื่ออร่อย   ก็จะมีปัญหามาก