Wednesday, June 11, 2008

บทที่ 6 อภิชน ผู้ครองโลก พลังความคิดสร้างสรรค์ในยุคข้อมูลข่าวสาร (5) - คอลัมน์ อภิชน ผู้ครองโลก

บทที่ 6 อภิชน ผู้ครองโลก พลังความคิดสร้างสรรค์ในยุคข้อมูลข่าวสาร (5) - คอลัมน์ อภิชน ผู้ครองโลก

คอลัมน์ อภิชน ผู้ครองโลก

โดย รอฮีม ปรามาท rowhim@yahoo.com

" ศาสนาของข้าพเจ้า เรียบง่าย ไม่จำเป็นต้องมีอาราม ไม่จำเป็นต้องมีหลักปรัชญาสลับซับซ้อน สมองของเรา จิตใจของเรา นั่นคืออาราม หลักปรัชญามีเพียงความเมตตาปรานี" - องค์ทะไล ลามะ องค์ที่ 14 ผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณและการปกครอง ของทิเบต

"คนโง่ก่อตั้งลัทธิ ส่วนคนฉลาดครอบงำ บงการลัทธิ"

- โวลแตร์ นักปรัชญา นักประพันธ์ กวี ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส ในยุคแห่งการรู้แจ้ง

ยุคแห่งการฟื้นฟูศรัทธา

หลัง จากยุโรปอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบันที่ตั้งอยู่บนความเชื่อถือศรัทธามานาน หลายร้อยปี หลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ประเทืองปัญญาก็ได้เข้าแทนที่ ก่อให้เกิดพัฒนาการด้านต่างๆ มากมาย ทั้งด้านการเมืองการปกครอง วัฒนธรรม ศิลปวิทยาการ วิถีการดำเนินชีวิต มาถึงยุคปัจจุบัน พลังอำนาจของฝ่ายศาสนาประสานกับพลังอำนาจของสื่อยุคใหม่ กำลังทำให้ศาสนาพลิกฟื้นกลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในเวทีระดับโลก ส่งผลให้ผู้นำทางศาสนากลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกลุ่มอภิชนของโลกด้วยเช่น กัน

ในศตวรรษที่ 20 ภูมิปัญญากระแสหลัก และบทวิพากษ์วิจารณ์สังคมมากมาย ระบุว่า ความทันสมัย (modernization) ได้สร้างสังคมที่มุ่งเน้นไปในทางโลกียะที่เป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้น ช่วงต้นทศวรรษ 1900 แม็กซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "การคลายมนต์สะกดโลกจากสิ่งที่มองไม่เห็น (the disenchantment of the world)" ระบอบทุนนิยมเข้าแทนที่ความเชื่อถือศรัทธาในพระเจ้า ทำให้ผู้คนหันไปศรัทธาเงินตรา ความก้าวหน้า และการแพร่หลายของวิทยาศาสตร์ การอ่านออกเขียนได้ ทำให้ผู้คนเลิกพึ่งพาพระเจ้าในการอธิบายสิ่งที่ไม่รู้จักไม่เข้าใจ ช่วงกลางศตวรรษ ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ หลังจากประกาศจุดยืนว่า "สหรัฐอเมริกาในยุคนี้ ศาสนจักรแยกออกจากรัฐโดยสิ้นเชิง ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดที่ขอคำแนะนำหรือปฏิบัติตามแนวทางด้านนโยบาย สาธารณะของ พระสันตะปาปา สภาศาสนจักร หรือผู้สูงส่งทางศาสนาคนใด"

อย่าง ไรก็ตาม โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมเมือง การแพร่หลายของการศึกษาและระบอบประชาธิปไตย ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้ทำให้สังคมขับเคลื่อนไปทางโลกที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ผลลัพธ์อีกด้านหนึ่งเป็นการพลิกฟื้นความเชื่อถือศรัทธานามธรรมทางจิตวิญญาณ ให้กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในหลายพื้นที่ของโลก

มีเพียงไม่กี่ ศาสนาที่มีผู้เชื่อถือศรัทธาระดับโลก โดยขณะนี้คริสต์จักรครอบครองพื้นที่และอิทธิพลสูงที่สุดในโลก โดยมีคริสต์ศาสนิกชนจำนวน 2.1 พันล้านคน ตามมาด้วยศาสนาอิสลาม โดยมีชนมุสลิม 1.3 พันล้านคน ชาวฮินดู จำนวน 900 ล้านคน ผู้นับถือลัทธิศาสนาของจีนจำนวน 394 ล้านคน และนับถือศาสนาพุทธ 376 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีศาสนาอีกไม่ถึงสิบศาสนาที่มีผู้นับถือมากกว่า 10 ล้านคน ไม่ต้องสงสัยเลย ภายในแต่ละศาสนาหลักของโลก ก็ยังมีความขัดแย้งและแบ่งแยกกัน แต่ไม่รุนแรงเหมือนในประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา คาทอลิกกับโปรเตสแตนต์ ไม่ได้เข่นฆ่ากันเหมือนในอดีต แต่ความแตกต่างยังคงมีอยู่อย่างมหาศาล ทางด้านศาสนาอิสลาม ความขัดแย้งพื้นฐานอยู่ที่นิกายสุหนี่กับชีอะห์ ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่ย้อนหลังไปถึงยุคศตวรรษที่ 13 ว่าใครควรจะเป็น ผู้สืบทอดการนำของศาสดามูฮัมหมัด มาถึงปัจจุบัน ความขัดแย้งยิ่งลึกซึ้งและรุนแรง ปัจจุบันมุสลิมร้อยละ 85 นับถือนิกายสุหนี่ ร้อยละ 15 นับถือนิกายชีอะห์

การกลับมามีบทบาท สำคัญอีกครั้ง ของศาสนาในแวดวงการเมืองการปกครอง และเวทีระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาคริสต์และอิสลาม ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ บรรดานักวิเคราะห์สังคมควรระมัดระวัง และคำนึงถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างศาสนจักรกับโลกยุคใหม่ ในหลายแง่มุมการเติบโตของขบวนการ เชื่อถือศรัทธาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือ จากกระแสโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนช่วยอย่างมากต่อกลุ่มลัทธิศาสนา และเหล่าผู้นำในการเผยแพร่คำสั่งสอน ข้อความ กิจกรรมโน้มน้าวแสวงหาสมาชิก ผู้ศรัทธา และการสร้างเครือข่ายติดต่อสื่อสารภายในกลุ่ม โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ต ได้กลายเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการเผยแพร่ และชักชวนสมาชิกใหม่ จากอิสลามจนถึงมอร์มอน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สมาชิกของแต่ละศาสนาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การติดต่อสองทางที่เพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต ที่ให้ภายในกลุ่มสมาชิกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเกื้อหนุนให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ทางด้านเหล่าผู้นำ ทางศาสนาที่มีสถานะเป็นอภิชนในโลกยุคปัจจุบัน มีวิธีการสารพัดรูปแบบในการก้าวขึ้นสู่อำนาจ บ้างก็ใช้วิธีการตามแบบประเพณีนิยม โดยยึดมั่นในแนวทางอนุรักษนิยมแบบสุดโต่ง เพื่อแสดงสถานะของตนให้โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง และวางแผนการเลื่อนชั้นสถานะภายในโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ทรงอิทธิพลเบื้องบน และผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระดับเดียวกันและเบื้องล่าง อีกด้านหนึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาในยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งใช้ เครื่องมือและกลยุทธ์ที่ล้อผู้ประกอบการธุรกิจในยุคสมัยเดียวกัน ผู้นำกลุ่มนี้มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับเหล่าผู้นำทางการเมืองและธุรกิจ พวกท่านมีเครือข่าย ที่ปรึกษาที่ช่ำชองกลยุทธ์ สามารถสร้างฐานสนับสนุนในวงกว้าง ปรับตัวเข้ากับ สถานการณ์ทางการเมืองได้อย่างรวดเร็วท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงสามารถซุกซ่อน เป้าหมายและความทะเยอทะยาน ได้อย่างมิดชิด แต่ก็เล็งผลเลิศในทุก ขั้นตอนปฏิบัติ ตัวอย่างปรากฏให้เห็นมากมายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ทุก วันนี้ผู้นำทางศาสนาหลายท่านยังใช้สถานะความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และฐานกลุ่มผู้เชื่อถือศรัทธา เพื่อสถาปนาพลังอำนาจทางโลกียะ ทางการเมือง เอาชนะ คู่กรณีขัดแย้ง ใช้ความรุนแรงโดยอ้างคัมภีร์ หรือแอบแฝงหลักการทางศาสนา ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของโลก โดยไม่คำนึงว่าผู้คนฝั่งตรงข้าม หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง จะได้รับผลกระทบและความทุกข์ยากสักเพียงใด

เหล่าผู้นำทางศาสนา และลัทธิความเชื่อ ก็จัดเป็นอภิชนในโลกยุคใหม่ และมีบทบาทมากกว่าผู้นำทางศาสนาในยุคก่อนหน้า สามารถใช้อำนาจอิทธิพลผ่านทางผู้เชื่อถือศรัทธาใกล้ชิดทั้งที่อยู่ในแวดวง การเมืองและธุรกิจ หรืออาจวางแผนใช้อิทธิพลประสานข้ามฟาก จากภาคการเมือง ภาคธุรกิจ และภาคมวลชนที่ศรัทธา

แต่ก็ยังมีผู้นำทางศาสนาจำนวนมาก ที่อุทิศตัวให้กับสังคมโลกส่วนรวม โดยไม่ประสงค์พลังอำนาจหรือสถานะโดดเด่นใดๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และความก้าวหน้าในยุคโลกาภิวัตน์ มุ่งแก้ไขปัญหาพื้นฐานและตอบสนองต่อความต้องการจำเป็น ของสังคม

ปัจจุบัน มีผู้นำทางศาสนาโลกหลายท่านได้เข้าร่วมประชุมเศรษฐกิจโลกที่เมือง ดาวอส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการประชุมผู้นำทางเศรษฐกิจโลกไม่ได้คำนึงถึงแง่มุม ทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกเท่านั้น แต่ยังมีหลักคิดว่า ถ้าหากต้องการ เปลี่ยนแปลงสังคมโลกอย่างแท้จริง เหล่าผู้นำทางศาสนาของโลกเป็นกลุ่มอภิชนที่ไม่อาจมองข้าม

ยุคแห่ง การรู้แจ้งของโลก หลายคน บอกว่าพระเจ้าตายแล้ว มาในยุคศตวรรษ ที่ 21 เราได้เห็นการพลิกฟื้นของกระแสความศรัทธากลับคืนมาอีกครั้ง แต่การ หวนคืนกลับมาครั้งนี้เป็นผลมาจากความโกลาหล ความไม่มั่นใจในอนาคต หรือการผุกร่อนของอัตลักษณ์ความเป็นชาติ ยังเป็นเรื่องซึ่งต้องถกอภิปรายกัน ต่อไป แต่ข้อหนึ่งที่พอจะบอกได้ในขณะนี้ ก็คือ ในไม่ช้าอภิชนทางศาสนาจะต้องสร้างสิ่งใหม่ ที่มีอิทธิพลกว้างขวาง และสะท้อนถึงจุดอ่อน ข้อบกพร่อง ของผู้นำทางศาสนาในอดีต

Tuesday, June 3, 2008

สามสหายธรรมแห่งสวนโมกข์ (ตอน 3)

ธรรมะจากวัด

ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ วัดพุทธปัญญา แคลิฟอร์เนีย

สามสหายธรรมแห่งสวนโมกข์ (ตอน 3)

หาก จะให้สันนิษฐานว่า หลวงพ่อพระราชญาณกวีได้เรียนบาลีก่อนหรือหลังเดินทางไปธรรมจาริกกับพระ โลกนาถ ก็ขอสันนิษฐานว่า ท่านเรียนบาลีก่อน เพราะเมื่อหลวงพ่อปัญญานันทะกลับจากธรรมจาริกและไปเรียนบาลีที่วัดสามพระยา หลวงพ่อพระราชญาณกวีเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนทรายแก้ว ที่จังหวัดชุมพรแล้ว

ดัง ที่หลวงพ่อปัญญานันทะเล่าว่า สมัยที่ท่านเรียนภาษาบาลีอยู่ที่วัดสามพระยานั้น การบิณฑบาตยากเย็นแสนเข็ญ เดินบิณฑบาตไปไกลแค่ไหนก็ยังไม่ได้อาหารเลย บางวันได้เพียงข้าวสุกสามช้อน ไข่เค็มฟองเดียว หรือปลาทูตัวเดียว เวลาฉันก็ต้องแบ่งฉัน เช่น ถ้าได้ปลาทูมาตัวหนึ่ง ต้องฉันเช้าครึ่งตัว ฉันเพลครึ่งตัว

เมื่อ โรงเรียนบาลีปิดก่อนจะเข้าพรรษาก็คิดถึงพี่ท่านบุญชวน จึงไปเยี่ยมเยือนด้วยความคิดถึง ท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อท่านเดินทางไปถึงวัดดอนทรายแก้วที่หลวงพ่อบุญชวนเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น หลวงพ่อบุญชวนกำลังง่วนอยู่กับการมุงหลังคากุฏิ เห็นท่านนั่งอยู่บนหลังคากุฏิ หลวงพ่อปัญญานันทะทักทายท่านว่า ทำไมต้องขึ้นไปมุงหลังคาเองครับพี่ท่าน

หลวงพ่อบุญชวนก็ตอบว่า เดี๋ยวนี้ผมไม่ได้เป็นฝ่ายค้านแล้ว ก็ต้องทำทุกอย่างละครับ พูดจบก็หัวเราะกันลั่นตามประสาคนคิดถึงและรู้ใจกัน

ข้อความตรงนี้หมายความว่าอย่างไร

หลวง พ่อปัญญานันทะขยายความให้ฟังว่า ในวัดเปรียบเจ้าอาวาสเป็นรัฐบาล ลูกวัดก็เป็นฝ่ายค้าน เป็นลูกวัดไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก มีอะไรก็นั่งวิจารณ์เจ้าอาวาสได้ แต่เมื่อต้องมาเป็นเจ้าอาวาส เป็นผู้ปกครองหรือผู้บริหาร เมื่อพบว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในวัดหรือในองค์กรของตนเอง จะนั่งบ่นหรือวิจารณ์ต่อไปไม่ได้ จะต้องลงมือทำให้ลุล่วงไปด้วยดี

ตอนนี้หลวงพ่อบุญชวนท่านมาเป็นรัฐบาลบ้างแล้ว เมื่อเห็นหลังคารั่วก็ต้องซ่อมหลังคาเอง สมัยเป็นลูกวัดหรือฝ่ายค้านอาจจะไม่ต้องทำก็ได้

ท่าน ทั้งสองเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ เป็นนักคิดในทุกวัยโดยไม่ใช้เวลาให้เปล่าประโยชน์ จึงมีผลึกแห่งความรู้ความคิดดีๆ มากมาย แม้เวลาพูดหยอกล้อกันเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้สาระและข้อคิด ที่นำมาพิจารณาเห็นเป็นความจริงและนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้

หลวงพ่อปัญญานันทะเคยเล่าว่า เมื่อพบกันก็นั่งสนทนาจนดึกดื่น หลวงพ่อบุญชวนถามว่า ทำไมน้องท่านผอมนักละ เรียนหนักหรือย่างไร

หลวงพ่อปัญญานันทะตอบว่า เรียนนะไม่หนักเท่าไร แต่อดนะซิหนักหน่อย

หลวงพ่อบุญชวนบอกว่า ไม่เป็นไรจะจัดการอุปกรณ์การเรียนให้

ตั้งแต่ นั้นมาเวลาประชาชนมาทำบุญที่วัดหรือมีงานบุญตามบ้าน หลวงพ่อบุญชวนจะนำหลวงพ่อปัญญานันทะไปแสดงธรรมด้วยเสมอ ปัจจัยที่ญาติถวายก็จะได้เป็นทุนการศึกษาต่อ และวันใกล้จะเดินทางกลับหลวงพ่อบุญชวนก็บอกญาติโยมให้เตรียมมะพร้าวและข้าว สารจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะเตรียมมะพร้าวให้ตั้งสามร้อยผล เสร็จแล้วก็ส่งทางเรือไปลงกรุงเทพฯ ท่านเองกลับทางรถไฟ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ไม่นาน มะพร้าวและข้าวสารก็มาถึง จึงจ้างรถเจ๊กลากมะพร้าวและข้าวสารมาเก็บไว้ และหุงข้าวมันใส่มะพร้าวฉันทุกวัน จนตัวแทบเป็นมันเลย

หลวงพ่อปัญญา นันทะให้เหตุผลว่า ที่ฉันข้าวมันเพราะข้าวมันหุงง่าย แม้ไม่มีแกงหรือกับข้าวอื่นๆ มีเพียงพริก น้ำปลา หรือพริกกับเกลือ ก็คลุกฉันได้เลย ฉันแล้วก็ตั้งใจเรียนหนังสือต่อไป

ที่เล่าเหตุการณ์ตอนนี้มายืดยาวเพื่อจะสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่า หลวงพ่อพระราชญาณกวี น่าจะเรียนบาลีก่อนเดินทางไปธรรมจาริก

มา เล่าเรื่องธรรมจาริกกันต่อ เพราะจะได้เห็นความสัมพันธ์ของสามสหายธรรมอย่างเป็นอิทัปปัจจัยตามีเหตุ มีผล มีที่ไปที่มาอย่างชัดขึ้นตามลำดับ

ข่าวการเดินทางเท้าเปล่าไป ประเทศอินเดียเข้าหู พระปั่น ปทุมุตฺตโร ชื่อและฉายาเดิมของหลวงพ่อปัญญานันทะ ซึ่งกำลังเรียนบาลีอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านได้ทราบข่าวก็นึกอยากจะไปร่วมขบวนธรรมจาริกของท่านพระโลกนาถครั้งนี้ เป็นนักหนา แต่พอไปเล่าความให้โยมแม่ฟัง ถูกโยมแม่ทัดทานอย่างแข็งขัน แต่ท่านพยายามอย่างเต็มที่ที่จะไปให้ได้ ก่อนวันเดินทางท่านเปิดปราศรัยที่สถานีรถไฟ พูดถึงความรักในพระรัตนตรัยและความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเดินทางไปนมัสการ สังเวชนียสถาน เพื่อตามรอยบาทของพระบรมศาสดาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องกลัวความเหน็ดเหนื่อยและภยันตรายใดๆ ทั้งสิ้น

หลวงพ่อ ปัญญานันทะเล่าว่า เมื่อท่านปาฐกถาเสร็จ โยมแม่เข้ามาบอกว่า ให้ท่านเดินทางไปได้ ขอให้เดินทางด้วยความปลอดภัย ความยินยอมอนุญาตและคำอวยพรของโยมแม่ ทำให้ท่านเดินทางด้วยความสบายใจและหมดห่วง

พอถึงวันเดินทางพระสงฆ์ จากทั่วประเทศมาพร้อมกันที่วัดบวรนิเวศวิหาร พักอยู่ที่นั่นหลายวันเพื่อรอหนังสือเดินทาง หลวงพ่อปัญญานันทะก็ได้พบหลวงพ่อพระราชญาณกวีที่นี่อีกครั้งก็ดีใจ เพราะเคยพบกันที่จังหวัดระนองมาก่อน ขณะที่หลวงพ่อพระราชญาณกวีเป็นพระภิกษุ และหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นสามเณรและเป็นครูอยู่ที่นั่น

การเดินทาง ครั้งนี้ได้รับความอุปถัมภ์ด้วยดีจากรัฐบาลและได้ทราบว่ารัชกาลที่ 7 ก็ทรงถวายความอุปถัมภ์ด้วย เมื่อหนังสือเดินทางเสร็จแล้วคณะสงฆ์ธรรมจาริกก็ออกเดินทางไปเรื่อยๆ ค่ำไหนก็นอนนั่น เวลาเย็นก็ประชุมกันฟังธรรมและแสดงธรรมแก่พุทธศาสนิกชนที่มาเยี่ยมขบวนของ พระสงฆ์ ข้อปฏิบัติที่ปฏิบัติกันเป็นประจำก็คือ ถือธุดงค์นอนกลางแจ้ง ไม่สวมรองเท้า และฉันอาหารผัก ใครมีศรัทธาก็ให้การบรรพชาเรื่อยไป เมื่อถึงวัดใหญ่มีสีมาก็อุปสมบทเสียครั้งหนึ่ง ก็มีคนบวชกันตลอดทาง

หลวง พ่อบุญชวนเคยเป็นครูมาก่อน เก่งภาษาอังกฤษ จึงช่วยเป็นล่ามให้พระโลกนาถได้ พร้อมทั้งแสดงธรรมแก่ประชาชนที่มาฟังธรรมกันตลอดทาง เป็นการฝึกความแข็งแกร่งทั้งกาย ใจ และปัญญาไปตลอดทาง

เดินทางรอนแรม ไปเรื่อยๆ หลายเดือนก็เข้าประเทศพม่า จึงแวะกราบพระเจดีย์ชะเวดากองและพักอยู่ที่วัดในประเทศพม่าหลายวัน หลวงพ่อปัญญาได้รับข่าวจากเมืองไทยว่าโยมพ่อป่วยหนัก ก็เดินทางกลับประเทศไทยก่อนมาเยี่ยมโยมพ่อและโยมพ่อก็เสียในเวลาต่อมา

หลวง พ่อพระราชญาณกวี ได้เดินทางต่อไปกับคณะของพระโลกนาถจนถึงอินเดีย ท่านเล่าว่า วันแรกๆ ที่ท่านไปถึงนั้น ท่านออกบิณฑบาตปรากฏว่า สิ่งที่ชาวอินเดียนำมาใส่บาตรน่าตกใจ เขานำเอาข้าวสาร นม เนย และขี้วัวแห้ง มาใส่บาตร ท่านงงๆ สงสัยว่า เขาจะแกล้งเราหรือเปล่า เมื่อพยายามสอบถามคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ก็ทราบว่า ผู้ตักบาตรต้องการให้นำเอาข้าวสาร นม หรือ เนย ผักต่างๆ มาปรุงเอง ส่วนขี้วัวแห้งนั้นเป็นเชื้อเพลิงสำหรับปรุงอาหาร พูดง่ายๆ คล้ายๆ กับการที่ญาติโยมนำข้าวสารและอาหารแห้งมาใส่บาตรนั่นเอง

หลวงพ่อพระ ราชญาณกวีกับคณะของพระโลกนาถได้เดินทางนมัสการสังเวชนียสถาน คือสถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และแสดงปฐมเทศนาครบถ้วนแล้วพิจารณาว่า หมู่คณะธรรมจาริกมีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง เนื่องจากพระที่บวชก็ใหม่ ยังไม่ได้รับการฝึกฝนในพระธรรมวินัยให้มีความรู้ความซาบซึ้งพอ มีเรื่องกระทบกระทั่งแล้วไม่ค่อยจะมีความอดทน พระที่มาจากต่างถิ่นต่างที่ล้วนมีภูมิหลังและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ถ้าเดินทางกันไปไกลกว่านี้ ก็คงจะไม่ราบรื่นนัก จึงตัดสินใจเดินทางกลับ

เมื่อ หลวงพ่อพระราชญาณกวีเดินทางถึงอินเดียใหม่ๆ ได้มีจดหมายส่งมายังหลวงพ่อปัญญานันทะว่า ให้เดินทางไปอินเดียโดยให้มาขึ้นเรือที่ท่าเรือประเทศพม่า หลวงพ่อปัญญานันทะจัดงานศพโยมพ่อเสร็จแล้วก็เดินทางไปพม่าตามที่หลวงพ่อพระ ราชญาณกวีได้ชวนไว้ แต่หลวงพ่อพระราชญาณกวีได้เดินทางไปถึงพม่าและขึ้นจากท่าเรือไปก่อนแล้วสัก สองหรือสามวัน หลวงพ่อปัญญานันทะถามข่าวคนที่ท่าเรือว่า เจอพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากอินเดียบ้างไหม เจ้าหน้าที่ท่าเรือก็ได้เล่าลักษณะของพระสงฆ์ที่เดินทางกลับจากอินเดียให้ ฟัง ก็แน่ใจว่าท่านกลับแล้ว จึงคิดว่าไม่รู้จะไปจาริกกับใคร เพราะพี่ท่านที่สนิทสนมและรู้ใจกลับไปเสียแล้ว

เมื่อท่านทั้งสองกลับ มาถึงกรุงเทพฯ สถานการณ์เปลี่ยน คณะสงฆ์กรุงเทพฯ ประกาศว่า ไม่อนุญาตให้วัดในกรุงเทพฯ รับพระสงฆ์ที่เคยเดินทางไปกับพระโลกนาถเข้าจำพรรษา หลวงพ่อบุญชวนจึงต้องเดินทางกลับวัดดอนทรายแก้ว จังหวัดชุมพร หลวงพ่อปัญญานันทะเข้ามาที่วัดปทุมคงคาก็ทราบว่าหลวงพ่อพระราชญาณกวีเดิน ทางกลับชุมพรแล้ว จึงเดินทางตามมาที่วัดดอนทรายแก้ว

หลวงพ่อปัญญานัน ทะเล่าว่า เมื่อเดินทางมาถึงวัดดอนทรายแก้วท่านรีบออกมาต้อนรับด้วยรอยยิ้มที่เต็มหน้า หลวงพ่อปัญญานันทะก็เย้าท่านอีกว่า หลอกเพื่อนไปถึงพม่าแล้วตัวเองกลับมายืนยิ้มอยู่นี่แหละนะ

แรง ปรารถนาแสวงหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับชีวิตของพระหนุ่มทั้งสองไม่เคยหยุดนิ่ง ได้ทราบว่า หลวงพ่อพุทธทาสกำลังสร้างสวนโมกข์ใหม่ๆ มีจุดประสงค์และอุดมการณ์อันสูงส่งเพื่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั้งในด้าน ปริยัติและปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วคิดว่าเมื่อไม่มีวัดไหนในกรุงเทพฯ รับเข้าจำพรรษาแล้ว ไปหาท่านพุทธทาสกันดีกว่า