Sunday, December 14, 2008

พุทธศาสนาและปัญญาตะวันตก

พุทธศาสนาและปัญญาตะวันตก

 

 

 

ผู้แต่ง  พระราชสุทธิญาณมงคล

 

สำนักพิมพ์  หจก.วิริยะพัฒนาโรงพิมพ์  กรุงเทพฯ

 

 

 

สาระสำคัญ

 

 

 

พุทธศาสนาและกฎแห่งกรรม  หลวงพ่ออธิบายว่ากฎแห่งกรรมเป็นกฎธรรมชาติไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมาเกิดขึ้นจากการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ  ที่เป็น  "เหตุและ  "ผลซึ่งกันและกัน  มีลักษณะเช่นเดียวกับกฎธรรมชาติอื่น ๆ  เช่น  กฎของความเปลี่ยนแปลงและกฎเกี่ยวกับแรงแห่งความโน้มถ่วง  พุทธศาสนาเห็นความสำคัญของกฎแห่งกรรมเพราะต้องการให้คนทุกคนมีความสุขทั้งในชาตินี้และชาติต่อไป  เพราะเชื่อว่าความสุขหรือความทุกข์เป็นผลมาจากการกระทำของคนเราแต่ละคนเองทั้งนั้น  ไม่ได้เป็นรางวัลหรือการลงโทษของสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด  คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ชาวพุทธเป็นคนขาดความกระตือรือร้น  หรือความพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ด้วยตนเองในเรื่องของจริยธรรมนั้น  กฎ แห่งกรรมเป็นหลักจริยธรรมที่เน้นความรับผิดชอบที่คนแต่ละคนมีต่อชีวิตของตน โดยอธิบายว่าการกระทำทุกอย่างมีผลกระทบต่อผู้ทำทั้งในระยะสั้น  และ ระยะยาวนานมากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของการกระทำดังนั้นผู้ที่ต้องการมีบุญ กุศลจึงควรระมัดระวังทำแต่สิ่งที่ดีงามทุกครั้งการมองดูชีวิตในแง่ของกฎแห่ง กรรมที่ว่าชีวิตปัจจุบันเป็นผลจากการกระทำ(กรรม)ของเราในอดีต  ปัจจุบันและอนาคต  อดีตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้วดังนั้นเราจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขอดีตได้  ในทางตรงข้ามอนาคตเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น  ดังนั้นจึงเปิดกว้างไม่มีขอบเขตอนาคตจะมีลักษณะเช่นใดหรือมีขอบเขต  จำกัดเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการกระทำของเราในปัจจุบันเป็นสำคัญในเรื่อง  ความ สัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างอดีตและปัจจุบันนั้นหลวงพ่ออธิบายว่าเมื่อพิจารณา ตามหลักเหตุผลของกฎแห่งกรรมแล้วอดีตย่อมมีอำนาจเหนือปัจจุบันชีวิตปัจจุบัน เป็นผลของการกระทำของเราในอดีต  แต่เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์แล้วจะมองเห็นว่าอดีตไม่ได้เชื่อมโยงปัจจุบันเข้าด้วยกันทั้งหมด  และชีวิตปัจจุบัน  ของคนแต่ละคนมี  "ช่องว่างจากอดีตอยู่ด้วยเราอาจเรียกช่องว่างนี้ว่าเป็น  "เสรีภาพที่ทำให้เรามีโอกาสรังสรรค์ปั้นแต่งชีวิตของเราในอนาคตให้ผิดแปลกจากชีวิตในอดีตได้  ถ้าหากช่องว่างดังกล่าวไม่มีอยู่  เราก็หลีกหนีอดีตไม่ได้เลย  คนที่เคยเป็นคนเลวก็จะเป็นคนเลวตลอดไปด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาจึงเน้นความสำคัญของเสรีภาพนี้มากเป็นพิเศษ  คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมไม่ต้องการให้เราไปเศร้าโศกเสียใจหรือดีใจกับอดีต  (กรรม)  ที่ผ่านมาแล้วและไม่ต้องการให้เราหมกหมุ่นอยู่กับการเพ้อฝันถึงอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น  ศาสนาพุทธต้องการให้เรามีความกระตือรือร้นในการมีชีวิตอยู่  และ ให้สนใจแต่ปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวที่เรามีอยู่และต้องการให้เราทำ ชีวิตปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อจะได้เป็นปัจจัยสำหรับอนาคตที่ดี

 

การตัดกรรม  การแก้กรรม  โดยทั่วไปแล้ไม่มีใครหลีกหนีกฎแห่งกรรมได้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็หลีกหนีวิบากกรรมทั้งหมดไปไม่ได้  บุคคล เหล่านี้สามารถหลีกหนีพ้นวิบากกรรมหรือกฎแห่งกรรมได้โดยสิ้นเชิงก็ต่อเมื่อ สังขารดับลงแล้วเท่านั้นและไม่ต้องมาเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป  แต่สำหรับคนทั่วไปที่ยังมีกิเลสตัณหาต่าง ๆ  (โดยเฉพาะโลภ โกรธ หลง) อยู่เมื่อตายไปแล้วจะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไป  ดังนั้นจึงหลีกหนีกฎแห่งกรรมไม่ได้

 

ในเรื่องของการตัดกรรมหรือการแก้กรรมในชีวิตปัจจุบันนั้น  หลวงพ่อมีความเห็นว่า  "การตัดกรรมหรือ  "การแก้กรรมนั้น  เป็นวิธีการพูดอย่างหนึ่งที่จะให้เรามีกำลังใจทำความดี  เลิกทำบาปทั้งหลายต่อไป  แต่ตามความเป็นจริงแล้วอดีตเป็นสิ่งที่เกิดและสิ้นสุดลงแล้  ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้  สำหรับผลกรรมไม่ดีในอดีตนั้นเราก็คงจะหลีกหนีไม่ได้เด็ดขาดเช่นกัน  แม้แต่พระพุทธเจ้าเองในขณะที่ทรงมีชีวิตอยู่ก็ทรงต้องรับิบากกรรมที่ทรงทำไว้ในอดีต  สิ่งที่เราควรจะทำในปัจจุบันก็คือเร่งทำความดีให้มากขึ้นเรื่อย ๆ  เพื่อกรรมดีนั้นจะได้ช่วยบรรเทาวิบากกรรมที่ติดตามมาให้มีความรุนแรงน้อยลงไปจนเหลือแต่เพียงสสิ่งที่เรียกว่า  "เศษกรรมเท่านั้น

 

ศีลห้า  สังคมปัจจุบัน  ในคำสอนของพระพุทธศาสนา  ประโยชน์ของการรักษาศีลห้า  มีมากมายทั้งที่เกิดแก่ผู้รักษาศีลเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประโยชน์บางอย่างเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นชัดแจ้ง  และคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์  อาจจะถือว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องเหลวไหลได้  ดังนั้นหลวงพ่อจึงจะไม่พูดถึงแต่ก็หวังว่าผู้รักษาศีลสม่ำเสมอจะมองเห็นผลดังกล่าวเองสำหรับประโยชน์ที่คนทั่วไปมองเห็นได้ง่าย ๆ  ก็คือถ้าหากคนทุกคนรักษาศีลห้าได้แล้ว  สังคมก็จะมีความสงบสุขมากขึ้นเช่นไม่มีการลักขโมย  การข่มขืนและการหลอกลวง  ปัญหาต่าง ๆ  ของสังคมเวลาปฏิบัติของศีลห้านั้นมีอยู่แน่นอน  พุทธศาสนาเน้นการปฏิบัติมากกว่าอย่างอื่น  ธรรมทุกหมวดหมู่ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้  ไม่ได้เป็นเพียงอุดมคติเท่านั้นแต่ส่วนจะปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสติปัญญาความสามารถและความพร้อมของคนแต่ละคน

 

ในการรักษาศีลนั้นเราต้องเข้าใจเจตนารมณ์ของศีลแต่ละข้อให้ดี  มิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจ (ผิด)  ได้ว่าศีลทุกข้อมีข้อบกพร่องไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่  ที่จริงแล้วศีลห้าแต่ละข้อมีความละเอียดมากยกตัวอย่างเช่นศีลข้อสอง  ที่ห้ามลักทรัพย์ผู้อื่นนั้นมีความประสงค์ที่จะไม่ให้เราได้ทรัพย์สินต่าง ๆ  มาโดยไม่ถูกครรลองคลองธรรม  ศีลข้อนี้มีแง่คิดที่ลึกซึ้ง  เพราะ  "ทรัพย์มีหลายประเภททั้งที่เป็นวัตถุสิ่งของและไม่ตัวตนให้เห็นเช่นเวลาและความคิด  ส่วน "การลักทรัพย์นั้นก็มีหลายวิธีที่มองเห็นได้ง่ายและวิธีแอบแฝง  พ่อ ค้าที่โกงลูกค้าหรือกักตุนสินค้าไว้ทำให้เกิดการขาดแคลนขึ้นเพื่อจะได้ขาย สินค้าในราคาสูงกว่าปกติก็ถือว่าเป็นการลักทรัพย์อย่างหนึ่งเพราะเป็นการได้ ทรัพย์ที่ไม่ควรได้และเป็นเหตุให้คนอื่นที่ควรจะมีโอกาสในการมีทรัพย์นั้น ต้องพลาดโอกาสไป  ในบางครั้งก็ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากจากการที่พ่อค้ากักตุนสินค้าต่าง ๆ  ในทำนองเดียวกันข้าราชการหรือพนักงานบริษัทที่ใช้เวลาทำงานไม่เต็มที่แบบที่เรียกกันว่า  "ทำงานเช้าชามเย็นชามก็ถือว่าเป็นการละเมิดศีลข้อนี้เช่นกัน  เพราะการทำงานไม่เต็มที่ทำให้หน่วยงานเสียประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ไป  นายธนาคารหรือผู้จัดการกองทุนที่โกงลูกค้าและร่ำรวยได้ทรัพย์สินต่าง ๆ  มาจากความหายนะของคนอื่นหรือนายจ้างที่ขยักเงินค่าจ้างไว้ไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนงานตามที่ตกลงกันไว้ก็ทำผิดศีลข้อสองเช่นกัน  การลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่คนมักจะมองข้ามไป  ผู้ที่ลักทรัพย์ประเภทนี้เองก็มักจะไม่สำนึกผิด  บางคนกับชืนชมความฉลาดและสามารถของตนที่ทำตัวเป็นโจรแต่ไม่มีคนรู้และจับได้  คนประเภทเป็นอันตรายแก่ความเจริญก้าวหน้าของสังคมไทย  ถ้าหากสังคมไทยไม่โจรประเภทนี้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่เรากำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ก็คงจะร้ายแรงน้อยลง

 

No comments: