Sunday, December 14, 2008

ครอบครัวที่สมบูรณ์, กตัญญูกตเวทิตา : ธรรมที่สร้างคนให้เป็นคนดี

ครอบครัวที่สมบูรณ์

 

ชีวิตสมบูรณ์ทำให้ครอบครัวสมบูรณ์

 

    ความสมบูรณ์ของชีวิต ขึ้นอยู่ที่การมีธรรมะ ถ้าไม่มีธรรมะชีวิตก็จะบกพร่อง เกิดปัญหาด้วยประการต่างๆ เมื่อแต่ละคนมีปัญหา สังคมก็มีปัญหา ประเทศชาติก็มีปัญหา โลกก็มีปัญหา ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกนี่เกิดจากความบกพร่องของบุคคลเมื่อบุคคลมี ความบกพร่อง ชีวิตครอบครัว ตลอดจนถึงประเทศชาติในโลก ก็ย่อมจะบกพร่องไปในตัว เป็นปัญหาที่จะต้องแก้กันโดยไม่รู้จบไม่รู้สิ้น

 

ชีวิตจะสมบูรณ์ต้องศึกษาทั้งวิชาและจะระณะ

 

    แต่ถ้าหากว่าเรารู้จุดของความบกพร่อง ว่าความบกพร่องนั้นอยู่ที่ใจของเราบกพร่อง ใจบกพร่องก็เพราะขาดธรรมะเป็นเครื่องทำจิตใจให้สมบูรณ์ เราก็แสวงหาธรรมะ แสวงหาธรรมะด้วยการศึกษา ฟัง อ่าน คิด ให้เกิดความเข้าใจ

 

    เราเป็นพุทธบริษัท ต้องเป็นผู้รู้ ต้องเป็นผู้สมบูรณ์ทั้งวิชาและจะระณะ ตามแบบของชาวบ้าน หรือว่าตามแบบของนักบวช สุดแท้แต่เรามีอะไรในอาชีพของเรา เราต้องมีวิชาในเรื่องนั้น มีการปฏิบัติในเราองนั้น เราอยู่บ้านก็ต้องมีวิชาของชาวบ้าน แล้วก็ต้องปฏิบัติตามหลักวิชานั้นๆ เราก็ตั้งตัวได้ มีความสุขในชีวิตครอบครัวหรือว่าเราเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ อะไรก็ตามใจ เราก็ต้องมีวิชาในการปฏิบัติงาน รู้ตัวบทกฎหมาย ระเบียบแบบแผน รู้วิธีการที่ต้องปฏิบัติในเรื่องต่างๆ

 

การมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์

 

    เรื่อง ที่เกิดในชีวิตมันไม่ซ้ำกัน มันหลายเรื่องหลายแบบที่จะเกิดขึ้นเป็นปัญหาให้เราแก้ไข เราต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไร มันเกิดขึ้นจากอะไร เราควรจะแก้ไขด้วยวิธีใด ปัญหา นั้นจึงจะดับรอบไป ไม่ลุกฮือขึ้นอีกต่อไป อันนี้มันต้องใช้หลักการทั้งนั้น ใช้วิชชาแล้วใช้ประสบการณ์ที่เราเคยปฏิบัติในชีวิตประจำวันมาก่อน

 

    คนเรามีอายุมากขึ้น ถ้าปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวนี้ เราก็มีวิชชาเพิ่มขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น เรียกว่ามีทั้งวิชชา มีทั้งจะระณะในตัวของเรา เพราะสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ก็มาสอนเราทั้งนั้น ความทุกข์เข้ามาก็เข้ามาสอนให้เรารู้จักทุกข์ ความสุขเข้ามาก็มาสอนให้เรารู้จักความสุข ว่าสุขกับทุกข์นี่มันแตกต่างกันอย่างไร ในจิตใจของเรา เราก็จะได้รู้ ได้เข้าใจ แล้วจะได้หาทางแก้ไขไม่ให้ใจตกอยู่ใต้อำนาจของความทุกข์และความสุขนั้น หรือรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ ให้คงสภาพอยู่ในจิตใจของเราต่อไป

 

เช่น เรามีความทุกข์ เราก็ต้องแก้ แก้ตามหลักการที่เราได้ศึกษามาจากคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเราแก้ ทุกข์มันก็ดับไป หรือว่าเรามีความสุข เราก็ต้องรู้ ไม่ใช่หลงใหลเพลิดเพลิน

 

มีความอดทนในการต่อสู้ปัญหาที่เกิดขึ้น

 

ปัญหา อื่นๆมันก็เหมือนกัน ปัญหาในครอบครัว ปัญหาในการงาน ปัญหาส่วนรวมของสังคมที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เราก็ต้องแก้ไขหลักวิชา และหลักการปฏิบัติที่เราเคยผ่านมา เอามาแก้ไข บางครั้งก็แก้ได้ บางครั้งก็ไม่ได้ ไม่ได้ก็ต้องคิดกันต่อไป ว่าเราจะเรื่องนี้อย่างไร ไม่ใช่ยอมจำนนต่อปัญหา ยอมแพ้ปัญหา เพราะถ้าเรายอมแพ้ เราก็ต้องยอมทุกข์เรื่อยไป

 

    พุทธบริษัทไม่ใช่คนยอมแพ้ปัญหา แต่เป็นคนสู้กับปัญหา ต้องเป็นคนมีความอดทนในการต่อสู้ มีการบังคับตนเอง เพื่อให้เกิดกำลังในการต่อสู้ และมีความคิดเฉียบแหลม รู้จักใช้อาวุธคือปัญญาที่เรามีอยู่ เป็นเครื่องต่อสู้กับปัญหานั้นๆ

 

หมั่นแสวงหาวิชชาใส่ตัว

 

    เพราะ ฉะนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตของเราทุกคน ที่จะต้องแสวงหาวิชชาใส่ตัว เพื่อให้มีความรู้ในรูปต่างๆ คือต้องสนใจในการศึกษานั่นเอง วันนี้เป็นวันอะไรของการศึกษานอกโรงเรียน มีการที่จะส่งรถเอาหนังสือไปแจกตามจังหวัดต่างๆ เมื่อวานนี้ก็เที่ยวเก็บหนังสือจากคนบริจาค คนให้มากมาย เอามาแล้วก็จะส่งออกไปทุกจังหวัดในวันนี้ นั่นก็คือส่งวิชาไปให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนได้เรียน ได้ศึกษา

 

    ตามวัดต่างๆก็ควรจะมี "ตู้วิชา" คือ ห้องสมุดไว้ประจำวัดเปิดโอกาสให้คนมาอ่าน ยืมไปอ่านก็ได้แต่ต้องคืนตามกำหนด แนะให้คนอ่าน ใครมาวัดก็บอกว่าหนังสือเล่มนั้นดีนะ น่าอ่าน น่ารู้ อ่านแล้วหรืยัง ถ้ายังก็เอาไปอ่านเสีย เขาเอาไปอ่าน แล้วกลับมา เราก็ควรถามข้อความในหนังสือนั้น เป็นการทดสอบว่า อ่านแล้วมีความรู้ความเข้าใจขนาดไหน จะเอามาเป็นหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ถ้าเราทำอย่างนี้คนก็จะสนใจในการอ่าน

 

ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของธรรมะ

 

    ความรู้นั้นเป็นเครื่องช่วย เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เรากระทำสิ่งชั่วร้าย ถ้าเห็นอะไรเพื่อนชวนให้ทำ เรานึกได้ว่าเคยอ่านในหนังสือเล่มนั้น เขาบอกว่ามันจะเกิดทุกข์เกิดโทษ อย่างนั้น อย่างนี้ เช่น เพื่อนชวนให้ไปเที่ยวกลางคืน ก็เคยอ่านในหนังสือแถลงการณ์ของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ที่เกิดจากคนชอบเที่ยวซุกซนอย่างนั้น พอเพื่อนชวนก็นึกไปถึงหนังสือที่อ่านเล่มนั้น เห็นภาพหน้าปกที่เขาทำไว้ เป็นภาพที่ไม่น่าดู หน้าเป็นแผล อะไรไม่ดี นึกเห็นภาพนั้นแล้วมันห้ามใจไม่ให้ไปเที่ยวเตร่สนุกสนานกับเพื่อนฝูงมิตร สหายเหล่านั้น เอาตัวรอดมาได้ ก็เพราะว่าอ่านหนังสือที่ช่วยให้ปลอดภัย

 

ปาฐกถาธรรม โดย  พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)   ชื่อหนังสือ ครอบครัวที่สมบูรณ์ เราจะทำอย่างไร ให้เด็กชอบธรรมะ  พิมพ์โดย ธรรมสภา

 

ธรรมเพื่อความสวัสดีแห่งชีวิต

 

ธรรมเพื่อความสวัสดีแห่งชีวิต

 

    กตัญญู กตเวที..ความรู้คุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน และตอบแทนพระคุณนั้น พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า เป็นธรรมของคนดีคือคนดีมีธรรมนี้ หรือธรรมนี้ทำให้คนเป็นคนดี คือคนใดมีธรรมคือความกตัญญูกตเวที คนนั้นก็คือคนดีนั่นเอง ในด้านตรงกันข้าม คนใดไม่มีกตัญญูกตเวที คนนั้นไม่ใช่คนดี

 

    เชิญสำรวจตัวเองให้ทุกคน ให้เห็นใจตนอย่างชัดเจนตรงตามความจริง ว่ามีความกตัญญูกตเวทีหรือไม่ แล้วก็จะรู้จักตนเองว่าเป็นคนดีหรือไม่ ไม่มีกตัญญูกตเวทีไม่เป็นคนดีจริงๆ อย่าสงสัย แต่จงเร่งอบรมใจตนเอง ให้มีกตัญญูกตเวทีตาธรรมให้จงได้ อย่าให้ผ่านชีวิตหน้าที่ยาวนาน โดยไม่ถือโอกาสสร้างชีวิตในภพชาติข้างหน้าให้สวยสดงดงามอย่างยิ่ง

 

กตัญญูกตเวทิตา : ธรรมที่สร้างคนให้เป็นคนดี

 

กตัญญู กตเวทิตาธรรม เป็นธรรมเครื่องสร้างคนให้เป็นคนดีจริงๆ เพราะความรู้คุณท่านผู้มีคุณ และความตั้งใจจะตอบแทนพระคุณ คือเครื่องป้องกัน ที่สำคัญที่สุดก็จะกันให้พ้นจากการทำผิดคิดร้ายได้ทั้งหมด โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความไม่ปรารถนาจะทำให้ผู้มีพระคุณเป็นทุกข์เดือด ร้อนกายใจ

 

ผู้ใดมีกตัญญูกตเวทีอย่างจริงใจเป็นเหตุให้ผู้นั้นเป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี

 

ทุก คนมีผู้มีพระคุณของตน อย่างน้อยก็บิดามารดา ครูบาอาจารย์เพียงมีกตัญญูรู้คุณท่านเท่าที่กล่าวนี้ ก็เพียงพอจะคุ้มครองตนให้พ้นจากความไม่ดีทั้งปวงได้ ขอให้เป็นเพียงความกตัญญูกตเวทีจริงใจเท่านั้น อย่าให้เป็นเพียงนึกว่าตนเป็นคนกตัญญูความจริงกับความนึกเอาแตกต่างกันมาก ผลที่จะได้รับจึงแตกต่างกันมมากด้วย

 

    ผู้มีกตัญญูกตเวทีนั้น จะรู้จักบุญคุณของผู้มีบุญคุณทั้งหมด จะตอบสนองทุกคนเต็มสติปัญญาความสามารถควรแก่ผู้รับ และนี่เองที่จะเป็นเหตุให้คิดดี พูดดี ทำดี เพราะเกรงว่าการคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี จะมีส่วนทำให้ผู้มีบุญคุณเดือดร้อน

 

    เช่นบิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณ ลูกกตัญญูจะประพฤติตัวเป็นคนดี จะไม่เป็นคนเลวเพลงะเกรงว่ามารดาบิดาจะเสื่อมเสีย นี่เท่ากับคุ้มครองตนเองได้แล้วด้วยความกตัญญูกตเวที

 

คนดีคนเดียว ให้ความร่มเย็นเป็นสุขได้กว้างไกล

 

พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณใหญ่ยิ่งที่สุด ทรงมีพระคุณต่อโลกต่อศาสนิกของโลก

 

    พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ทำให้พุทธศาสนิกเป็นคนดีมีธรรมะนั้น มิได้เป็นคุณเฉพาะพุทธศาสนิกเท่านั้น แต่เป็นคุณไปทั่วถึง

 

    คนดีคนเดียวให้ความร่มเย็นเป็นสุขได้กว้างไกล เชนเดียวกับคนไม่ดีคนเดียว ให้ความทุกข์ความเดือดร้อนได้มากมาย

 

    พระ พุทธศาสนาสร้างพุทธศาสนิกชนที่ดี ก็เท่ากับพระพุทธศาสนาสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่โลกด้วยเหมือนกัน พึงมีกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า คิดดี พุดดี ทำดี ให้เป็นไปดังที่ทรงแสดงสอนไว้ จะหนีกรรมเก่าได้ทัน และจะสร้างชีวิตในชาติใหม่ภายหน้า ให้วิจิตรงดงามเพียงใดก็ได้

 

ชีวิตที่สวัสดีมีสุขสงบได้

 

พระ พุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักรักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจ ออกรับ มิฉะนั้นก็จะรับไม่ได้

 

   การ เปิดใจรับพระพุทธบารมีไว้คุ้มครองรักษาตนไม่ยากลำบากไม่เหมือนการเข็นหิน ก้อนใหญ่ที่ปิดปากถ้ำ เพียงน้อมใจนึกถึงพระพุทธเจ้าให้จริงจังอยู่เสมอ ก็จะรับพระพุทธบารมีได้ จะมีชีวิตที่สวัสดีมีสุขสงบได้

 

   พระ พุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อมพระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านได้เล่าไว้ว่า เมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพรุพุทธบารมีเสมอ และท่านพระอาจารย์องค์นั้น ต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดมุ่งหมายปลายทางแล้ว

 

ความผูกโกรธ ดั่งไฟสุมขอน

 

   ไฟ สุมขอนมีความร้อนกรุ่นอยู่ตลอดเวลาเป็นเช่นไร ความผูกโกรธไว้ก็เป็นเช่นนั้น เผารุมร้อนกรุ่นอยู่เช่นนั้น แตกต่างกันเพียงที่ไฟสุมขอนร้อนอยู่ที่ขอนไม้ แต่ความผูกโกรธร้อนอยู่ในหัวอก

 

โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

 

ชื่อหนังสือ ธรรมเพื่อความสวัสดี  พิมพ์ครั้งแรก ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘  พิมพ์โดย ธรรมสภา

 

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

 

๑.หัวใจของพระพุทธศาสนา

 

    หัวใจพระพุทธศาสนาคือ อะไร ว่ากันไปหลายอย่างถูกทั้งนั้นอันไหนก็ได้

 

หลักที่เราถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา  ก็คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์"แปลให้เต็มเลยว่า "การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"

 

    บางท่านบอกว่า  "อริยสัจสี่เป็น หัวใจของพระพุทธศาสนาเพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจ สี่ ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ เป็นสัมมาสัมพุทธะ

 

ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ

 

แต่ต้องระวัง  อันไหนก็ได้  จะทำให้พระพุทธศาสนาง่อนแง่น  ชาวพุทธต้องมีหลักที่แน่ชัด  ให้ปฏิบัติเด็ดแน่วเป็นหนึ่งเดียว

 

    เราต้องชัดเจนว่า ที่อันไหนก็ได้นั้นทั้งหมดคืออันเดียวกัน  ทำไมจึงเป็นอันเดียวกัน  เพราะว่าการพูดถึงหลักคำสอนเหล่านี้นั้น  เป็นการพูดโดยจับแง่มุมต่างๆ กันของคำสอน  ซึ่งที่จริงทั้งหมดอยู่ในระบบเดียวกัน โยงถึงกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะจับจุดไหน ก็โยงถึงกันได้ทั้งนั้น ขอชี้แจงอย่างง่ายๆ

 

    ถ้าเราพูดว่าหัวใจพระพุทธศาสนาคือ "เว้นชั่ว  ทำดี  ทำใจให้ผ่องใสก็จะเห็นว่า  หัวใจที่ว่านี้เป็นหลักในเชิงปฏิบัติทั้งนั้น คือ เป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตว่า  เราจะไม่ทำชั่ว  ทำดี  และทำใจให้ผ่องใส

 

ทีนี้ลองหันไปดูอริยสัจสี่  ซึ่งมีทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค จะเห็นว่าข้อที่๔ คือ "มรรค" เป็นข้อปฏิบัติ ชาวพุทธจำกันแม่นว่า มรรคมีองค์ ๘ จำให้ง่ายก็สรุปเหลือ  ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

 

ฉะนั้น เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์นี้  ก็คือ  ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง "เว้นชั่ว" เป็นศีล "ทำดี" เป็นสมาธิ  "ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์" เป็นปัญญา

 

๒. แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

 

   ทีนี้ก็มาถึงตัว  แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา  ก็เอาที่พูดเป็น อริยสัจสี่ครอบคลุมหลักการของพระพุทธศาสนาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น

 

-          หลัก "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์"

 

-          หลัก "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

 

-          หลัก "เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์"

 

-          หลัก "อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท กับนิพพาน"

 

ขอย้ำว่า "อริยสัจสี่" คือหลักที่โยงความจริงในธรรมชาติ มาสู่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์เพราะลำพังกฎธรรมชาติเอง มันมีอยู่ตามธรรมดา ถ้าเราไม่รู้วิธีปฏิบัติ ไม่รู้จุดที่จะเริ่มต้น ไม่รู้ลำดับ เราก็สับสน

 

เพราะฉะนั้น การรู้ความจริงของธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อเรารู้แล้ว  เราก็จะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องเหมือนกับในทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุ  ที่ค้นพบความจริงคือกฎธรรมชาติบางอย่างหรือบางส่วน  เมื่อค้นพบแล้วก็นำเอากฎธรรมชาติส่วนนั้นมาใช้ทำอะไรต่างๆได้  เช่น การสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ตั่งแต่เรือกล รถยนต์ รถไฟ เรือบิน ตลอดจนคอมพิวเตอร์ได้  ก็มาจากการรู้ความจริงของกฎธรรมชาติทั้งนั้น  เมื่อรู้แล้วก็จัดการมันได้  เอามันมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้าไม้รู้ ก็ตัน ติดขัด มีแต่เกิดปัญหา

 

เรื่องนี้ทำนองเดียวกับวิทยาศาสตร์  แต่วิทยาศาสตร์เอาแค่ความจริงของโลกวัตถุ ส่วนพระพุทธศาสนามองความจริงของโลกและชีวิตทั้งหมด

 

๓.แก่นธรรมเพื่อชีวิต

 

   การดำเนินชีวิตทั้งสามด้านเป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันในการศึกษา

 

   เมื่อรู้ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายและธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ก็เอาความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้นมาใช้ประโยชน์

 

   สาระของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้  คือการนำเอาความรู้ในธรรมชาติและกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์  สนอง จุดหมายที่เราต้องการ คือการพัฒนามนุษย์ เพราะได้บอกแล้วว่า มนุษย์พัฒนาได้ จนสามารถเป็นอยู่โดยไม่ต้องพึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน

 

   มีหลักการอยู่ว่า องค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านแห่งกระบวนการดำเนินชีวิตมนุษย์  ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  แม้ ว่าจุดยอดจะอยู่ที่การพัฒนาปัญญาก็จริง แต่ปัญญานั้นจะเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ต้องอาศัยจิตใจ พร้อมด้วยพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการใช้อินทรีย์สัมพันธ์

 

   ส่วนการพัฒนาปัญญา  เรียกชื่อเต็มว่า "อธิปัญญาสิกขา" แต่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า ง่ายๆว่า "ปัญญา"คือกระบวนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ

 

   เป็นอันว่า การพัฒนามนุษย์ก็อยู่ที่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดนนี้ ซึ่งดำเนินไปด้วยกันเป็นระบบแห่งบูรณาการ

 

   การฝึกฝนพัฒนามนุษย์ เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ต่างๆ นี้ศัพท์บาลีเรียกว่า "สิกขา" ฉะนั้นการฝึก ๓ ด้านที่พูดมาแล้วจึงเป็นสิกขา ๓ ด้าน คำว่า ๓นั้นภาษาบาลีคือ "ติ" ถ้าเป็นสันสกฤตก็คือ "ไตร" ฉะนั้นจึงเป็น ไตรสิกขา

 

ชื่อผู้แต่ง พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต)

 

ชื่อหนังสือ แก่นแท้ขององค์พระพุทธศาสนา

 

พิมพ์ครั้งที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔ พิมพ์โดย บริษัท ธรรมสาร จำกัด

 

ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ

 

ระเบียบในชีวิตประจำวัน

 

ระเบียบปฏิบัติการจัดที่บูชาพระประจำบ้านเรือน

 

ที่บูชาพระรัตนตรัยพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย   นิยมจัดที่บูชาพระรัตนตรัยไว้ประบ้านเรือนของตนสำหรับเป็นที่สักการบูชา   เพื่อความสิริมงคลแก่บ้านเรือนด้วยและเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของบุคคลทั้งหลายในครอบครัวด้วย   ที่บูชาพระรัตนตรัย  ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ  ๔  อย่าง คือ พระพุทธรูป  ๑  องค์  (เป็นอย่างน้อย) , กระถางธูป ๑ ลุก , เชิงเทียน ๑ คู่ , แจกัน ๑ คู่

 

ระเบียบปฏิบัติการทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์

 

วิธีปฏิบัติในการใส่บาตรพระสงฆ์

 

A เมื่อภัตตากระถางธูป ๑ ลุกหารออกจากบ้านไปรอคอยใส่บาตรอยู่นั้นนิยมตั้งใจว่าจะทำบุญใส่บาตรแก่พระสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนา  โดยไม่เฉพาะเจาะจงแก่พระภิกษุสามเณรรูปใด  รูปหนึ่ง  เมื่อพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดผ่านมา ณ ที่นั้นก็ตั้งใจใส่บาตรแก่พระภิกษุสงฆ์

 

Aการ ตั้งใจใส่บาตรแบบไม่เป็นการเจาะจงอย่างนี้มีผลานิสงส์มากกกว่าการตั้งใจใส่ บาตรโดยเจาะจงแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ

 

ระเบียบปฏิบัติการรักษามารยาทในสังคม

 

ระเบียบปฏิบัติการไหว้

 

·       วิธีการไหว้พระรัตนตรัย    การไหว้พระรัตนตรัย  คือ  การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปูชนียวัตถุปูชนียสถานที่นับถือเนื่องกับพระรัตนตรัย  เช่น ต้นโพธิ์  พระเจดีย์ เป็นต้น ในขณะที่ผู้นั้นนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ นิยมแสงความเคารพด้วยการยกมือไหว้  มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้

 

Aยก มือที่ประณมขึ้น พร้อมกับการก้มศีรษะลงเล็กน้อยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสออยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผากทำเพียงครั้งเดียว แต่ลดมือลงตามเดิม เป็นเสร็จพิธีไหว้

 

ระเบียบปฏิบัติการไปหาพระสงฆ์ที่วัด

 

·       วิธีปฏิบัติขณะที่สนทนากับพระสงฆ์

 

Aนิยมประนมมือพูดกับท่าน ทุกครั้งที่กราบเรียนและรับคำพูดของท่าน

 

Aไม่นิยมพูดล้อเล่น พูดคำหยาบ และแสดงการตีตนเสมอท่านคล้ายเพื่อนเล่น

 

Aสตรีเพศ  ไม่นิยมอยู่กับท่านสองต่อสองทั้งภายในและภายนอกห้อง

 

Aเมื่อเสร็จธุรกิจแล้ว ให้รีบลากลับท่าน และนิยมกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วเดินเข่าออกไป

 

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม

 

ระเบียบปฏิบัติการประเคนพระสงฆ์

 

·       วิธีการประเคนพระ

 

Aถ้าผู้ประเคนเป็นชาย นิยมยกส่งให้ถึงมือพระภิกษุผู้รับประเคน ถ้าผู้ประเคนเป็นหญิง นิยมวางถวายบนผ้าที่พระภิกษุทอดรับประเคนนั้น    แต่ถ้าพระภิกษุนั่งอยู่กับพื้น ผู้ประเคนนิยมนั่งคุกเข่าประเคนสิ่งของ  แต่ถ้าพระภิกษุนั่งเก้าอี้ ผู้ประเคนนิยมยืนประเคนสิ่งของ

 

Aเมื่อประเคนภัตตาหารคาวหวานครบทุกอย่างแล้วนิยมทำความเคารพพระภิกษุสงฆ์

 

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ

 

การไปงานเผาศพ

 

·       บุคคล ผู้จะไปงานเผาศพนั้น จะเป็นงานพระราชทานเพลิงศพก็ตาม งานฌาปนกิจศพก็ตาม นิยมแต่งกายไว้ทุกข์แก่ท่านผู่ล่วงลับไปแล้ว ตามความนิยมของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ

 

Aผู้ จะไปงานศพนั้น นิยมเตรียมเครื่องขอขมาศพ คือ ธูปไม้ระกำ เทียน และ ดอกไม้จันทน์ด้วย (ถ้ามี) แต่ในชนบทบางท้องถิ่น ก็นิยมเตรียมเชื้อเพลิง เช่น ขี้ไต้ ไม้ฟื้น เป็นต้น นำไปร่วมช่วยในการเผาศพนั้นด้วย

 

สิ่งที่ประทับใจ

 

   หนังสือระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ  เป็น หนังสือที่กล่าวถึงการปฏิบัติของพวกเราชาวพุทธที่ควรรู้ในแต่ละเรื่องว่า ต้องมีการปฏิบัติอย่างไรบ้างในแต่ละเรื่องของศาสนาพุทธ ได้แก่  ระเบียบปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  ระเบียบปฏิบัติการรักษามารยาทในสังคม  ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม  และระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ ได้ทราบถึงรายละเอียดและขั้นตอนต่างๆใน ระเบียบการปฏิบัติของชาวพุทธว่าต้องทำอะไรบ้างอย่างถูกต้องมากขึ้นนั้นเอง

 

                                                              

 

                                                              

 

                                                                ชื่อผู้แต่ง  พระธรรมวโรดม (บุญมา  คุณสมปนโน ป.ธ.๙)

 

ชื่อหนังสือ  ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ

 

จัดพิมพ์ครั้งที่ ๑๗๕  พ.ศ. ๒๕๓๘  พิมพ์ที่  โรงพิมพ์การศาสนา

 

"กระแสธรรม กระแสไท"

 

โลกบัดนี้ มีอารยธรรมจริงหรือไม่?

 

เวลานี้ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า สังคมกำลังต้องการความร่วมมือกันในการที่จะแก้ปัญหา และในการสร้างสรรค์ต่าง ๆ

 

   มีเสียงพูดบ่นกันมากเหลือเกิน  แค่ อ่านหนังสือพิมพ์แต่ละวันๆ ก็ชัดว่า เวลานี้คนทั่วไปเห็นกันว่า สังคมของเรามีความเสื่อมโทรมหรือตกต่ำเป็นอย่างมากมองกว้างออกไปทั่วโลก สถานการณ์ก็ไม่น่าไว้วางใจ ไม่รู้ว่าจะเกิดสงครามใหญ่ กลายเป็นความขัดแย้งที่ทำให้เกิดความสูญเสียมากมายขึ้นเมื่อใด

 

   เรื่อง นี้เป็นปัญหาร่วมมือกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกคน ทั้งเป็นเรื่องที่มีผลระยะยาวกระทบต่ออารยธรรมของมนุษย์ ในแง่หนึ่งก็เหมือนกับเป็นเครื่องตรวจสอบไปด้วยว่า อารยธรรมของเราที่สร้างกันขึ้นมานี้ นำมาซึ่งสันติสุขแท้จริงหรือเปล่า หรือแม้กระทั่งว่า เป็นอารยธรรมจริงหรือไม่

 

   อาจจะต้องถึงกับไปตรวจสอบความหมายของคำว่า "อารยธรรม" กันอีกว่า อารยธรรมที่แท้นั้นคืออะไร เพราะว่าแม้แต่คำไทยกับคำภาษาอังกฤษ ก็มีความหมายไม่ตรงกันแล้ว

 

   "อารยธรรม" แปลว่า ธรรมของอารยชน คือ คุณสมบัติของผู้เจริญ ถ้าพูดให้ตรงตามศัพท์ทางพระพุทธศาสนาแท้ๆ อารยะ ก็คืออริยะ ซึ่งแปลว่าผู้ไกลจากกิเลส เพราะฉะนั้น อารยธรรม ก็คือ ธรรมของผู้ไกลจากกิเลส

 

   แต่ เมื่อมองดูอารยธรรมปัจจุบันนี้ ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอารยธรรมนั้นเป็นคุณสมบัติ เป็นกิจกรรม และเป็นผลงานด้านต่างๆ ของผู้ที่ไกลจากกิเลสหรือไม่ หรือจะเอาตามความหมายของฝรั่ง ก็อาจจะมองอารยธรรมแค่เป็นเรื่องของคนเมือง ถ้ามุ่งหมายเพียงแค่นั้น ก็แล้วไป

 

   แต่ว่าโดยรวม เราคงไม่ดูเพียงความหมายตามตัวอักษร

 

   เมื่อ ว่าตามความหมายโดยสาระโดยอรรถ แน่นอนว่า การที่มนุษย์สร้างสรรค์ความเจริญที่เรียกว่าอารยธรรมขึ้นมาก็เพื่อความอยู่ ดีมีสุขของมนุษย์ทั้งหลาย แต่สภาพที่มนุษย์อยู่กันอย่างที่เป็นอยู่นี้ เป้นความอยู่ดีมีสุขหรือยัง เราพูดถึงคำต่างๆ เช่น สันติภาพ และสันติสุข เป็นต้น แต่แล้วเราก็บอกว่าจนถึงเวลานี้มนุษย์ก็ไปไม่ถึงสักที พบแต่ปัญหากันอยู่เรื่อย เท่ากับบอกว่า อารยธรรมนั้น ยังไม่บรรลุผลสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น

 

สังคมไทย มีส่วนร่วมสร้างอารยธรรมหรือไม่?

 

ว่า ถึงสังคมในวงแคบเข้ามา คือสังคมไทยของเรา ซึ่งในฐานะที่เป็นส่วนร่วมอยู่ในโลกนี้ ควรจะได้ทำหน้าที่ของตนในการสร้างสรรค์อารยธรรม ในความหมายที่แท้จริง เพื่อให้มนุษย์อยู่ดีมีสุข ก็ต้องถามว่าสังคมไทยของเรานี้ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อย่างนั้นหรือ เปล่า

 

   ถ้า ไม่ได้มีส่วนร่วม ก็กลายเป็นว่า เราอาจจะเป็นเพียงผู้คอยรับผลของอารยธรรม ถ้าเพียงคอยรับผล ก็คือไม่ได้ทำอะไรยิ่งถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็อาจจะไม่ถึงขั้นที่ว่า ถ้ากระแสไม่ดีเราก็เลยไปพลอยร่วมทำลายอารยธรรมกับเขาด้วย

 

   ความ จริง สังคมแต่ละสังคม และแม้บุคคลแต่ละคน ควรจะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อารยธรรม เราคงจะต้องถามว่า สังคมของเราได้ทำหน้าที่นี้บ้างหรือเปล่า

 

   โดน เฉพาะการที่จะทำหน้าที่ได้ก็แน่นอนว่า ปัจจัยพื้นฐานก็อยู่ที่การศึกษานั่นเอง อย่างที่เราบอกว่าการศึกษานั้นสร้างคน สร้างมนุษย์ ให้มีคุณภาพ ทำให้เป็นคนซึ่งพร้อมที่จะมาร่วมกันสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ดีมีสันติสุข อย่างน้อยก็ให้ชีวิตของตัวเองเป็นชีวิตที่ดีงามมีความสุข

 

   การศึกษาที่มีหน้าที่อย่างนี้ นับว่าเป็นการมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ เพราะเมื่อการศึกษาสร้างคนแล้ว คนนั้นจึงไปทำการสร้างสิ่งอื่นๆ

 

ในการสร้างอารยธรรม การศึกษาสำคัญอย่างไร?

 

เรื่อง การสร้างนั้นสำคัญมาก อย่างสถาปนิกออกแบบอาคาร กุฏิ วิหาร ตลอดจนสะพาน แล้ววิศวกรก็มาคำนวณเป็นต้น ถ้าสถาปนิกก็ดี วิศวกรก็ดี ไม่มีความรู้จริง หรือมีเจตนาไม่สุจริต หรือทำตามหน้าทาไม่ดี ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ขาดความรอบคอบ เป็นต้น เมื่อสร้างไปแล้วสะพานนั้นอาจจะหักหรืออาคาร บ้านเรือน อาจจะพังทลาย แล้วก็เป็นภัยอันตรายเรื่องอย่างนี้เป็นสิ่งที่มองเห็นกันอยู่

 

   การ ก่อสร้างวัตถุนั้นเห็นง่าย แต่การสร้างในทางนามธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของการศึกษานี้ มองไม่ค่อยเห็น ทั้งที่แท้จริงนั้นมองเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก

 

   ถ้า เรามองว่า การสร้างวัตถุอย่างอาคารบ้านเรือนนี้ยังเป็นเรื่อง ซึ่งต้องมีความระมัดระวังรอบคอบ มิฉะนั้นจะเกิดภัยอันตรายมากมายมหาศาล ทีนี้เมื่อเป็นคนสร้างคน หรือสร้างมนุษย์ ก็ยิ่งสำคัญขึ้นไปอีกมากมาย

 

   เพราะ ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาจึงมีภารกิจอันสำคัญอย่างยิ่ง เป็นผู้ซึ่งกำลังทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ เราจึงพูดแสดงความสำคัญกันต่างๆ เช่นว่า สร้างอนาคตของเด็กและเยาวชน หรือสร้างคน ซึ่งก็คือสร้างทั้งสังคม สร้างทั้งชาติ ตลอดจนสร้างทั้งโลก แล้วก็สร้างอารยธรรม

 

   เมื่อการศึกษามีความสำคัญอย่างนี้ เราก็ต้องมาวางมาตรฐานของสังคมด้วยการศึกษา คือมาสร้างคนและสร้างสังคมกันด้วยการศึกษาให้ดีที่สุด

 

ชื่อผู้แต่ง พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

 

ชื่อหนังสือ กระแสธรรมกระแสไทย

 

พิมพ์ครั้งแรก เมษายน ๒๕๔๖   พิมพ์โดย บริษัท สหธรรมิก จำกัด

 

No comments: