Sunday, December 14, 2008

พุทธวิธีคลายเครียด

พุทธวิธีคลายเครียด

 

ความ เครียดเปรียบเสมือนไฟสุมขอน คือ กรุ่นลึกภายใน ความเครียดเกิดจากการเก็บสะสมอารมณ์ร้าย อารมณ์ร้อนทีละนิดๆ บางครั้งอาจไม่รู้สึกตัว

 

วิธีคลายเครียดด้วยสมาธิ

 

                สมาธิ คือการทำใจและอารมณ์ให้นิ่ง ใจเหมือนแก้วส่วนอารมณ์เหมือนน้ำ ใจว้าวุ่น เหมือนแก้วน้ำถูกเขย่าอารมณ์ขุนมัว เหมือนน้ำสกปรก เราต้องทำใจให้นิ่ง เพื่อให้อารมณ์ตกตะกอน เราจะได้เห็นระดับความใสของน้ำ เมื่อใสก็จะมองเห็นตะกอนที่หยาบและละเอียดปัญหาต่างๆที่เราแก้ไม่ได้ มองไม่เห็น เมื่อใจนิ่งอารมณ์เย็น ก็จะเปิดออกมาให้เห็นปม

 

    * วิธีกำจัดความเครียดด้วยปัญญา

 

วิธีที่ ๑ กล้าเผชิญความจริง

 

ความ เครียดทั้งปวงเกิดจากความวิตกกังวล คนเราจะวิตกกังวลทุกอย่าง เมื่อความจริงยังไม่ปรากฏ ต่อเมื่อความจริงปรากฏเสียแล้วปัญญาก็จะเกิดเอง

 

อริยสัจ ๔ ก็เป็นเรื่องสอนให้คนกล้าเผชิญความจริง โดยเฉพาะทรงสอนเรื่อง ทุกข์ มิใช่สอนเรื่อง สุข ทรงนำเสนอความทุกข์ประเภทต่างๆ จึงทรงแสดงความดับทุกข์ เหมือนเราดับไฟลุกโซนเผาไหม้ต่างๆ อยู่ เมื่อไฟดับความร้อนก็หายไป สุขก็ปรากฏจากนั้น ทรงแสดงทางสายกลาง คือการไม่ทำอะไรสุดโต้ง หรือเรียกง่ายๆ ว่า ความสมดุลในการดำรงชีวิต อันเป็นเหตุให้เกิด

 

วิธีที่ ๒ เข้าใจเรื่องอารมณ์ของตนและของคน (จริต ๖)

 

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงความแตกต่างของคนไว้ที่จริต ทรงแสดงว่า คนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน ท่านเรียกว่า จริต

 

พฤติกรรมของคนในจริต ๖ คือ

 

๑.      คนบางคนรักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ชอบประดิษฐ์ ทำงานช้าแต่ละเอียด คนประเภทนี้เรียกว่า คนราดจริต

 

๒.    คน บางคนใจร้อน หงุดหงิด ชอบแสดงอำนาจเป็นนิสัย ทำอะไรเร็ว พูดเร็ว ไม่สนใจเรื่องละเอียด ชอบหลักการมากกว่ารายละเอียด คนประเภทนี้ท่านเรียกว่า คนโทสจริต

 

๓.     บางคนชอบแสดงว่าตนไม่รู้อะไรมาก่อน เพราะปลอดภัยเพราะกลัวผิด กลัวถูกตำหนิ เมื่อไม่ทำก็ไม่ผิด ท่านเรียกคนพวกนี้ว่า คนโมหจริต

 

๔.     บางคนเชื่อง่าย ชื่นชมอะไรง่ายๆ โดยไม่พิจารณาหรือตำหนิง่ายๆ เรียกว่า คนสัทธาจริต

 

๕.     บาง คนชอบคิด ชอบแสดงเหตุผล ชอบศึกษาเรียนรู้ ชอบหาความจริงของเรื่องนั้นๆ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะเห็นได้ด้วยปัญญาของตน เรียกว่า คนพุทธิจริต

 

๖.      บาง คนชอบจับจดฟุ้งซ่าน ชอบบ่น จู้จี้จุกจิก ทำงานแบบหยิบโหย่ง ไม่จับอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ชอบเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ คิดมากกังวลมาก ท่านเรียกว่า คนวิตกจริต

 

วิธีที่ ๓ ไม่คาดหวัง แต่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง

 

                สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสอนให้คนรู้จักหลักความจริง ๓ ข้อ คือ ความเปลี่ยนแปลง ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ความที่เราไม่อาจยื้อสิ่งใดๆ  ไว้ในอำนาจได้ตลอดไป หรือที่รู้กันในวงการชาวพุทธว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 

 

 

 

 

วิธีที่ ๔ ปิดเปิดประตูรับรู้ให้เป็นเวลา

 

            พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จัก ผัสสะ คือรสชาติแห่งความรับสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่หลงที่สำคัญ มีสติปิดเปิดเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม

 

วิธีที่ ๕ คนส่วนมากเครียดเรื่องของคนอื่นมิใช่เรื่องของตน

 

วิธีที่ ๖ ฝึกแผ่เมตตา นึกถึงกฎแห่งกรรมมากกว่ากฎหมาย

 

                เมื่อ เครียดให้นึกถึงกฎแห่งกรรมที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่ากฎหมายเราเห็นปัญหา บางอย่างแก้ด้วยกฎหมายไม่ได้แต่เราแก้ด้วยกาลเวลาได้ นั้นคือ ปล่อยไว้ให้กฎธรรมชาติจัดการกับปัญหานั้น

 

วิธีที่ ๗ นึกถึงธรรมชาติที่เหมือนกันของสัตว์ทั้งหลาย

 

                มอง ให้เห็นความเสมอกันระหว่างสัตว์ทั้งหลายรวมทั้งคนอื่น และตัวเราเองว่าต้องเผชิญความลำบากในสังสารวัฏเหมือนกันคือ ต้องอยู่ในครรภ์ ต้องกินอาหาร ต้องดุแลขันธ์ ๕ ต้องถูกโรคภัยเบียดเบียน  ต้องเจ็บ และสุดท้ายสัตว์ทั้งหลายต้องตาย

 

 

 

ที่มา    หนังสือพุทธวิธีคลายเครียด

 

           ผู้แต่ง ปิยโสภณ

 

           สำนักพิมพ์ ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม

No comments: