Sunday, December 14, 2008

ชื่อหนังสือ พุทธวิธีในการสอน

ชื่อหนังสือ พุทธวิธีในการสอน

ชื่อผู้แต่ง วสิน  อินทสร พิมพ์ครั้งที่ ๔

สำนักพิมพ์เสริมธรรมดา ปีที่พิมพ์ ๒๕๔๕

 

พุทธวิธีในการสสอน หมาย ถึง วิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสิกา หรือบุคคลทั่วไปทั้งเทวดาและมนุษย์ ตามที่พระนามที่ได้รับการยกย่องว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํทรงเป้นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เนื่อง จากทรงมีพุทธวิธีหลายประการอันเหมาะสมแก่ผู้ฟังหรือผู้สนทนาด้วย เมื่อจบการสอนหรือการสนทนาจึงควรจะได้รับผลสมความมุ่งหมาย คือ ผู้ฟังได้บรรลุมรรคผลบ้าง แสดงตนถึงพระรัตนตรัยเป็นพุทธมามกะบ้าง สุดแล้วแต่บุญบารมีหรืออินทรีย์ของแต่ละคนซึ่งอ่อนแก่ไม่เท่ากันบางครางทรง รอคอยให้อินทรีย์ของสาวกของท่านแก่กล้าพียงพอเสียก่อนแล้วจึงทรงแสดงธรรม จะเรียกว่า ทรงรอคอยความพร้อมก็ได้ เช่น ทีทรงรอคอยอินทรีย์ของวักกลิเป็นเวลาหลายเดือนเพียงเพื่อจะตรัสพระวาจาว่า "ดูก่อนวักกลิ จะประโยชน์อะไรด้วยร่างกายที่เปื่อยเน่าซึ่งเธอตามดูอยู่ วิกกลิ! ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม" ตรัสอย่างนี้ ทางอย่างนี้แก่ภิกษุวักกลิติดใจพระรูปพระโฉมของพระองค์ เพื่อให้พระวักกลิเห็นธรรมเสียก่อน การเห็นพระองค์จะเป็นของยากเลย อีกอย่างหนึ่งมิได้ทรงประสงค์ให้ผู้ใดมาสุ่มหลงพัวพันในพระองค์ แต่ให้เขาสนใจในสิ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเขาเป็นครูที่ไม่กระหายศิษย์ แต่ทรงกระทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์แก่ศิษย์

จุดมุ่งหมายในการที่จะสอน มี ๓ ประการ

๑. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จริงเห็นแจ้งในสิ่งที่ควรรู้ในสิ่งที่ควรเห็น (อภิญญายธรรมเทศนา) คือ สิ่งใดที่รู้แล้วแต่เมื่อทรงเห็นว่าไม่จำเป็นสำหรับผู้ฟังหรือผู้รับคำสอนก็ ไม่ต้องสอนสิ่งเหล่านั้น ทรงสอนให้รู้จริงเห็นแจ้งเฉพาะเท่าที่จำเป็นสำหรับสาวกนั้นๆ เหมือนครูที่มีความรู้สูงมาก แต่ถึงกระนั้นก็ย่อมนำเอาเฉพาะความรู้เท่าที่จำเป็นแก่ศิษย์ในขั้นนั้นๆ มาสอน เท่าที่ศิษย์จะรับได้เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์ อนึ่งเหมือนบิดามารดาแม้จะมีทรัพย์มากปานใดก็ย่อมให้ทรัพย์แก่บุตรตามสมควร แก่วัยและความจำเป็นของบุตรนั้นๆ

๒. เพื่อให้ผู้ฟังตรองตามแล้วเห็นจริงได้ ทางแสดงธรรมอย่างเหตุผลที่ผู้ฟังพอตรองตามให้เห็นด้วยตนเอง (สนิทานธรรมเทศนา) คือ พระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ไม่ยากเกินไปจึงถึงกับตรองตามแล้วก็ไม่เห็น และไม่ง่ายเกินไปจนไม่ต้องตรึกตรองขบคิดก็เห็นได้ พุทธวิธีในการสอนจึงอยู่ท่ามกลางระหว่างความยากเกินไปกับความง่ายเกินไป ส่วนใหญ่ทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยตนเองแล้วจึงทราบว่าควรปฏิบัติอย่างไร เชื่อหรือไม่เชื่อดี โดยใช้ความรู้และปัญญาของตนวิเคราะห์ และไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะกระทำหรือเชื่อในสิ่งนั้นๆ

๓. เพื่อให้ผู้ฟังได้รับผลแห่งการปฏิบัติตามสมควร ทรงแสดงธรรมคุณเป็นอัศจรรย์ สามารถยังผู้ปฏิบัติให้ได้รับผลตามสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน (สัปปาฏิหาวิยธรรมเทศนา) คือ การพูดการสอนที่ให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วได้ผลตามที่ทรงสอนก็เห็นเป็นอัศจรรย์นั่นแหละ คือยอดปาฏิหาริย์และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่เพียงเฉพาะตนเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก

วิธีที่ทรงสอน มี ๕ วิธี

๑. ทรงสอนโดยวิธีเอกังสลักษณะ คือ ทรงแสดงยืนยันข้างเดียว เช่น ความดีมีผลเป็นสุขจะเป็นทุกข์ไปมิได้ ความชั่วมีผลเป็นทุกข์ใครทำชั่วแล้วได้ผลว่ามีความสุขดีก็เป็นไปมิได้เพราะ ยังไงคนทำชั่วก็ย่อมได้รับผลกรรมที่ตนก่อไว้ หรือกุศลเป็นสิ่งควรบำเพ็ญ อกุศลเป็นสิ่งที่ควรละ

๒. ทรงสอนโดยวิธีวิภัชชลักษณะ คือ ทรงแยกประเด็นให้ชัดเจน คือ การแยกประเด็นสอนหรือตอบคำถาม เช่น มีผู้อื่นถามว่า ผู้หญิงกับผู้ชายใครดีกว่ากัน อย่างนี้จะตอบยืนยันไปข้างเดียวแบบเอกังสะไม่ได้ ควรต้องตอบแยกว่าเป็นหญิงบางคนก็ดีกว่าชายบางคน ชายบางคนก็ดีกว่าหญิงบางคน ดังนี้เป็นต้น เป็นคำตอบหรือคำสอนทีมีเงื่อนไข

๓. ทรงสอนวิธีปฎิปุจฉาลักษณะ คือ ทรงถามย้อนเสียก่อนแล้วจึงตรัสสอน คือ การสั่งสอนหรือสนทนาแบบถามย้อนเสียก่อนให้ผู้สนทนาตอบปัญหาทางนามธรรมอัน ลึ้กซึ้งไปได้เอง เช่น  มีคนมาถามว่าเมื่อความรู้ เกิดขึ้นความรู้หายไปไหน เราอาจถามย้อนในสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายๆ คือ เมื่อแสงสว่างเกิดขึ้นความมืดหายไปไหน ดังนี้เป็นต้น ถ้าเขาตอบปัญญหาของเราได้ก็เป็นอันตอบปัญหาของเขาไปในตัว

๔. ทรงสอนโดยฐปนลักษณะ คือ พักปัญหาไว้ไม่ทรงพยากรณ์ คือ ไม่ทรงตอบเรื่องนั้น เพราะทรงเห็นว่าไม่มีประโยชน์หรือยังไม่ถึงเวลาที่ควรรู้

. อุปมาลักษณะ ทรงสอนแบบเปรียบเทียบ เช่น ทรงเปรียบเทียบภิกษุด้วยผ้าเปลือกไม้และผ้ากาสี คือ ผ้ากาสีมีลักษณะ ๓ อย่าง คือ สีงาม สัมผัสนิ่มดี ราคาแพง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผ้าใหม่หรือเก่า เมื่อเก่าแล้วคนก็นิยมนำไปห่อรัตนะ หรือ ห่อของหอมนั้น ในทำนองเดียวกัน ภิกษุบางรูปไม่ว่าจะเป็นภิกษุใหม่หรือปูนกลาง หรือเป็นพระเถระ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นผู้ทรงศีล มีธรรมงาม (เท่ากับสีงามของพระภิกษุ) เป็นผู้ให้ประโยชน์แก่ผู้คบหาสมาคม (เท่ากับสัมผัสนิ่งของภิกษุ) ทำให้ปัจจัยที่ทายกถวายมีอนิสงส์มาก (เท่ากับราคามากหรือราคาแพงของภิกษุ)

พระ พุทธเจ้าทรงเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ให้ทำตนเช่นผ้ากาสี อย่าทำตนเป็น เช่น ผ้าเปลือกไม้ คือ ผ้าเปลือกไม้ที่มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ สีไม่สวย สัมผัสหยาบ ราคาถูกหรือราคาน้อย ทำนองเดียวกับพระภิกษุบางรูปซึ่งเป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลว ให้ทุกข์ให้โทษแก่ผู้คบหาสมาคม ทำปัจจัยที่ทายกถวายมีค่าน้อย หรือมีอนิสงส์น้อง

ท่าทีที่ทรงสอน

๑. ทรงสอนอย่างละมุนละม่อม เช่น พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับคนฝึกม้า ชื่อ เกสีว่าทรงฝึกพระสาวกเหมือนที่นายเกสีฝึกม้า คือ ฝึกอย่างละมุนละม่อมบ้าง อย่างรุนแรงบ้าง ใครที่ฝึกไม่ได้ก็ทรงฆ่าเหมือนกัน คือไม่ทรงสอน เลิกสอน การไม่สอนนั่นแหละคือการฆ่าในพระวินัยของพระอริยะ ทำนองเดียวกับนายเกสีฆ่าม้าที่ฝึกไม่ได้เพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์เลว

๒. ทรง สอนอย่างเข้มงวดรุ่นแรง เช่น ช่างเหล็กที่ต้องใช้ไฟแรงแก่เหล็กที่แข็งมาก กล่าวคือ การที่จะฝึกใครได้นั้นบางครั้งต้องใช้ความรุนแรงเข้มงวดบ้างจึงจะสามารถนำ เขาไปในสิ่งที่เราอยากให้เขาเดินไปตามทางที่ถูกต้อง

.ทรงสอนอย่างขอร้องวิงวอน เช่น เมื่อทรงส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาครั้งแรก ได้ตรัสขอร้องวิงวอนว่า "ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจารึกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชน เพื่อเกื้อกูลแก่โลก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายแต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป"

ชื่อหนังสือ พุทธประวัติ

ชื่อผู้แต่ง ไกรลาส สุทธิเกิดและคณะ....

สำนักพิมพ์เสริมวิทย์บรรณาคาร ปีที่พิมพ์ ๒๕๔๐

 

สถานที่กำเนิดพระพุทธศาสนา 

ดินแดนกำเนิดพระพุทธศาสนา

พุทธ ศาสนา มีถิ่นกำเนิดขึ้นในดินแดนที่เรียกกันว่าชมพูทวีป หรืออาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ ดินแดนประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลนั้นได้แบ่งออกเป็นแคว้นใหญ่ๆ ๑๖ แคว้น

๑. แคว้นอังคะ                       ๒. แคว้นมคธ                        ๓. แคว้นกาสี                         ๔. แคว้นโกศล

๕. แคว้นวัชชี                         ๖. แคว้นมัลละ                       ๗. แคว้นเจตี                          ๘. แคว้นวังสะ

๙. แคว้นกุรุ                            ๑๐. แคว้นปัญจาละ                               ๑๑. แคว้นมัจฉะ                    ๑๒. แคว้นสุรเสนะ

๑๓. แคว้นอัสสกะ                 ๑๔. แคว้นอวันตี                   ๑๕. แคว้นคันธาระ                               ๑๖. แคว้นกัมโพชะ

วงศ์ตระกูลและกำเนิดของพระพุทธเจ้า

ทรง ถือกำเนิดขึ้นจากชนเผ่าอารยัน (เป็นเชื้อชาติที่มีความเจริญสูงกว่าพวกพื้นเมืองของอินเดีย (ดราวิเดียน)) หรืออริกะที่อพยพมาจากตอนเหนือของประเทศอินเดีย (เป็นส่วนที่เรียกว่า มองโกเลีย เผ่าอารยันจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มองโกล)

กำเนิดศาสดาของศาสนาพุทธ พระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์แก่ใกล้จะถึงกำหนดคลอด จึงทูลขออนุญาตจากพระราชสวามี เพื่อเสด็จกลับไปคลอดที่นครเทวทหะอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระนางตามธรรมเนียม การคลอดบุตร ในหว่างที่ขบวนเสด็จเดินทางได้ผ่านสวนลุมพินี พระนางสิริมหามายาทรงมีพระประสงค์พักที่สวนนี้จึงให้พักขบวนเสด็จ ส่วนพระนางเองก็ทรงดำเนินไปมาอยู่ใต้ต้นสาละในช่วงเวลานี้เอง พระนางทรงเกิดความรู้สึกพระองค์ขึ้นมาว่าจะต้องมีพระประสูติกาลในสถานที่ นั้น จึงให้ผู้ติดตามพร้อมแพทย์หลวงจัดสถานที่ประสูติใต้ต้นสาละพระนางได้ประสูติพระโอรส ณ ที่นั่น เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ พระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวจึงให้งดการพาพระนางไปสู่นครเทวทหะ รับสั่งให้เสด็จกลับนครกบิลพัสดุ์ หลังจากนั้นพระนางสิริมหามายาประสูติพระโอรสได้ ๗ วันพระนางก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะจึงให้พระนางปชาบดีเลี้ยงดูต่อมา เมื่อข่าวการประสูติแพร่ออกไป ประชาชนจากที่ห่างไกลก็ได้เข้าเดินทางมาถวายพระพรชัยมงคลพร้อมของขวัญ ในครั้งนั้นอสิตดาบสได้เดินทางเข้ามาเฝ้าพระสุโธทนะเพื่อมาถวายพระพรแก่พระ ราชกุมารและทำนายว่า พระกุมารนี้จะต้องเป็นบุรุษยิ่งใหญ่ หากครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิธรรมิกราชทรงชนะศัตรูได้โดยธรรม หากออกผนวชจักได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาเอกในโลก ในเวลาต่อมาพระเจ้าสุทโธนะทรงประชุมพระประยูรญาติเพื่อทำพิธีขนานนามโดยให้ พราหมณ์ขนานนามให้พระราชกุมาร พระราชกุมารจึงมีพระนามว่า "สิตธัตถะ" มีความหมายว่า มีความต้องการสำเร็จหรือสำเร็จผลตามที่ต้องการ หลังจากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะทรงให้พราหมณ์ ๗ คน ทำนายให้แต่คำทำนายก็เหมือนกับอสิตดาบส แต่มีพราหมณ์นามว่าโกณฑัญญะซึ่งมีอายุน้อยที่สุดทำนายว่า พระราชกุมารจะต้องเสด็จออกบรรพชาและจะได้สำเร็จเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าและได้ เป็นศาสดาในโลก จะไม่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอย่างเด็จขาด พระเจ้าสุทโธทนะจึงให้พระราชโอรสพบแต่ความสุขสบายไม่ให้เห็นคนเจ็บ คนแก่ คนตาย นอกจากหนุ่มสาวเท่านั้น

เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อทรงพระเยาว์และการเสด็จออกบวช

การศึกษาและชีวิตในวัยพระเยาว์ เมื่อพระชนม์ ได้ ๘ พรรษาพระเจ้าสุทโธทนะทรงประกอบพิธี แรกนาขวัญ ในครั้งนั้นเจ้าชายสิทธัตถะไม่สามารถทรงร่วมประกอบพิธีได้จนเสร็จสิ้น เพราะมีความสงสารโคที่ใช้ลากคันไถ ซึ่งถูกปฎักทิ่มแทงได้รับบาทเจ็บเนื่องจากถูกบังคับให้ลากคันไถกลางแจ้งแดด ร้อนจัด และในขณะเดียวกันพระองค์ทรงศึกษาศิลปศาสตร์และทรงสามารถทำได้ในเวลารวดเร็ว

ทรงอภิเษกสมรส เมื่อทรงมีพระชนม์มายุ ๑๖ พรรษาพระเจ้าสุทโธทนะก็ทรงโปรดสร้างปราสาทขึ้น ๓ หลังให้สำหรับพระโอรสประทับในฤดูต่างๆ และยังตรัสขอพระนางยโสธรา (พิมพา) พระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งกรุงเทวทหะนครมาอภิเษกกับเจ้าชายสิทธัตถะและทรงมีพระราชโอรส ๑ พระองค์ พระนามว่าพระราหุล

การเสด็จออกบวช พระองค์ ทรงเบื่อหน่ายความสุขสำราญ และเบื่อการทำศึกสงครามและทรงเห็น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระทรงอยากที่จะพ้นทุกข์จึงทำให้เจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยอย่างแนวแน่ว่า จะต้องเสด็จออกบวชพระองค์ทรงม้าชื่อ กัณฐกะ ไปกับนาย ฉันนะ มหาดเล็กคนสนิทเมื่อพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้วก็หันพระพักตร์สู่แม่น้ำอโนมานที เปลื้องเครื่องประดับทั้งหมดยื่นให้นายฉันนะพร้อมกับตรัสว่าให้นำเครื่องประดับพร้องกับม้ากลับไปยังเมือง ส่วนพระองค์เองนั้นก็ทรงตัดพระเกศาด้วยพระขรรค์ เปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเครื่องนุ่มห่มด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วอธิฐานครองเพศเป็นบรรพชิต

พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์ ทรงเลือกที่จะบำเพ็ญทุกรกิริยาคือทรงบำเพ็ญเพียรทางร่างกายโดยการทรมานโดย วิธีต่างๆ เช่น การกลั้นลมหายใจ ขบฟันด้วยฟัน อดอาหารโดยการลดปริมาณลงเรื่อยๆ จนกระทั่งตัดขาดเลยจนผิวหนังหุ้มกระดูกและต่อมาได้มีปัญจวัคคีย์ติดตาม พระองค์มาด้วยและอยู่ช่วยรับใช้พระองค์

ตรัสรู้

การบำเพ็ญเพียรทางใจ หลังจากที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าการทำเช่นนี้ไม่สามารถที่จะตรัสรู้ได้ เหมือนการดีดพิณสามสาย "สาย หนึ่งตึกนักพอดีดไปหน่อยก็ขาด สายหนึ่งหย่อนนักดีดเข้าไปก็ไม่บันลือเสียง อีกสายหนึ่งไม่ตึงไม่หย่อนพอปานกลาง ดีดเข้าไปก็บันลือเสียงไพเราะจับใจ" จึงทำให้พระองค์ทรงเข้าใจว่าควรจะเดินทางสายกลาง พระองค์จึงทรงเริ่มการบำเพ็ญเพียรใหม่ โดยการบำเพ็ญเพียรทางใจฝ่ายปัญจวัคคีย์เห็นว่าทรงคลายบำเพ็ญเพียรจึงพากัน หลบหนีไป ในครั้งนั้นเวลาเช้านางสุชาดาบุตรีของเศรษฐีใหญ่แห่งหมู่บ้านเสนานิคมคิดจะ บวงสรวงเทวดาได้จัดข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองนำไปที่โคนต้นโพธิ์ด้วยกชอาการสงบ น่าเลื่อมใสจึงคิดว่าเป็นเทวดาจึงถวายข้าวให้ พระองค์ทรงรับข้าวนั้นแล้วเสวยแล้วนำนำถาดไปลอยพรอมอธิฐานว่าถ้าพระองค์จะ ตรัสรู้ขอให้ทรงเห็นอัศจรรย์คือถาดทองนั้นทวนกระแสน้ำได้ จึงทำให้พระองค์ทรงได้รับความปราโมทย์ยิ่งนัก

ตรัสรู้ ครั้ง ตอนเย็นทรงพบกันคนหาบหญ้าชื่อโสตตถิยะ เขาเห็นพระอาการละมุนละไมของพระองค์แล้วเกิดความเสื่อมใสใคร่จะถวายของแต่ ไม่มีอะไรจะถวายจึงถวายหญ้าคา พระองค์ทรงรับและนำมาปูลาดเป็นอาสนะ พร้องทั้งอธิบานพระทัยว่า "เลือด และเนื้อในร่างกาย เราจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามเถิด สิ่งใดอันบุคคลพึงบรรลุได้ ด้วยกำลัง เรี่ยวแรง และความพยายามของบุรุษ หากเรายังมิได้บรรลุคุณวิเศษอันนั้นแล้ว เรื่องจะหยุดความเพียรเสียเป็นไม่มีอย่างเด็ดขาด" หลังจากนั้นพระองค์ทรงสำรวบจิตให้สงบให้แนวแน่ ธรรมชาติฝ่ายต่ำคือกิเลสทั้งหลาย กับธรรมชาติฝ่ายสูงคือคุณธรรมต่างๆ ได้ขัดแย้งกันอยู่ในพระทัยของพระองค์เปรียบเสมือนพญายามารแต่พระองค์ก็ทรง สามารถเอาชนะได้ ก่อนที่พระองค์ทรงตรัสรู้พระองค์ทรงรู้แจ้ง  ๓ อย่าง คือ

๑. พระองค์ทรงระลึกชาติหนหลังของตนได้ ๑๐ ชาติ ในเวลา ๒๒.๐๐ น.

๒. พระองค์ทรงรู้ธรรมชาติในโลกนี้ คือการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในเวลา ๒๒.๐๐ ๐๒.๐๐ น.

๓. พระทรงทรงตัดสิ้นกิเลส และทรงเห็นว่าสิ่งใดเป็นเหตุสิ่งใดเป็นผลที่ทำให้เกิดกิเลส และหนทางการดับเพลิงทุกข์ ในเวลา ๐๒.๐๐ ๐๖.๐๐ น.

การประกาศพระพุทธศาสนา

คิดโปรดสัตว์ พระองทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม แต่อาศัยความตั้งพระทัยเรื่องพระกรุณาธิคุณในหมู่สัตว์ จึงทรงพิจารณาทบทวนอีกครั้ง ทรงเปรียบ เวไนยสัตว์ (คือบุคคลที่อาจจะแนะนำฝึกสอนได้) ว่าเป็นเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า

๑. บัวที่พ้นจากน้ำแล้วย่อมคอยแสงอาทิตย์และจะบานได้ในวันนี้

๒. บัวที่อยู่เสมอน้ำ อาจจะบานได้ในวันพรุ่งนี้

๓. บัวที่ยังจมน้ำอยู่อาจจะบานได้ในวันต่อๆ ไป

๔. บัวที่จมอยู่ในน้ำไม่สามารถที่จะขึ้นมาพ้นน้ำได้

ปฐมเทศนา พระองค์ ทรงเสด็จไปหาปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพื่อปฐมเทศนาเมื่อปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ได้ฟังแล้วทำให้พระโกฑัญญะได้เห็นดวงตาธรรมและได้บรรลุเป็นโสดาบันแล้วขอ บวชเป็นเอหิภิกษุสงฆ์สาวกองค์แรกในโลกและหลังจากนั้นปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ รูปก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยการฟังพระธรรม

แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตร มี บุตรชายเศรษฐีนามว่ายสกุลบุตรมีความเบื่อหน่ายในการครองเรือน ในรุ่งเช้าวันหนึ่งเขาได้ออกเดินทางไปที่ป่าสิปตนมฤคทายวันพลางบ่นไปว่า "ที่นี่วุ่นวายจริงหนอ ที่นี่ขัดข้องจริงหนอ" แต่มีเสียงตอบชัดเจนว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้องจงมาที่นี่เถิด" กุลบุตรจึงรีบลงไปกราบแทบพระบาทและนั่งฟังพระธรรมที่เรียกว่า "อนุปุพพิกถา" คือการให้ทาน ให้ศีลและสวรรค์

ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงมีพระสาวกที่เป็นพระอรหันต์ถึง ๖๐ รูป พระองค์ทรงให้สาวกของพระองค์ออกเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธสาสนาโดยให้ไปทิศละ ๑ รูปและในไม่นานพระองค์ก็ทรงมีพระสาวกเป็นจำนวนมากในเวลาอันสั้น

ทรงแสดงธรรมอาทิตตปริยายสูตร ทรงโปรดชฏิลสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร โดยการแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ทางใช้กุศลบายให้ละเลิกลัทธิบูชาไฟเสีย และทรงอธิบายโทษของไฟ ๓ กอง

๑. ไฟราคะ                             ๒. โทสะ                                                ๓. โมหะ

ที่เผาพลาญสัตว์โลกไม่รู้จักจบสิ้นเมื่อเทศนาสั่งสอนจบชฎิลสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์รวมทั้งหมด ๑,๐๐๓ องค์

จาตุรงสันนิบาต พระพุทธเจ้าทรงประชุมพระสาวก ณ วัดเวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ พระสงฆ์มาประชุมครั้งนั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด มี ๑,๒๕๐ รูป แต่ละรูปบวชกับพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทาและต่างมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

ทรงแสดงธรรมว่าด้วย ๖ ทิศ ใน ขณะที่พระพุทธองค์เสด็จอยู่นั้น ทรงทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกมานพกำลังไหว้ทั้ง ๖ ทิศอยู่ซึ่งทำตามคำสั่งของบิดา พระพุทธเจ้าเห็นว่าทรงไม่ถูกต้องจึงตรัสแสดงธรรมให้สิงคาลกมานพเข้าใจว่าจะ ไหว้ทิศต้องเว้นกิจเหล่านี้ คือ กิเลส ๔ อคติ ๔ และอบายมุขทั้ง ๖ คือ

ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา                           ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา

ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ บ่าว ไพร่                                                ทิศเบื้องขวา ได้แก่ อาจารย์

ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ เพื่อน                                      ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ สมณะพรหมณ์

เสด็จกรุงบิลพัสดุ์ เมื่อ พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าพระสิทธัตถะทรงทรงเป็นศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงตรัสสั่งให้อำมาตย์หลายคนไปนิมนต์มา แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะมัวแต่ฟังธรรมเทศนาจนบรรลุอรหัตครั้งสุดท้าย ได้ให้ กาฬุทายีอำมาตย์ไปนิมนต์แต่สุดท้ายก็บรรลุอรหัตเป็นเอหิภิกษุ และจากนั้นได้รอคอยอยู่นานจึงทูลเชิญพระศาสดาพร้อมทั้งหมู่สงฆ์ร่วมเดินทาง มา และทรงโปรดพระพุทธบิดาจนบรรลุโสดาบันและได้ทรงเมตตาโปรดพระนางยโสธราเทวีและ พระนางยโสธราเทวีก็ให้พระราหุลไปทูลขอพระราชสมบัติของพระบิดาแต่พระราหุลทรง รักพระบิดามากจึงขอตามพระบิดาออกบรรพชาด้วยหลังจากนั้นพระศากยวงศ์ทั้ง ๖ ก็ทรงขอตามเสด็จไปด้วย

ปรินิพพาน หลัง จากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดสุภัททปริพาซึ่งเป็นสาวกองค์สุดท้าย ที่เห็นพระพุทธองค์แล้ว จากนั้นทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ถามเรื่องของใจสงสัย เมื่อไม่มีผู้ใดถาม จึงตรัสประทานโอวาทแก่พระสงฆ์พระพุทธบริษัทที่ประชุมกัน ณ ที่นั่นเป็นครั้งสุดท้ายว่า "ภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้ เราจักเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ ประมาทเถิด" เมื่อประทานปัจฉิมโอวาท ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานในเวลา ปัจฉิมยาม (ยามสุดท้าย ระหว่าง ๐๒.๐๐ ๐๖.๐๐ น.) วันที่ปรินิพพานเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระชนม์มายุ ๘๐ พรรษา บริบูรณ์

ชื่อหนังสือ พุทธธรรม

ชื่อผู้แต่ง คุณประยูร  พรพมสุทธิ

สำนักพิมพ์ธรรมสภา ปีที่พิมพ์ ๒๕๔๔

 

ชีวิตคืออะไร ขันธ์ ๕ ส่วนประกอบ ๕ อย่างของชีวิต

ตัวสภาวะ

พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกันเข้า ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน เมื่อแยกส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ เช่น รถ ถ้าเราแยกส่วนประกอบออกชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็ไม่ใช่รถแต่รถนั้นเกิดจากการรวมตัว กันของส่วนประกอบต่างๆ ทำให้เราเรียกว่ารถ

การแสดงส่วนประกอบต่างๆ นั้น แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมดร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย

๒. เวทนา ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ ซึ่งเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือการกำหนดรู้ลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำเหตุการณ์หรือสิ่งนั้นๆ ได้

๔. สังขาร ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง

๕. วิญญาณ ได้แก่การรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ ทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ชีวิตคืออะไร อายนะ ๖ แดนรับรู้และเสพเสวยโลก

ช่องทางที่ชีวิตติดต่อกับโลก

ชีวิต ในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ภาค แต่ละภาคมีระบบการทำงาน ซึ่งอาศัยช่องทางที่ชีวิตจะติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า "ทวาร" (ประตู หรือช่องทาง) ดังนี้

๑. ภาครับรู้และเสพเสวยโลก อาศัยทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับรับรู้และเสพเสวยโลก ซึ่งปรากฏโดยลักษณะอาการต่างๆ ที่เรียกว่า อารมณ์ ๖ คือ รูป รส กลิ่น เสียง

๒. ภาคแสดงออกหรือกระทำต่อโลก อาศัย ทวาร ๓ คือ กาย วาจา ใจ (กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร) สำหรับกระทำตอบต่อโลก โดยแสดงออกเป็นการทำ กรพูด และการคิด

เมื่อนำไปกล่าวในระบบการทำงานของกระบวนธรรมแห่งชีวิต ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า "อายตนะ" ซึ่งแปลว่าแดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือทางรับรู้ ซึ่งถ้านำไปศึกษาเรื่องนี้ต่อไปให้ใช้คำว่า "อายตนะ" แทนคำว่า "ทวาร"

สังขาร ในฐานะกระบวนการปรุงแต่งแสดงออกและการกระทำต่างๆ ต่อโลก เป็นเรื่องกิจกรรมของชีวิต ซึ่งจะแสดงออกเป็นพิเศษส่วนหนึ่งต่างหาก ในตอนว่าด้วย "ชีวิตเป็นไปอย่างไร"

ทั้ง นี้ มุ่งแสดงแต่สภาวะอันเนื่องอยู่ที่ตัวชีวิตเอง หรือองค์ประกอบของชีวิต พร้อมทั้งหน้าที่ของมันตามสมควร จึงจะกล่าวเฉพาะภาคที่ ๑ คือเรื่อ ทวาร ๖ ที่เรียกว่า อายตนะ ๖ อย่างเดียว

ตัวสภาวะ

อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆ ว่าทางรับรู้มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือลักษณะอาการต่างๆ ของโลก เหล่านี้ เรียกชื่อว่า "อายตนะ" เหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือเป็นแหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็นฝ่ายภายนอก

อายตนะพวกแรกคือ อายตนะภายใน (แดนต่อความรู้ภายใน) อายนะอีกพวกหนึ่งคือ อายตนะภายนอก (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)

อายตนะ ๖ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า "อารมณ์" แปลว่า สิ่งที่มาหน่วงจิต หรือ สิ่งสำหรับยึดเหนี่ยวจิต

เมื่ออายตนะและอารมณ์เข้าถึงกันแล้ว แต่วิญญาณไม่เกิดขึ้นเช่นนี้ ก็ยังไม่เรียกว่าการรับรู้เกิดขึ้น

การรับรู้จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบ ๓ อย่าง คือ อายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ ที่เรียกว่า "ผัสสะ" หรือ สัมผัส มีความหมายทางธรรมว่า การประจวบหรือบรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ พูดอย่างเข้าใจง่ายๆ ผัสสะ ก็คือ การรับรู้ นั่นเอง

เวทนา แบ่งตามทางรับรู้ มี ๖ เท่าจำนวนอายตนะ คือ เวทนา ที่เกิดจากสัมผัสทางตา เวทนี่เกิดจากสัมผัสทางหู

ชีวิตเป็นอย่างไร ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ อย่างของสิ่งทั้งปวง

ตัวกฎหรือตัวสภาวะ

ความ เป็นไปต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นไปตามธรรมชาติ อาศัยความสัมพันธ์และความเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเอง ไม่มีตัวการอย่างอื่นที่นอกเหนือออกไปในฐานะผู้สร้างหรือผู้บันดาล จึงเรียกเพื่อเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นกฎธรรมชาติ

มีหลักธรรมอยู่ ๒ หมวด คือ

๑. ไตรลักษณ์  มุ่ง แสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลายซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นอย่างนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัย สืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท

๒. ปฏิจจสมุปบาท มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกะแส จนปรากฏลักษณะให้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ บางทีเรียกว่า "สามัญลักษณะ" และสามารถแบ่งออกเป็น ๓ อย่างคือ

๑. อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป

๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป

๓. อนัตตา ความเป็นอนัตตาความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง

ปฏิจจสมุปบาท มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน ปฏิจจสมุปบาท มีคนให้ความหมายไว้เป็นกลาง ๆ ว่า สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกัน เกิดสืบต่อกันมาตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มูลการณ์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นในรูปพระผู้สร้างหรือสิ่งต่างๆ

กรรม ตัวกฎ หรือตัวสภาวะ

กรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อแยกส่วนในกระบวนการนั้นออกเป็น วัฎฎะ ๓ คือ กิเลส กรรม และวิบาก หลักปฏิจจสมุปบาทแสดงถึงกระบวนการทำกรรมและการให้ผลของกรรมทั้งหมด ตั้งต้นแต่กิเลสที่เป็นเหตุให้กรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับ

อย่าง ไรก็ดี มีจุดหรือแง่สำคัญบางประการที่ควรย้ำไว้ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงในเรื่องกรรมดังนี้ กรรมเก่า สุขทุกข์ทั้งปวงถือว่าเป็นเพราะการบันดาลของเทพ สุขทุกข์เป็นไปสุดแล้วแต่โชคชะตา

อริยสัจ ๔ ประกอบด้วย

๑. ทุกข์ คือ การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ความปรารถนาไม่สมดั่งหวัง

๒. สมุทัย คือ ตัณหา ต้นเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสทั้งปวง ความทะยานอยากได้ในสิ่งต่างๆ

๓. นิโรธ คือ วิธีการดับทุกข์หรือดับเพลิงกิเลสใดๆ ทั้งปวง

๔. มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

วิธีปฏิบัติต่อกรรม

กรรมเก่ามีผลต่อชีวิตของตนเราแค่ไหน? และเราควรปฏิบัติต่อกรรมเก่าอย่างไร?

๑. รู้หลักความตรงกันของเหตุกับผล ต้อง ถามตัวเอง หรือจับให้ชัดก่อนว่า กรรมคือความดีที่เราทำนี้ เป็นปัจจัยตัวเหตุ ที่จะให้เกิดผลอะไร ที่เป็นผลโดยตรงของมัน เช่น ปลูกเม็ดมะม่วง ได้ต้นมะม่วง ไม่ใช่ต้นมะปราง เป็นต้น

๒. กำหนดผลดีที่ต้องการให้ชัด เช่น เรากินอาหารอย่างหนึ่ง ที่มีผลดีต่อชีวิต ทำให้มีสุขภาพดี แต่อาจจะไม่ดีในเชิงสังคม ไม่สนองค่านิยมให้รู้สึกโก้เก๋ บางคนอาจจะดูถูกว่าเราต้อยต่ำ หรือว่าไม่ทันสมัย แต่ชีวิตเราก็ดี  ใน ทางตรงกันข้าม มีคนอื่นมาให้ของกินแก่เรา อาจจะเป็นขนมก็ได้ ราคาแพง มีกล่องใส่ ห่ออย่างสวยหรู โก้เก๋มาก ดีเหลือเกิดในเชิงสังคม เราอาจจะลิงโลดดีใจที่ได้รับ แต่ถ้ากินเข้าไปของนั้นกลับไม่ดีต่อชีวิตของเรา จะบั่นทอนสุขภาพหรือทำให้เกิดโรคได้

๓. ทำเหตุปัจจัยให้ครบที่จะให้เกิดผลที่ต้องการ ตามหลักความพรั่งพร้อมของปัจจัย อะไรจะปรากฏเป็นผลขึ้น ต้องมีปัจจัยพรั่งพร้อม ตรงนี้จะช่วยไม่ให้ไปติดในลัทธิเหตุเดียวผลเดียว  หลัก หรือกฎไม่ได้บอกว่า เมื่อเอาเม็ดมะม่วงไปปลูกแล้วต้องงอกขึ้นมา ท่านพูดแต่เพียงว่า จากเม็ดมะม่วง ต้นไม้ที่จะงอกขึ้นมา ก็เป็นมะม่วง นี้คือ เหตุ และผล หรือ ปัจจัยตัวตรงสภาวะ และ ผล  การ ที่เม็ดมะม่วงจะงอกขึ้นมาเป็นต้นมะม่วง ไม่ใช่มีแต่เม็ดมะม่วงอย่างเดียวแล้วจะได้ต้นมะม่วง ต้องมีดิน ปุ๋ยในดิน มีน้ำ มีก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ มีอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นต้น พูดสั้นๆ ว่าเมื่อปัจจัยพรั่งพร้องแล้ว ต้นมะม่วงจึงจะงอกขึ้นมาได้

๔. ฝึกฝนปรับปรุงตนให้ทำกรรม (ได้ผล) ดียิ่งขึ้นไป ตาม หลักความไม่ประมาท โดยเฉพาะการไม่ประมาทในการศึกษา เราจะต้องฝึกกาย วาจา จิตใจ และปัญญา (รวมเรียกว่าไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา) ให้สามารถทำกรรมให้ดียิ่งขึ้นๆ เช่น จากกรรมชั่ว เปลี่ยนมาทำกรรมดี จากกรรมดี ก็ก้าวไปสู่กรรมดี ที่ประณีตหรือสูงยิ่งขึ้นๆ ให้ชีวิตก้าวไปในมรรค คือ ในวิถีชีวิตที่ประเสริฐ ที่เรียกว่า พรหมจริยะ/พรหมจรรย์

๕. ทำกรรมเก่าให้เกิดประโยชน์  กรรม เป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ คือเป็นเรื่องความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของชีวิตมนุษย์ ที่มีเจตนา มีการคิด การพูด และการกระทำ แสดงออก มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย แล้วก็เกิดผลต่อเนื่องกันไปในความสัมพันธ์นั้น ถ้ามั่วไปยึดถือว่า แล้วแต่กรรมเก่าปางก่อนอย่างเดียว ก็จะทำกรรมใหม่ที่เป็นบาปอกุศลโดยไม่รู้ตัว

๖. อยู่เพื่อพัฒนากรรม ไม่ใช่อยู่เพื่อใช้กรรม กรรมเก่า (ในอดีต) เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว เราทำไม่ได้ แต่เราความรู้ เพื่อเอาความรู้จักมันนั้นมาใช้ประโยชน์ ในการแก้ไขปรับปรุงกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้น กรรมใหม่ (ในปัจจุบัน) คือกรรมที่เราทำได้ และจะต้องตั้งใจทำให้ดีที่สุด ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ กรรมข้างหน้า (ในอนาคต) เรายังทำไม่ได้ แต่เราสามารถเตรียมหรือวางแผนเพื่อจะไปทำกรรมที่ดีที่สุด ด้วยการทำกรรมที่ปัจจุบันที่พัฒนาเราให้ดีงามและงอกงามยิ่งขึ้น จนกระทั้งเมื่อถึงเวลานั้นเราก็จะสามารถทำกรรมที่ดีสูงขึ้นไปตามลำดับ จนถึงขั้นเป็นกุศลอย่างยอดเยี่ยม

แล้วทำอย่างไรจึงจะหมดกรรม? การที่จะหมดกรรมก็คือไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น พูดได้สั้นๆ ว่ากรรมไม่หมดไปด้วยการใช้กรรม แต่หมดกรรมด้วยการพัฒนากรรม คือปรับปรุงตัวให้ทำกรรมดียิ่งขึ้นๆ จนพ้นขั้นของกรรมไป ถึงขั้นทำ แต่ไม่เป็นกรรม คือทำด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกครอบงำหรือชักจูงด้วยโลภะ โทสะ โมหะ จึงจะเรียกว่า พ้นกรรม

๗. กรรมระดับบุคคล - กรรมระดับสังคม

๑.กรรมระดับปัจเจกบุคคล ตายนัยพุทธพจน์ เช่นว่า "กัมมัง สัตเตวิภชติ ยทิทัง หินัปณีตตาย" แปลว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ไปต่างๆ คือ ให้ทรามและประณีต

๒. กรรมในระดับสังคม ตายนัยพุทธพจน์ เช่นว่า "กัมมุนา วัตตตี โลโก กัมมุนา วัตตตี ปชา" แปลว่า โลก (คือสังคมมนุษย์) เป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม

ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง

ทางสายกลาง

ความเป็นทางสายกลางนั้น เป็นเพราะไม่เข้าไปข้องแวะที่สุด ๒ อย่าง (แต่ไม่ใช่อยู่กลางระหว่างที่สุดทั้งสอง)

๑. กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข

๒. อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง

ระบบของมัชฌิมาปฏิปทา

ทางสายเดียว มีแต่องค์ประกอบ ๘ อย่าง

๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ

๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ

๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ

๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ

๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ

๘. สัมมาสมาธิ จิตมั่นชอบ

องค์ ประกอบทั้ง ๘ นี้ มิใช่ทาง ๘ ทาง แต่ต้องปฏิบัติไปทีละข้อตามลำดับเป็นส่วนประกอบของทางสายเดียวกัน ตองอาศัยกันและกันไปตลอด ในที่นี้ มรรคมีองค์ ๘ นี้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนซึ่งเรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะแยกตามลำดับดังนี้

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ คือ ปัญญา

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ ศีล

สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ คือ สมาธิ

ระบบการฝึกของไตรสิกขา ออกผลมาคือวิถีชีวิตแห่งมรรค

๑. อธิศีลสิกขา การหมั่นศึกษาด้านความประพฤติทางกาย วาจา และอาชีพให้มีชีวิตที่สุจริตและเกื้อกูล

๒. อธิจิตตสิกขา การหมั่นศึกษาทางด้านสมาธิหรือการพัฒนาจิตใจให้เจริญ

๓. อธิปัญญาสิกขา การหมั่นศึกษาให้ปัญญาสูงขึ้น ให้รู้คิดเข้าใจมองเห็นตามเป็นจริง

ไตรสิกขานี้เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วๆ ไป ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์

๑.สัพพปาปัสส อกรณัง การไม่ทำความชั่วทั้งปวง (ศีล)

๒. กุสลัสสูปสัมปทา การบำเพ็นความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ)

๓. สจิตตปริโยทปนัง การทำจิตใจของตนเองให้ผ่องใส (ปัญญา)

ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องกันของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ

เมื่อเรามีศีลจะทำให้เราเกิดสมาธิ และสมาธินั้นทำให้เรามีปัญญา

 

No comments: