Wednesday, January 14, 2009

หลักการบริโภคสื่อ : ข่าวสารที่ท่านรับรู้......เชื่อได้หรือไม่ ??? : หลัก กาลามสูตร

หลักการบริโภคสื่อ : ข่าวสารที่ท่านรับรู้......เชื่อได้หรือไม่ ???    

 

        มีหลายสิ่งหลายอย่างหรือหลาย เหตุการณ์ ทำให้เราสงสัยว่าจริง ไม่จริง ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง มีโทษ ไม่มีโทษ ควรที่เรา จะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด แต่ในส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยจะได้คิดกัน หรือสงสัยกัน จะเชื่อถือหรือ รับเอามาปฏิบัติ โดยทันทีที่เขาบอกว่าดี ถูกต้องแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็บอกได้เลยว่า สังคมเรากำลังอ่อนแออย่างมาก ถูกปั่นหัวได้โดยง่าย ยิ่งทุกวันนี้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงมาก เมื่อมีเหตุการณ์อะไรที่น่าสนใจ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมุมไหน ของโลก เพียงชั่วครู่ก็สามารถกระจายข่าวให้รับรู้กันได้ทั่วโลก ในแต่ละวันเราได้รับข่าวสารมากมายและ มันก็ไม่่เป็น ที่แน่นอน ว่าจะถูกต้องดี งามไปทั้งหมด       

 

     กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในกาลามสูตร

 

        1.  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา ( มา อนุสฺสเวน)         

 

                          ตัวอย่าง         อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา   ประเภท "เขาว่า"    " ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย  

 

        2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา ( มา ปรมฺปราย)

 

                         ตัวอย่าง         อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส

 

        3.   อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ ( มา อิติกิราย)

 

                        ตัวอย่าง          อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย

 

        4.   อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ ( มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

 

                        ตัวอย่าง          อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก

 

        5.   อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก ( มา ตกฺกเหตุ)

 

                         ตัวอย่าง           อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา

 

         6.   อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน ( มา นยเหตุ)

 

                         ตัวอย่าง          อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย

 

         7.   อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ( มา อาการปริวิตกฺเกน)

 

                         ตัวอย่าง          อย่า ได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต

 

         8.   อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ( มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)

 

                         ตัวอย่าง          อย่า ได้ยึดถือโดย ชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก (ทิฐิ ภาษาบาลีหมายถึง ความเห็น )

 

         9.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย) 

 

                         ตัวอย่าง            อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

 

        10.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา ( มา สมโณ โน ครูติ) 

 

                          ตัวอย่าง           อย่า ได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได

 

       ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น 

 

      สูตร นี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

 

กาลามสูตร 

 

         { น.๑๗๙ }[ ๕๐๕] ส มัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะ ชื่อว่าเกสปุตตะ พวกชนกาลามโคตรชาวเกสปุตตนิคม ได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคม โดยลำดับ

 

ก็ กิตติศัพท์อันงามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล

 

        ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไปเฝ้าผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

 

        เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้ามีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ

 

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายอย่าได้เชื่อถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ { น.๑๘๐ } อย่า ได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา อย่าได้เชื่อถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้เชื่อถือโดยคาดคะเน อย่าได้เชื่อถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้เชื่อถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว อย่าได้เชื่อถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้เชื่อถือ โดย ความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

 

        เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

 

        ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์

 

พวกชนกาลามโคตร ต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า

         พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้

 

กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

 

         พ. ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?

ความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์?

 

กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า

         พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความ โกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้

กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

 

         พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

ความหลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ?

 

กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า

         พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูด เท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคล ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้

กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

 

{ น.๑๘๑ } พ.   ดูกรกาลามชนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล ?

 

กา.   เป็นอกุศล   พระเจ้าข้า

        พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ?

กา. มีโทษ พระเจ้าข้า

        พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ?

กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า

        พ.   ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว   เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์   เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ?

กา.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

 

        พ.   ดูกรกาลามชนทั้งหลาย   เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า   ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย

        ท่าน ทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตาม ถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟัง .....อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะ นี้เป็นครูของเรา   เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล   ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน   ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ สมบูรณ์แล้ว   เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์   เพื่อทุกข์   เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

 

        ดูกรกาลามชนทั้งหลาย   มาเถอะท่านทั้งหลาย

             ท่าน ทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตาม ถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา....อย่าได้ยึดถือโดย ความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า   ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ   ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ   ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว   เป็นไปเพื่อประโยชน์   เพื่อสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ 

 

        ดูกรกาลามชนทั้งหลาย   ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

ความไม่โลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์ ?

กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า

 

        พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย   ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้   ย่อมไม่ฆ่าสัตว์   ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

{ น.๑๘๒ } กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

 

        พ.   ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

ความไม่โกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ?

 

กา. เพื่อเป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า

        พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์   ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่ พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น

กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

 

        พ.   ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

ความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ?

 

กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า

         พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น

กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

 

        พ.   ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล ?

 

กา. เป็นกุศล   พระเจ้าข้า

        พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ?

กา. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า

        พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ?

กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า

        พ.   ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว   เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล   เพื่อความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ?

กา.   ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

 

        { น.๑๘๓ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า   ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย

         ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้   อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน   อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบ ใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทาน ให้บริบูรณ์แล้ว   เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น   เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

 

        ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวก นั้นปราศจากความโลภ   ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้   มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา   แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่   หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา... มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่   ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน   ตามนัยนี้   ทั้งเบื้องบน   เบื้องล่าง   เบื้องขวาง   แผ่ไปตลอดโลก   ทั่วสัตว์ทุกเหล่า   ในที่ทุกสถาน   ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์   ถึง ความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้   ไม่มีเวร   ไม่มีความเบียดเบียนอยู่  

 

         ดูกรกาลามชนทั้งหลาย    อริยสาวก นั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้   มีจิต ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้   มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้   มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ   ๔ ประการ ในปัจจุบันว่า 

 

ก็ ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง   เหตุนี้เป็น เครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป   จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์   ดังนี้ ความอุ่นใจ ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบัน   ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

        ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใคร ๆ  ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่   ๓   นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว  

        ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็นตนว่า เป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน   ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

 

         ดูกรกาลามชน { น.๑๘๔ } ทั้งหลาย   อริยสาวก นั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้   มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตใจไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่าง นี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน

 

         กา.   ข้าแต่พระผู้มีพระภาค   ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ   พระอริยสาวกนั้น   มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้   มี จิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้   มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้   มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ   ๔ ประการในปัจจุบัน...

No comments: