คัมภีร์ปลุกคนทำงาน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
* "นิด้า" แนะ 5 คุณสมบัติบุคลากรชั้นยอดเหมาะกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
* ชี้แบ่งกิจกรรมเป็นบันได 3 ขั้น ค่อยๆหลอมคนให้คิดเป็น ทำเยี่ยม
* "Siam Ocean World" ใช้หลัก "จิตดูจิต" ประยุกต์ใช้เครื่องมือจัดการสมัยใหม่
* "บุญชัย เบญจรงคกุล" เปิดใจหลังดีแทครีแบรนด์ฯ ลับคมด้วยสมาธิเผยนัยยะเปิดตัวด้วยการวิ่ง 10 กิโลเมตร
เนื่องในปีนี้เป็นเฉลิมฉลองมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้หลายองค์กรตื่นตัวกับกระแสเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกกระบวนการคิด การทำงาน ไม่เว้นวงการนักบริหารทรัพยากรบุคคล
ซึ่งในหลักใหญ่หลายท่านคงรับทราบแล้วและดำเนินการทำงานมาพอสมควร แต่การจะสร้างคนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงต้องสร้างแรงกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาและค่อยเป็นค่อยไป...
เสริมแรงกระตุ้นพฤติกรรมด้วยกิจกรรม
วิชัย อุตสาหจิต อาจารย์ ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ในการประกอบธุรกิจทั้งการบริหารองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ขณะนี้ ได้รับผลกระทบจากระบบทุนนิยมที่เน้นผลกำไรมากกว่าคำนึงถึงพนักงานภายในและ ผู้มีส่วนได้เสีย
จากสถานการณ์เหล่านี้ทำให้หลักเศรษฐกิจพอเพียงถูกนำมาปรับใช้กับการ บริหารทรัพยากรบุคคล แต่ในสถานการณ์จริงหลักการทำงานตามแนวทาง 3 ห่วง ประกอบด้วย ประมาณตน มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข คือ ความรู้ คุณธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกรอบการทำงานใหญ่ๆ ที่ HR ต้องทำความเข้าใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมคนทำงาน
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานมี 5 ประเด็นได้แก่
ปัจจัยที่หนึ่ง บุคลิกภาพ ที่ต้องรู้จักวางตนแสดงออกอย่างเหมาะสม มีความเกรงใจ ไม่สุดโต่ง ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ส่วนรวม ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานเข้าใจความแตกต่างเคารพในความคิดหลากหลาย ตลอดจนคิดทบทวนอย่างถี่ถ้วนก่อนแสดงออกทาง กาย วาจา
ปัจจัยที่ สอง พฤติกรรมการสื่อสารต้องเป็นไปอย่างพอดีไม่มากหรือไม่น้อยเกิน และให้ความสำคัญกับการสื่อสารโดยการพูดและการแสดงท่าทางอย่างเหมาะสม พร้อมกับวิเคราะห์ก่อนจะสื่อสารใดๆ ออกไป ขณะเดียวกันในบางสถานการณ์เคร่งเครียดจะต้องหลีกเลี่ยงสื่อสารโดยใช้อารมณ์
ปัจจัยที่ สาม การ ตัดสินใจต้องใช้หลักประสานความร่วมมือ ถนอมน้ำใจ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ขณะเดียวกันควรจะวางแผนเรื่องในอนาคตเพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ สี่ การ ทำงานเป็นทีม ควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเป้าหมายของทีม แสดงบทบาทของตนอย่างเหมาะสม พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มความสามรถ และประเมินความสามรถเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละคน วางแผน จัดสรร ติดตามอำนวยการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดความไว้ใจ
ปัจจัยที่ ห้า ภาวะผู้นำ ต้องมีความยุติธรรมในการดูแลลูกน้อง ปฏิบัติด้วยความเมตา ประสานความแตกต่างเพื่อทำให้ส่วนรวม และพัฒนาตนเองสม่ำเสมอให้เป็นต้นแบบในการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบใน องค์กร
โดยจะต้องนำมาประยุกต์ระหว่างพฤติกรรมศาสตร์และหลักธรรมของพุทธศาสนา ซึ่งต้องใช้การทำกิจกรรมพัฒนาทักษะของบุคลากรที่จะเป็นเครื่องมือสะท้อนให้ เห็นถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมอันจะสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอันประกอบ ด้วย
ระดับ เปลือก เป็นภาพสัมผัสได้ด้วยตาผ่านการจัดบอร์ดนิทรรศการหรือแจกแผ่นผับให้พนักงาน รับทราบถึงแนวทางการทำงานตามหลักเศรษฐกิขพอเพียง ตลอดจนจัดการประกวดบุคลากรที่ยึดหลักการทำงานตามหลักปรัชญาดังกล่าวได้อย่าง ยอดเยี่ยม
ระดับ เนื้อ ต้องเป็นกิจกรรมที่มีการพูดคุยอย่างชัดเจนโดยผ่านเวทีสัมมนาและประชุมย่อย เพื่อกำหนดคุณสมบัติอันพึงประสงค์ในการทำงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ระดับ แก่น คือ การแสดงพฤติกรรมอันดีที่เป็นแบบอย่างของผู้นำ ที่จะช่วยกระตุ้นให้ทุกคนมีความตื่นตัวเมื่อผู้นำระดับสูงเป็นต้นแบบตามแนว ทางที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่
ภูมิคุ้มกันอาวุธเด็ดอันซ้อนเร้นภายใน
ด้าน อาจหาญ นิมิตรหมื่นไวย ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท Siam Ocean World จำกัด (มหาชน) กล่าวแนะนำถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่เป็นอีกหัวใจหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงว่า สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างสติให้เกิดกับพนักงาน โดยแนวทาง "จิตดูจิต" ด้วยการนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่อง มือการจัดการของ HR อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแนวทางจัดการความรู้และพัฒนาพี่เลี้ยงให้เป็นต้นแบบ ของการทำงาน ซึ่งต้องมีการจัดการใน 4 ระยะดังนี้
ระยะแรก เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learn How To Learn) ที่ต้องเข้าสู่การเรียนรู้แบบองค์รวมมิใช่มองแบบแยกส่วนเหมือนเดิมเพราะขณะ นี้การสร้างให้บุคลากรมีการทำงานเป็นทีมในทุกระบบมีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่ง HR ต้องฝึกฝนบุคลากรด้วย เกมส์ ดูภาพยนตร์ ล้อมวงดูตัวอย่างการพัฒนาชุมชนในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงให้เข้ากับการพัฒนาตนเองและองค์กรผ่านสุนทรียสนทนา (Dialogue) ตลอดจนถอดรหัสการเรียนรู้ (After Action Review)
โดยเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพูดคุยเพื่อแบ่งปันความรู้ที่เป็นทุนทาง ใจ ทุนทางสังคม และทุนทางปัญญา ซึ่งจะเป็นการฝึกสติในการฟังผู้อื่น ตลอดจนเหลียวแลดูจิตของตนเองว่ามีความคิดปรุงแต่งไปในทางดีหรือไม่ดี
ในขั้นต่อไปจะเกิดการคิดที่เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้พูดคุยกัน มาบ่มเพาะด้วยจิตเป็นกลาง อาจใช้เครื่องมือเช่น Mind Map หรือเครื่องมือสถิติอื่นมาช่วย ให้เกิดการป้องกันที่จะนำอารมณ์ของคนประเมินเข้าไปใช้ตัดสิน
และต่อมาจะเกิดกระบวนการทฤษฎี ที่ตกผลึกจากความคิดเห็น ความเชื่อส่วนตัวที่ยังไม่ได้นำมาพิสูจน์หรือทดสอบเป็นพลังในการผลักดันให้ บุคลากรมุ่งมั่นปฏิบัติสิ่งที่ตนคิดขึ้น ซึ่งการทำงานจะเป็นวัฏจักรเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่ยั่งยืน
ระยะสอง ต้องนำบุคลากรออกไปดูและอยู่ร่วมกับชุมชนเรียนรู้ภายนอกองค์กร หลังจากเรียนรู้เสร็จในระยะที่ 1 ซึ่งอาจมีบางคนยังยึดติดกับการเรียนรู้แบบเดิมๆ จึงจำเป็นต้องลงไปละลายพฤติกรรมในสถานที่จริง
ระยะสาม ค่ายพัฒนาอีคิว เมื่อบุคลากรผ่านการลงพื้นที่สิ่งได้มาพฤติกรรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งดีและไม่ดี จึงต้องเริ่มสอนเรื่อง "จิต สติ ความคิด" โดยจะเป็นสิ่งสำคัญสุดเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้บุคลากรมีสติในการทำงาน ซึ่งจะเข้าไปฝึกที่วัดปฏิบัติธรรมตามแนว "จิตดูจิต" และทำความเข้าใจกับขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เพื่อฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา
ระยะสี่ เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงจะเป็นเวทีเปิดโอกาสให้บุคลากรที่ผ่านการฝึกมา ทั้ง 3 ระยะ ได้มีโอกาสทดสอบความรู้ที่ได้มาว่าจะไปปฏิบัติจริงได้หรือไม่? ถ้านำไปใช้ได้จริงจะต้องเข้าสู่กระบวนการพัฒนาความรู้ โดย HR ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกระตุ้นบุคลากรภายในผ่านกิจกรรม เช่น มอบรางวัลให้บุคลากรที่คิดนวัตกรรมใหม่ขึ้น ขณะเดียวกันต้องให้กำลังใจสนับสนุนซึ่งกันและกัน
"การสร้างภูมิคุ้มกันกับคนทำงานต้องสร้างสติ รู้เท่าทันความเป็นจริงให้มีกำลังเพียงพอที่จะไม่ลื่นไหลไปตามกระแสแห่ง กิเลส และป้องกันปัญหาอันสลับซับซ้อนที่เกิดใหม่ในสังคมปัจจุบัน ตลอดจนกระตุ้นให้เปิดความคิด กล้าลงมือทำ และให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน" อาจหาญ ย้ำถึงปรัชญาแห่งความคิด
จัดการคนด้วยหลักธรรม
กับ "บุญชัย เบญจรงคกุล"
บ่อยครั้งที่หลักเศรษฐกิจพอเพียงนักบริหารอาจมองว่า เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับโลกทุนนิยม แต่แท้จริงทุกกระบวนการคิดต่อให้บริษัทของคุณขับเคลื่อนเร็วเพียงไร ท้ายสุดสูงสุดก็กลับคืนสู่สามัญ ซึ่งวันนี้ บุญชัย เบญจรงคกุล ประธาน กรรมการ บริษัท โทเทิล แอ็คเซส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ชี้ให้เห็นถึงนัยยะของการเปิดตัวหลัง"ดีแทค"รีแบรนด์ดิ้ง ครั้งล่าสุด โดยการนำผู้บริหารระดับสูงมาวิ่ง 10 กิโลเมตร เพื่อฝึกสมาธิเพราะการวิ่งคนจะมีสมาธิอยู่กับตนเองมากที่สุด ซึ่งเมื่อคุณจดจ่ออยู่กับการเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกต้องมีการประเมินตั้งแต่ การปล่อยตัวจนถึงเป้าหมาย
"ด้วยการทำธุรกิจของเราต้องใช้ความรวดเร็วและต้องสื่อสารกับลูกค้า หลากหลายทำให้ไม่มีเวลาจะอยู่กับตนเอง ซึ่งการรีแบรนด์ดิ้งใหม่เสมือนตอกย้ำความเป็นจริงของการบริหารจัดการบุคคล ที่วันนี้แม้เราจะโตแต่ต้องรู้จักความพอประมาณสร้างภูมิคุ้มกันในการตัดสิน ใจอย่างมีสติ"
บุญชัย เล่าถึงเส้นทางแห่งความสุขที่ร่วมสร้างมากับ "ดีแทค" อย่างอารมณ์ดีว่า 2 ปีที่แล้ววิสัยทัศน์ของบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องดีเอ็นเอของความดี พอถึงปีนี้จะเน้นถึงการมีน้ำใจโดยควบคู่กับหลักพอเพียงให้เกิดความสุขกับการ ทำงานทั้งพนักงานและผู้รับบริการ
ซึ่งในระยะแรกของการทำงานเขายอมรับว่า ต้องสร้างแรงจูงใจอย่างมากกับพนักงานเพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแค่แนวคิด หลักใหญ่ แต่สิ่งที่ตนทำกำลังเล่นกับการสร้างปัจเจกชนสมัยใหม่ให้มีความเชื่อเดียวกับ ผู้นำ โดยผู้บริหารต้องเป็นผู้นำและต้นแบบให้พนักงานเดินตามเพราะการบริหาร ทรัพยากรบุคคลขณะนี้ถ้ามัวแต่รอ HR สิ่งที่ได้มาจะเป็นเพียงระบบจัดการแต่ไม่ได้ใจคน
"หลักจากเราเปลี่ยนกระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่ามุ่งหวังจะให้ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งกิจกรรมการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ จะเป็นตัวขัดเกลาเขาเอง"
ฉะนั้น แม้เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นหลักคิดใหญ่ในการทำงานแต่นัยยะอันซ้อนเร้นยังรอให้นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ค้นหา....
ที่มา : www.manager.co.th
No comments:
Post a Comment