Thursday, December 25, 2008

กตัญญูเป็นโอสถประเสริฐ เป็นคุณแก่ตนเองทั้งร่าง กายจิตใจ : งานวิจัย

กตัญญูเป็นโอสถประเสริฐ เป็นคุณแก่ตนเองทั้งร่าง กายจิตใจ [25 ธ.ค. 51 - 01:00]

 

นัก วิจัยตะวันตกพบในการศึกษาด้วยความตื่นเต้นว่า การหมั่นปลูกฝังตนเองให้รู้จักกตัญญูรู้คุณคนไว้ประจำ เป็นคุณแก่ตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ

คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ผู้ที่รู้จักบุญคุณคน มักจะคุยให้รู้ว่าเป็นผู้มีสุขภาพดี ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย มีรายได้งาม พละกำลังดี รู้จักผู้คนมากมายและมีความสัมพันธ์ในครอบครัวเหนียวแน่น อยู่ติดปาก

พวกเขายังเป็นคนนอนหลับง่าย หลับสนิทและก็นอนรวด เดียวด้วย ตื่นขึ้นมาทุกเช้าอย่างกระปรี้กระเปร่า มีภูมิคุ้มกันอยู่ ในระดับสูง ห่างไกลจากโรคภัยที่เกิดจากเชื้อไวรัส และฮอร์โมนที่สร้างความเครียดก็งวดน้อยลงด้วย

ดร.โรเบิร์ต เอมมอนส์ นักวิจัยทางจิตวิทยา ได้แนะนำให้ ปลูกฝังนิสัยให้รู้จักความกตัญญูขึ้นในตนเองเป็นประจำ.

http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=116490

 

Sunday, December 14, 2008

ธรรมชาติของ “ความรัก”!

ธรรมชาติของ "ความรัก"!

 

"ที่เราต้องเจ็บปวดกับความรักน่ะ ไม่ใช่เพราะมันจากไปหรอก

...แต่เพราะมันยังคงอยู่ต่างหาก"

 

ถ้าวันนี้คนสองคน ต่างหมดรักกันไป คงไม่มีใครต้องเสียใจมากนัก

แต่กลับเป็นเพราะรักที่ยังอยู่ในใจคุณนั่นเอง ที่ทำให้คุณปล่อยวางลงไม่ได้

 

ธรรมชาติของรัก มักไม่ให้โทษแก่ใคร

เพียงแต่อาจปรุงแต่งให้หัวใจพองฟูจนลืมนึกถึงความจริงที่ว่า

"มีวันที่รักมา.. ก็อาจมีวันที่รักไปได้"

 

....ความรักเป็นสิ่งสวยงาม ...

หลายคนจึงอดหลงใหลได้ปลื้มกับมันไม่ได้ในยามที่มันอยู่

 

คนเรามักหลอกตัวเองว่าเพราะเรารักเขามาก

เขาคงเห็นความดีความตั้งใจของเรา

และรักเราตอบบ้าง ไม่มากก็น้อย

 

และเมื่อเขาตอบรับรักของเรา เราก็สมหวังในรัก

และทำให้เรารู้สึกยึดมั่นได้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรา

เป็นเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวทางใจอย่างหนึ่ง

ที่จะต้องอยู่กับเราทุกครั้งที่เราต้องการ

นานเท่าที่เราปรารถนา....

 

ความรู้สึกอันนี้แหละคือจุดเริ่มของความเจ็บปวดทั้งมวล

...เพราะมันฝืนกฎธรรมชาติ

 

ไม่ได้บอกว่า...รักต้องลงเอยด้วยความเศร้าเสมอไป

เพียงแต่ถ้าเขาจะอยู่ เขาจะไป จะรักคุณมากขึ้น คงเดิม หรือลดน้อยถอยลง

ก็จะเป็นเพราะคนสองคน ...

ไม่ใช่ความต้องการของเราฝ่ายเดียว หรือเขาฝ่ายเดียว

 

ชีวิตเป็นเรื่องซับซ้อนเข้าใจยาก...

แต่ในความซับซ้อนนั้น มันก็เรียบง่ายอย่างที่เรานึกไม่ถึง

เพราะไม่ว่าสิ่งไหน เรื่องอะไรสารพัดสารพัน ทุกอย่างล้วนแต่อยู่ในกฎเดียวกัน

มันจะเกิดขึ้น....ตั้งอยู่ ... แปรสภาพแล้วก็จบลง

 

รักที่สมหวังอยู่กันจนแก่เฒ่า ก็หนีไม่พ้นกฎข้อนี้

เพราะวันหนึ่ง ไม่เราก็เขาก็ต้องตายจากกัน

 

สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป

สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน

ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว

อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง

และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้

 

ถึงวันนี้จะยังร้องไห้ ก็คงไม่เป็นไร

เพราะชีวิตก็แบบนี้ มีวันที่เลวร้าย มีวันที่สวยงาม มีวันที่ว่างเปล่า

 

สุขก็อยู่กับเราไม่นาน ทุกข์ก็อยู่กับเราไม่นาน

สุขเคยแวะผ่านมาแล้วก็ไป ทุกข์ก็เป็นเฉกเช่นกัน

 

ถ้าหากคุณร้องไห้ให้กับความรักแล้ว...ก็ขออย่าร้องเปล่าๆ

ขอให้คุณมองให้เข้าใจสัจธรรมของชีวิตไปด้วยนะค่ะ

 

เยี่ยมชมเว็บไซด์ ศูนย์ให้คำปรึกษา ได้ที่ http://counsel.spu.ac.th

สังคหวัตถุ 4 (สัง - คะ - หะ - วัด - ถุ )

สังคหวัตถุ 4

 
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

เอาแบบย่อๆ พอฟังเข้าใจก้อ

เอื้อเฝือดี
วจีไพเราะ
สงเคราะห์ถูกทาง
วางตัวเสมอ(เสมอต้น เสมอปลาย)

สังคหวัตถุ ๔ กับการทำธุรกิจแบบ CSR

มีผู้ประยุกต์สังคหวัตถุ ๔ ไปใช้เป็นแนวทางในการทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ดังนี้

การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ (Corporate Social Responsibility – CSR) สำหรับองค์กรธุรกิจที่เห็นความสำคัญของซีเอสอาร์ และต้องการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์อย่างสัมฤทธิ์ผล ที่มีการกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ คือ เรื่องของการพัฒนาวิธีการหรือตัวแบบ (Model) ในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร
แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องซีเอสอาร์ มีรากฐานมาจากหลักทางศาสนา และดำรงอยู่ในสังคมตะวันออกมาช้านาน การพินิจพิจารณาถึงบริบทของเรื่องมีความสำคัญมากกว่าถ้อยคำที่เรียก ในการศึกษาหลายต่อหลายครั้งค้นพบว่า สังคมไทยในยุคสมัยที่ผ่านมามีการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ที่มีความเข้มข้น มากกว่าสังคมในตะวันตกเสียอีก อย่างกรณีของการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันในงานที่ทำ จนกลายเป็นประเพณีที่เรียกว่า "การลงแขก" ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งค่อนไปทางต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมัน ต้องแข่งขันกันเอาตัวรอด จึงด้อยในเรื่องความสนิทสนมเกื้อกูลกันทางสังคม ด้วยเหตุนี้ สังคมตะวันตกหรือกระทั่งสังคมในประเทศตะวันออกหลายประเทศที่ได้รับเอา วัฒนธรรมการแข่งขัน การชิงดีชิงเด่นอย่างเอาเป็นเอาตาย จนเกิดความเครียด เกิดปัญหาทางจิตใจ กำลังถวิลหาวิธีการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นมาก ขึ้น คำนึงถึงสังคมส่วนรวมมากขึ้น
เป็นที่สังเกตได้มากขึ้นเรื่อยๆ ว่า มีปริมาณของกลุ่มคนชั้นปัญญาชนชาติตะวันตกได้เดินทางเข้ามาศึกษาและปฏิบัติ ธรรมเพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาทางจิตใจเพิ่มมากขึ้น มีเหล่าบรรดานักคิดชาวตะวันตกที่มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจได้เขียนตำราการ บริหารจัดการซึ่งมีองค์ประกอบของการบริหารเชิงพุทธอยู่อย่างชัดแจ้ง ฉะนั้น องค์กรธุรกิจในสังคมไทย แทนที่จะไปค้นหาตัวแบบจากตะวันตก ซึ่งในที่สุดแล้ว ก็คือภูมิปัญญาที่เรามีอยู่มาแต่เดิม ไม่ต้องไปรอศึกษาจากตำราของนักคิดตะวันตกเหล่านี้อีกทอดหนึ่ง แต่ใช้วิธีศึกษาโดยตรงจากสิ่งที่เรามีอยู่ เพียงแต่ต้องมองข้ามข้อจำกัดในเรื่องของถ้อยคำที่ใช้ ซึ่งอาจจะไม่ร่วมสมัย โดยเล็งไปที่เนื้อหาหรือแก่นของเรื่องแทน

สังคหวัตถุ ๔ คือ หลักอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวบุคคล ซึ่งในที่นี้รวมถึง พลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข สามารถใช้เป็นตัวแบบหรือวิธีการในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร โดยมีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยที่มีอุปนิสัยของการสงเคราะห์เกื้อกูล เป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย

1. Corporate Philanthropy คือ การให้ หรือการบริจาคในสิ่งที่ควรให้แก่ผู้ยากไร้หรือแก่ผู้ที่ขาดแคลนกว่า ทั้งในรูปของวัตถุสิ่งของ เช่น การนำสิ่งของเครื่องใช้ไปแจกแก่ผู้ประสบภัย การทำบุญตามหลักศาสนา การให้โอกาสทางธุรกิจ การแบ่งปันตลาด หรือการให้อภัย ตลอดจนการให้ความรู้ คำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เปรียบได้กับ ทาน

2. Corporate Communication คือ การสื่อสารในสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ สิ่งที่เป็นสาระข้อเท็จจริง ประกอบด้วยเหตุผล และความจริงใจ โดยไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องครบถ้วนแก่ผู้บริโภค การไม่โฆษณาประชาสัมพันธ์คุณลักษณะของสินค้าเกินจริง หรือการไม่หลอกลวงมอมเมาประชาชน เปรียบได้กับ ปิยวาจา

3. Community Volunteering คือ การเสียสละแรงงาน แรงใจ และเวลา เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เช่น การเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมในโอกาสต่างๆ การระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปโดย สมัครใจ เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบหนึ่ง เปรียบได้กับ อัตถจริยา

4. Equitable Treatment คือ การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่ถือว่าองค์กรตนเป็นใหญ่ เอาใจใส่ในสุขทุกข์ของผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ และร่วมแก้ไขโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วม (P articipation) ขององค์กรในการดูแลสังคมอย่างสม่ำเสมอ เช่น การดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายย่อยอย่างเสมอภาค การบริการลูกค้าอย่างเสมอต้นเสมอปลายโดยไม่เลือกว่าเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย การทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เปรียบได้กับ สมานัตตตา

ตัวแบบสังคหวัตถุ ๔ นี้ พิสูจน์ให้เห็นว่า สามารถนำมาอธิบายและพัฒนาเป็นวิธีการในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร โดยไม่ได้มีความล้าสมัยเลยแม้แต่น้อย

 

เอาแบบย่อๆ พอฟังเข้าใจก้อ

เอื้อเฝือดี
วจีไพเราะ
สงเคราะห์ถูกทาง
วางตัวเสมอ(เสมอต้น เสมอปลาย)

กฏการปฏิบัติ เพื่อน้อมใจเข้าสู่ธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ (Secret of Nature)

กฏการปฏิบัติ เพื่อน้อมใจเข้าสู่ธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ (Secret of Nature)

กฏธรรมชาติ 5 ข้อ เพื่อความหลุดพ้น/ความเป็นอิสรด้านจิตใจ

 

1.ถอนตัวจากโครงสร้างที่ซับซ้อน (หลีกเลี่ยงกรรมใหม่-กรรมที่อาจจะเกิดขึ้น) ตัดสายของปฏิจสมุปบาท (เหตุและผลของการปรุงแต่ง) ที่ซับซ้อนกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์แต่ละบุคคล

 

2. เป็นธรรมชาติเดิม (ความสงบ) ล้างอนุสัย (ล้างและล้วงอารมณ์ความยึดมั่นถือมั่นเก่าๆ ด้วยการปล่อยวางหรือวางธรรมชาติทั้งปวง) โดยพิจารณาธาตุตามธรรมชาติ และสมมติบัญญัติต่างๆ-เงื่อนไขหรือบทบัญญัติที่สมมติเพื่อใช้ร่วมกันที่ผ่าน วัน เดือน ปี จากอดีต ถึงปัจจุบัน

 

3. อยู่ไปเรื่อยเรื่อย ตามเหตุปัจจัยที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล (พิจารณาการปล่อยวางสมมติด้านกาลเวลา)

 

4. แต่ก่อนวัตถุต่างๆ มันไม่มี ซึ่งมีแต่ป่า (พิจารณาความจริงจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเดิมที่อยู่รายรอบตัวเรา)

 

5. มนุษย์เป็นเพียงแค่สิ่งมีชีวิตหนึ่งเท่านั้น ที่อยู่อาศัยบนโลก (พิจารณาความจริงจากตนเอง)

อิทธิบาท 4 แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ

อิทธิบาท 4

 

 คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

 

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4

 

ความหมายของพรหมวิหาร 4

- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา     ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข

กรุณา      ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

มุทิตา      ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

 

คำอธิบายพรหมวิหาร 4

1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้

และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

 

2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย

ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

 

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ

ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

 

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

 

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

 

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

กฎธรรมชาติของธรรมเป็นสิ่งที่เที่ยง ไม่เหมือนกับกฎหมายบ้านเมืองที่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ได้ตลอดเวลา

ประสิทธิภาพจากการปฏิบัติธรรม

 

          เมื่อเราเริ่มเดินวิชา จะไม่มีจิตวิญญาณธาตุที่ครองภพภูมิใดอยู่เหนือเราได้  ทุกสิ่งที่เห็นเป็นวัตถุธาตุจะอยู่ในหรือนอกสมาธิไม่กล้าเข้าใกล้และจะอยู่ห่างจากเราไปด้วยตัวมันเอง ซึ่งเป็นหนทางกำจัดกิเลสตัณหาและอุปาทานได้ เป็นการเสริมบุญเพื่อหลุดพ้นและเป็นวิธีเดียวดังที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น  การปฏิบัติจะต้องปล่อยวางจากสิ่งปรุงแต่งทั้งปวงของโลกอธรรมมุ่งสู่ธาตุธรรมที่สุดละเอียดในจิต  ถ้าจะให้สะดวกในการศึกษาธรรม จะมีภาพ (กฎธรรมชาติของธรรม) เขียนขึ้นมาดังที่เห็นในภาพประกอบการบรรยายธรรม จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นและไม่สับสนอีก เพราะทุกองค์ศาสดาได้สอนวิธีการปฏิบัติให้รู้แจ้งด้วยตนเองอยู่แล้ว เพื่อชิงความยิ่งใหญ่กันในธาตุธรรมที่ละเอียดกว่ากัน  ไม่ มีการจำกัดขอบเขต จะเกิดผลมากกว่าการไปเทศน์เรื่องประวัติและพฤติกรรมของท่านให้เป็นการเสีย เวลาไร้สาระไม่เกิดประโยชน์อันใดและก็ผิดวัตถุประสงค์ของท่านด้วย  มนุษย์ที่ปฏิบัติได้จะประกอบกิจการใดก็จะอยู่ในกรอบของกฎแห่งกรรม ดีกว่าผู้ที่ถือศีลเคร่งครัดทั้งหลายที่เอาแต่ศึกษาธรรมะทางทฤษฎี ไม่แน่ใจในความถูกต้องในเรื่องกฎธรรมชาติของธรรม เที่ยวไปส่งเสริมสิ่งที่เป็นอัปมงคลมาให้เข้าใจผิดขึ้นในโลกมนุษย์อีก  จะเป็นการทำลายตนเองโดยไม่รู้ตัว  อย่าไปเข้าใจว่าการปฏิบัติเป็นการงอมืองอเท้าไม่สร้างสรรค์อย่างที่เข้าใจกัน  ที่แท้มันเป็นการเดินวิชาพลังภายในเป็นเนื้อหาที่สำคัญยิ่งของธรรม ต่างไปจากการปฏิบัติในโลกและจะช่วยป้องกันสิ่งภายนอกมาครอบงำได้ และจะมีความรู้เกิดบุญอำนาจบารมีเพิ่มมาแก้กรรมของตนเองในโลกธาตุและวิญญาณาตุเป็นวิชาเสริมสร้างให้มนุษย์มีชีวิตเจริญทางธรรม จะไม่มีสถานที่แห่งใดฝึกจิตสมบูรณ์แบบที่แท้จริงหาเรียนได้ในโลกมนุษย์  ถ้าขาดคุณธรรมอย่างเดียว ชีวิตจะหาความสุขได้ยาก ทุกข์โศกโรคภัยก็จะตามหา 

 

          การ น้อมกายมนุษย์และวิชาความรู้ของอริยมรรคจากภายนอกเข้ามาอยู่ที่ศูนย์พลังใน กาย เป็นการสะสางธาตุธรรมให้เข้มแข็ง ทำให้การเดินวิชาเกิดประสิทธิผลได้ จะต้องรวมทั้งสองระบบวิญญาณธาตุของจักรวาลกับของธาตุจิตในกายให้กลมกลืนเป็น เนื้อเดียวกัน จะส่งผลเป็นเอกสิทธิ์ให้จิตวิญญาณธาตุที่ครองชั้นภพต่างๆขยับสูงขึ้นและมี พลังให้ผู้ปฏิบัติได้รับอานิสงส์เต็มที่และแคล้วคลาดจากภัยทั้งปวงได้ทุก ประการ มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นจิตเร่ร่อนหาที่พักพิงไม่ได้

 

          ธรรมะอยู่ลึกในจิตไม่ใช่วัตถุ  อย่า ไปสนใจใครจะเอาไปเป็นวัตถุบูชาหรือทำอะไรก็ช่างเขา เราอย่านำมาบูชาก็แล้วกัน จิตจะไม่มั่นคง จะเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในแวดวงของฝ่ายมิจฉาทิฐิ ได้แก่การถือศีล การประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยการยึดเอาทฤษฎีเป็นใหญ่ จะมีความเชื่อของตนที่แปลกๆเกิดขึ้นได้โดยไม่ตรงกับการสอนหลักธรรมของทุก องค์ศาสดา แต่ตรงกันข้ามกับผู้ที่ได้ฌานสมาบัติเป็นผู้ได้สะสางธาตุธรรมสะอาดบริสุทธิ์ เป็นอย่างดีแล้วจนกลับเป็นฝ่ายสัมมาทิฐิเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐานที่แท้ได้ สำเร็จ  เมื่อหลุดพ้นจะรู้ว่าสิ่งที่อยู่ภายนอกฌานของมนุษย์ละเอียดเป็นของอวิชชา ส่วนที่อยู่ภายในเป็นของธรรม จะสังเกตุจากการหมุนกลับกันของเครื่องเดินวิชา จะไปตามธรรมชาติบังคับโดยวิญญาณธาตุทั้งหยาบและละเอียดที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยตรงจากทางนี้ทางเดียว

 

          กฎธรรมชาติของธรรมเป็นสิ่งที่เที่ยงไม่เหมือนกับกฎหมายบ้านเมืองที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ได้ตลอดเวลา  ผู้ ใดมีจิตไม่เข้มแข็งบริสุทธิ์ ยังหลงผิดอยู่ในสิ่งที่เป็นอธรรม ชีวิตจะมัวหมองมีปัญหาในทางโลก เพราะไปแยกเอาจุดเด่นสำคัญของแต่ละศาสนาบางส่วนไม่ครบถ้วนออกจากกันให้เห็น แตกต่างมาเป็นวิชาสอนธรรมะของตน ผู้กระทำไม่เข้าใจอิทธิพลกฎธรรมชาติของวิญญาณธาตุทั้งหยาบและละเอียดที่มี ให้เรียนรุ้ได้ไม่จบสิ้นในวิปัสสนากรรมฐานมีต่อมนุษย์ทุกคนในภพเวียนว่ายตาย เกิดอีกมากมาย และข้าพเจ้าก็ไม่สามารถนำมาชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรในที่นี้ให้เข้าใจได้ ทั้งหมด  ถ้ารวมทุกศาสนาเข้าด้วยกันได้จริงและไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว สัจธรรมก็จะเป็นที่พึ่งแท้จริงของมนุษยโลก                       

คัมภีร์ปลุกคนทำงาน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

คัมภีร์ปลุกคนทำงาน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

 

* "นิด้า" แนะ 5 คุณสมบัติบุคลากรชั้นยอดเหมาะกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

      

       * ชี้แบ่งกิจกรรมเป็นบันได 3 ขั้น ค่อยๆหลอมคนให้คิดเป็น ทำเยี่ยม

      

       * "Siam Ocean World" ใช้หลัก "จิตดูจิต" ประยุกต์ใช้เครื่องมือจัดการสมัยใหม่

      

       * "บุญชัย เบญจรงคกุล" เปิดใจหลังดีแทครีแบรนด์ฯ ลับคมด้วยสมาธิเผยนัยยะเปิดตัวด้วยการวิ่ง 10 กิโลเมตร

      

       เนื่องในปีนี้เป็นเฉลิมฉลองมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้หลายองค์กรตื่นตัวกับกระแสเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกกระบวนการคิด การทำงาน ไม่เว้นวงการนักบริหารทรัพยากรบุคคล

      

       ซึ่งในหลักใหญ่หลายท่านคงรับทราบแล้วและดำเนินการทำงานมาพอสมควร แต่การจะสร้างคนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงต้องสร้างแรงกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาและค่อยเป็นค่อยไป...

      

       เสริมแรงกระตุ้นพฤติกรรมด้วยกิจกรรม

      

       วิชัย อุตสาหจิต อาจารย์ ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ในการประกอบธุรกิจทั้งการบริหารองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ขณะนี้ ได้รับผลกระทบจากระบบทุนนิยมที่เน้นผลกำไรมากกว่าคำนึงถึงพนักงานภายในและ ผู้มีส่วนได้เสีย

      

       จากสถานการณ์เหล่านี้ทำให้หลักเศรษฐกิจพอเพียงถูกนำมาปรับใช้กับการ บริหารทรัพยากรบุคคล แต่ในสถานการณ์จริงหลักการทำงานตามแนวทาง 3 ห่วง ประกอบด้วย ประมาณตน มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข คือ ความรู้ คุณธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกรอบการทำงานใหญ่ๆ ที่ HR ต้องทำความเข้าใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมคนทำงาน

       

       ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานมี 5 ประเด็นได้แก่

      

       ปัจจัยที่หนึ่ง บุคลิกภาพ ที่ต้องรู้จักวางตนแสดงออกอย่างเหมาะสม มีความเกรงใจ ไม่สุดโต่ง ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ส่วนรวม ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานเข้าใจความแตกต่างเคารพในความคิดหลากหลาย ตลอดจนคิดทบทวนอย่างถี่ถ้วนก่อนแสดงออกทาง กาย วาจา

      

       ปัจจัยที่ สอง พฤติกรรมการสื่อสารต้องเป็นไปอย่างพอดีไม่มากหรือไม่น้อยเกิน และให้ความสำคัญกับการสื่อสารโดยการพูดและการแสดงท่าทางอย่างเหมาะสม พร้อมกับวิเคราะห์ก่อนจะสื่อสารใดๆ ออกไป ขณะเดียวกันในบางสถานการณ์เคร่งเครียดจะต้องหลีกเลี่ยงสื่อสารโดยใช้อารมณ์

      

       ปัจจัยที่ สาม การ ตัดสินใจต้องใช้หลักประสานความร่วมมือ ถนอมน้ำใจ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ขณะเดียวกันควรจะวางแผนเรื่องในอนาคตเพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

      

       ปัจจัยที่ สี่ การ ทำงานเป็นทีม ควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเป้าหมายของทีม แสดงบทบาทของตนอย่างเหมาะสม พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มความสามรถ และประเมินความสามรถเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละคน วางแผน จัดสรร ติดตามอำนวยการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดความไว้ใจ

      

       ปัจจัยที่ ห้า ภาวะผู้นำ ต้องมีความยุติธรรมในการดูแลลูกน้อง ปฏิบัติด้วยความเมตา ประสานความแตกต่างเพื่อทำให้ส่วนรวม และพัฒนาตนเองสม่ำเสมอให้เป็นต้นแบบในการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบใน องค์กร

      

       โดยจะต้องนำมาประยุกต์ระหว่างพฤติกรรมศาสตร์และหลักธรรมของพุทธศาสนา ซึ่งต้องใช้การทำกิจกรรมพัฒนาทักษะของบุคลากรที่จะเป็นเครื่องมือสะท้อนให้ เห็นถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมอันจะสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอันประกอบ ด้วย

      

       ระดับ เปลือก เป็นภาพสัมผัสได้ด้วยตาผ่านการจัดบอร์ดนิทรรศการหรือแจกแผ่นผับให้พนักงาน รับทราบถึงแนวทางการทำงานตามหลักเศรษฐกิขพอเพียง ตลอดจนจัดการประกวดบุคลากรที่ยึดหลักการทำงานตามหลักปรัชญาดังกล่าวได้อย่าง ยอดเยี่ยม

      

       ระดับ เนื้อ ต้องเป็นกิจกรรมที่มีการพูดคุยอย่างชัดเจนโดยผ่านเวทีสัมมนาและประชุมย่อย เพื่อกำหนดคุณสมบัติอันพึงประสงค์ในการทำงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

      

       ระดับ แก่น คือ การแสดงพฤติกรรมอันดีที่เป็นแบบอย่างของผู้นำ ที่จะช่วยกระตุ้นให้ทุกคนมีความตื่นตัวเมื่อผู้นำระดับสูงเป็นต้นแบบตามแนว ทางที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่

      

       ภูมิคุ้มกันอาวุธเด็ดอันซ้อนเร้นภายใน

      

       ด้าน อาจหาญ นิมิตรหมื่นไวย ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท Siam Ocean World จำกัด (มหาชน) กล่าวแนะนำถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่เป็นอีกหัวใจหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงว่า สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างสติให้เกิดกับพนักงาน โดยแนวทาง "จิตดูจิต" ด้วยการนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่อง มือการจัดการของ HR อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแนวทางจัดการความรู้และพัฒนาพี่เลี้ยงให้เป็นต้นแบบ ของการทำงาน ซึ่งต้องมีการจัดการใน 4 ระยะดังนี้

      

       ระยะแรก เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learn How To Learn) ที่ต้องเข้าสู่การเรียนรู้แบบองค์รวมมิใช่มองแบบแยกส่วนเหมือนเดิมเพราะขณะ นี้การสร้างให้บุคลากรมีการทำงานเป็นทีมในทุกระบบมีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่ง HR ต้องฝึกฝนบุคลากรด้วย เกมส์ ดูภาพยนตร์ ล้อมวงดูตัวอย่างการพัฒนาชุมชนในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงให้เข้ากับการพัฒนาตนเองและองค์กรผ่านสุนทรียสนทนา (Dialogue) ตลอดจนถอดรหัสการเรียนรู้ (After Action Review)

      

       โดยเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพูดคุยเพื่อแบ่งปันความรู้ที่เป็นทุนทาง ใจ ทุนทางสังคม และทุนทางปัญญา ซึ่งจะเป็นการฝึกสติในการฟังผู้อื่น ตลอดจนเหลียวแลดูจิตของตนเองว่ามีความคิดปรุงแต่งไปในทางดีหรือไม่ดี

      

       ในขั้นต่อไปจะเกิดการคิดที่เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้พูดคุยกัน มาบ่มเพาะด้วยจิตเป็นกลาง อาจใช้เครื่องมือเช่น Mind Map หรือเครื่องมือสถิติอื่นมาช่วย ให้เกิดการป้องกันที่จะนำอารมณ์ของคนประเมินเข้าไปใช้ตัดสิน

      

       และต่อมาจะเกิดกระบวนการทฤษฎี ที่ตกผลึกจากความคิดเห็น ความเชื่อส่วนตัวที่ยังไม่ได้นำมาพิสูจน์หรือทดสอบเป็นพลังในการผลักดันให้ บุคลากรมุ่งมั่นปฏิบัติสิ่งที่ตนคิดขึ้น ซึ่งการทำงานจะเป็นวัฏจักรเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่ยั่งยืน

      

       ระยะสอง ต้องนำบุคลากรออกไปดูและอยู่ร่วมกับชุมชนเรียนรู้ภายนอกองค์กร หลังจากเรียนรู้เสร็จในระยะที่ 1 ซึ่งอาจมีบางคนยังยึดติดกับการเรียนรู้แบบเดิมๆ จึงจำเป็นต้องลงไปละลายพฤติกรรมในสถานที่จริง

      

       ระยะสาม ค่ายพัฒนาอีคิว เมื่อบุคลากรผ่านการลงพื้นที่สิ่งได้มาพฤติกรรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งดีและไม่ดี จึงต้องเริ่มสอนเรื่อง "จิต สติ ความคิด" โดยจะเป็นสิ่งสำคัญสุดเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้บุคลากรมีสติในการทำงาน ซึ่งจะเข้าไปฝึกที่วัดปฏิบัติธรรมตามแนว "จิตดูจิต" และทำความเข้าใจกับขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เพื่อฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา

      

       ระยะสี่ เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงจะเป็นเวทีเปิดโอกาสให้บุคลากรที่ผ่านการฝึกมา ทั้ง 3 ระยะ ได้มีโอกาสทดสอบความรู้ที่ได้มาว่าจะไปปฏิบัติจริงได้หรือไม่? ถ้านำไปใช้ได้จริงจะต้องเข้าสู่กระบวนการพัฒนาความรู้ โดย HR ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกระตุ้นบุคลากรภายในผ่านกิจกรรม เช่น มอบรางวัลให้บุคลากรที่คิดนวัตกรรมใหม่ขึ้น ขณะเดียวกันต้องให้กำลังใจสนับสนุนซึ่งกันและกัน

      

       "การสร้างภูมิคุ้มกันกับคนทำงานต้องสร้างสติ รู้เท่าทันความเป็นจริงให้มีกำลังเพียงพอที่จะไม่ลื่นไหลไปตามกระแสแห่ง กิเลส และป้องกันปัญหาอันสลับซับซ้อนที่เกิดใหม่ในสังคมปัจจุบัน ตลอดจนกระตุ้นให้เปิดความคิด กล้าลงมือทำ และให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน" อาจหาญ ย้ำถึงปรัชญาแห่งความคิด

      

       จัดการคนด้วยหลักธรรม

       กับ "บุญชัย เบญจรงคกุล"

      

       บ่อยครั้งที่หลักเศรษฐกิจพอเพียงนักบริหารอาจมองว่า เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับโลกทุนนิยม แต่แท้จริงทุกกระบวนการคิดต่อให้บริษัทของคุณขับเคลื่อนเร็วเพียงไร ท้ายสุดสูงสุดก็กลับคืนสู่สามัญ ซึ่งวันนี้ บุญชัย เบญจรงคกุล ประธาน กรรมการ บริษัท โทเทิล แอ็คเซส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ชี้ให้เห็นถึงนัยยะของการเปิดตัวหลัง"ดีแทค"รีแบรนด์ดิ้ง ครั้งล่าสุด โดยการนำผู้บริหารระดับสูงมาวิ่ง 10 กิโลเมตร เพื่อฝึกสมาธิเพราะการวิ่งคนจะมีสมาธิอยู่กับตนเองมากที่สุด ซึ่งเมื่อคุณจดจ่ออยู่กับการเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกต้องมีการประเมินตั้งแต่ การปล่อยตัวจนถึงเป้าหมาย

      

       "ด้วยการทำธุรกิจของเราต้องใช้ความรวดเร็วและต้องสื่อสารกับลูกค้า หลากหลายทำให้ไม่มีเวลาจะอยู่กับตนเอง ซึ่งการรีแบรนด์ดิ้งใหม่เสมือนตอกย้ำความเป็นจริงของการบริหารจัดการบุคคล ที่วันนี้แม้เราจะโตแต่ต้องรู้จักความพอประมาณสร้างภูมิคุ้มกันในการตัดสิน ใจอย่างมีสติ"

      

       บุญชัย เล่าถึงเส้นทางแห่งความสุขที่ร่วมสร้างมากับ "ดีแทค" อย่างอารมณ์ดีว่า 2 ปีที่แล้ววิสัยทัศน์ของบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องดีเอ็นเอของความดี พอถึงปีนี้จะเน้นถึงการมีน้ำใจโดยควบคู่กับหลักพอเพียงให้เกิดความสุขกับการ ทำงานทั้งพนักงานและผู้รับบริการ

      

       ซึ่งในระยะแรกของการทำงานเขายอมรับว่า ต้องสร้างแรงจูงใจอย่างมากกับพนักงานเพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแค่แนวคิด หลักใหญ่ แต่สิ่งที่ตนทำกำลังเล่นกับการสร้างปัจเจกชนสมัยใหม่ให้มีความเชื่อเดียวกับ ผู้นำ โดยผู้บริหารต้องเป็นผู้นำและต้นแบบให้พนักงานเดินตามเพราะการบริหาร ทรัพยากรบุคคลขณะนี้ถ้ามัวแต่รอ HR สิ่งที่ได้มาจะเป็นเพียงระบบจัดการแต่ไม่ได้ใจคน

      

       "หลักจากเราเปลี่ยนกระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่ามุ่งหวังจะให้ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งกิจกรรมการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ จะเป็นตัวขัดเกลาเขาเอง"

       ฉะนั้น แม้เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นหลักคิดใหญ่ในการทำงานแต่นัยยะอันซ้อนเร้นยังรอให้นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ค้นหา....

 

ที่มา : www.manager.co.th

กฎธรรมชาติ-ปฏิจจสมุปบาท

กฎธรรมชาติ-ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท

 

ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมคำสอนที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เป็นหลักคำสอนที่แสดงถึงความลำเลิศทางปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า และเป็นหลักคำสอนที่แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมอย่างชัดเจน เพราะแสดงให้เก็นถึงหลักกำเนิดและการดำเนินไปของสิ่งทั้งปวงปฏิจจสมุปบาท ว่าด้วยกฎธรรมชาติของชีวิต

 

หากพิจารณาตามกฎนี้โดยมีลักษณะเป็นสัจจธรรมแล้ว ทุกชีวิตจะเกิดขึ้นดำรงอยู่ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ดำรงอยุ่และเปลี่ยนแปลงไปโดยอิสระไม่ต้องอาศัยส่วนอื่น การดำเนินของชีวิต ย่อมเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ทั้งระบบเหมือนเครื่องยนต์ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมายถึง ภาวะที่อาศัยกันเกิดขึ้น ดังพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

อิมัสสะมิง สติ อิทัง โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

อมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็มีไม่ได้

อิมัสสะมิง อสติ อิทัง น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ

 

จากพุทธพจน์นี้จะเห็นว่า องค์ประกอบของชีวิตทุกส่วนย่อมอาศัยกัน มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทั้งในการเกิด ตั้งอยู่ และสลายไป

 

ความหมายของคำว่า ปฏิจจสมุปบาท

 

คำว่า ปฏิจจสมุปบาท มาจากศัพท์ว่า ปฏิจจ สํ และอุปปาท

 

ปฏิจจ หมายถึง เกี่ยวเนื่องกัน สัมพันธ์กัน

 

สํ หมายถึง พร้อมกัน หรือด้วยกัน

 

อุปปาท หมายถึง การเกิดขึ้น

 

ปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะของสิ่งที่ไม่เป็นอิสระของตนต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้คำที่มี ความหมายเช่นเดียวกันนี้ มีอีก ๒ คำคือ ปัจจยาการ และอิทับปัจจยตาปัจจยาการ หมายถึงอาการที่สิ่งทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ซึ่งหมายถึงสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ จะเกิดขึ้นเป็นอยู่ ด้วยตนเองโดยปราศจากเหตุปัจจัยไม่ได้ ต้องอิงอาศัยกัน อิทัปปัจจยตา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวตถตา อนัญญถตา นี่คือหลักของอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท

 

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท

 

องค์ประกอบของชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์กันตามหลักของปฏิจจสมุปบาทนี้ ท่านเรียกว่าองค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมี อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ แต่ละองค์มีความสัมพันธ์กันเหมือนลูกโซ่ ชีวิตของสัตว์ก็ย่อมหมุนเวียนอยู่ในวัฏจักร มีความเกี่ยวเนื่องกันเหมือลูกโซ่ ดังนี้

อวิชชา เป็นปัจจัยให้มี สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยให้มี วิญญาณ

วิญญาณ เป็นปัจจัยให้มี นามรูป

นามรูป เป็นปัจจัยให้มี สฬายตนะ

สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้มี ผัสสะ

ผัสสะ เป็นปัจจันให้มี เวทนา

เวทนา เป็นปัจจัยให้มี ตัณหา

ตัณหา เป็นปัจจัยให้มี อุปาทาน

อุปาทาน เป็นปัจจัยให้มี ภพ

ภพ เป็นปัจจัยให้มี ชาติ

ชาติ เป็นปัจจัยให้มี ชรามรณะ

ชรามรณะ เป็นปัจจัยให้มี โสกะ , ปริเทวะ

 

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์นี้ เป็นส่วนประกอบของชีวิต ผู้ที่ยังตัดอวิชชาไม่ได้แม้ตายไปแล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้มีสังขาร สังขารก็เป็นปัจจัยให้มีวิญญาณ ฯลฯ ต่อไปอีกไม่รู้จักจบสิ้น

 

การเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้จึงเป็นการเรียนรู้กฎธรรมชาติของชีวิต จะได้ไม่ต้องหลงไหลในเหตุปัจจัยภายนอก เพราะชีวิตนั้นหมุนเวียนไปตามวัฏฏะ คือ กิเลส กรรม วิบาก ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราได้รับผลอย่างไรของชีวิต เช่น มีสุข ทุกขื ดี ชั่ว อย่างไรก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าเป็นเพราะเหตุคือ กรรม ที่ต้องทำกรรม ก็เพราะกิเลสเป็นเหตุให้ทำ ตราบใดที่ยังตัดกิเลสไม่ได้ชีวิตก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ หมุนอยู่อย่างนี้ร่ำไป เมื่อเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาก็จะเกิดขึ้น จะเกิดความเชื่ออย่างมีเหตุผล เช่นเชื่อว่าชีวิตทุกชีวิตย่อมเป็นไปตามกรรม และกรรมนั่นเอง เป็นผู้ลิขิตชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ กัน ดีบ้าง เลวบ้าง เพราะชีวิตกรรมลิขิต

 

ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร

 

ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า ภาวะที่อาศักกันเกิดขึ้นซึ่งเป็นระบบการกำเนิดของชีวิตอันเป็นกฎเกณฑ์แห่ง ชีวิตศาสนาสอนว่าชีวิตทุกชีวิตมีส่วนเป็นเหตุเป็นผลอาศึกกันเกิดขึ้นเนื่อง กันไม่ขาดสายเมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้อีก สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นลูกโซ่ ไม่รู้จักจบสิ้น องค์ประกอบของชีวิตตามหลักของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเรียกว่า องค์แห่งภวจักร หรือองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ท่านแบ่งไว้ ๑๒ องค์ คือ

๑. อวิชชา ความไม่รู้ความจริง

๒. สังขาร การปรุงแต่ง

๓. วิญญาณ การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ

๔. นามรูป นามขันธ์ ๕ รูปขันธ์ ๒

๕. สฬายตนะ อายาตนะภายใน อายตนะภายนอก

๖. ผัสสะ การถูกต้อง

๗. เวทนา การเสวยอารมณ์

๘. ตัณหา ความอยาก

๙. อุปาทาน ความยึดมั่น

๑๐.ภพ ความมี ความเป็น

๑๑.ชาติ ความเกิด

๑๒.ชรามรณะ ความแก่และความตาย

ทั้ง ๑๒ องค์นี้ เป็นส่วนประกอบของชีวิต ทุก ๆ องค์อาศัยกันเกิดมีความสัมพันธ์กัน เช่น

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณฯลฯ

ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ

 

นี่เป้นปฏิจจสมุปบาท ๑ วง หรือชีวิตหมุนไป ๑ รอบวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท นิยมเรียกว่า ภวจักรซึ่งแปลว่า วงล้อแห่งภพ หรือ สังสารจักร ซึ่งแปลว่า วงล้อแห่งสังสารวัฏ

 

การจัดกลุ่มปฏิจจสมุปบาท

 

ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท การปฏิสนธิต่อเนื่องกันระหว่าง

อดีต กับ ปัจจุบัน

ปัจจุบัน กับ อนาคต

ชีวิตปัจจุบัน เกิดจากเหตุในอดีต กล่าวคือ

อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร

ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา

ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ

อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ

 

นั่นหมายถึงอวิชชา สังขาร เป็นเหตุในอดีต ก่อให้เกิดผลในปัจจุบัน วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ

เวทนา ปัจจุบันเหตุก็ทำให้เกิดผลในอนาคต ชาติ ชรามรณะเหตุในอดีตที่ทำให้เกิดผลในปัจจุบัน คือทำให้ชีวิตเกิดใหม่นั้น ได้แก่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ตัณหาอุปาทาน ภพ เมื่อตัดเหตุ ๕ อย่างนี้ไม่ขาด ชีวิตจึงต้องเกิดใหม่ เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัยให้เกิดสังขารสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ ชีวิตทุกชีวิตย่อมหมุนอยู่อย่างนับภพนับชาติไม่ถ้วน จนกว่าจะถึงพระนิพพาน

 

ปฏิจจสมุปบาทในฐานะมัชเฌนธรรมเทศนา

ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท เรียกว่าเป็นสัมมาทิฐิ หรือเห็นถูกต้อง และความเห็นที่ถูกต้องนี้เป็นความเห็นชนิดที่เรียกว่าเป็นกลางไม่เอียงสุดไป ทางใดทางหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นหลักหรือกฏที่แสดงความจริงเป็นกลาง ๆไม่เอียงสุด อย่างที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรมเทศนา" ความเป็นกลางของหลักความจริงนี้ มีโดยการเทียบกับลัทธิหรือทฤษฎีเอียงสุดต่าง ๆ และความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทโดยถูกต้องจะต้องแยกออกจากทฤษฎีเอียงสุดเหล่านี้ ด้วย ดังนั้น ในที่นี้

 

ปฏิจจสมุปบาทในฐานะปัจจยาการทางสังคม

ในมหานิทานสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่สำคัญมากสูตรหนึ่งและเป็นสูตรใหญ่ที่สุดที่แสดงปฏิจจสมุ ปบาท พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักปัจจยาการทั้งที่เป็นไปภายในจิตใจของบุคคลและที่เป็น ไปในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หรือในทางสังคมปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์หรือความชั่วร้ายทางสังคมก็ดำเนินตาม วิถีเดียวกับปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์ของชีวิตนั่นเอง แต่เริ่มแยกออกแสดงอาการที่เป็นไปภายนอกต่อแต่ตัณหาเป็นต้นไป