Monday, February 16, 2009

ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ

ไอน์สไตน์ ผู้ที่โลกยกย่องว่าเป็น ยอดอัจฉริยะ ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจบางอย่างไว้ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้  แต่ผู้เขียนบอกว่าคำตอบนั้นแท้ที่จริง มีผู้ตอบไว้แล้วนั่นคือ "พระพุทธเจ้า"  และที่สำคัญที่สุด คำตอบนี้เป็นคำตอบของมนุษยชาติ  เป็นคำตอบของคนทุกคน ไม่เว้นชนชาติหรือภาษาใดๆในโลก

 

ผู้รู้จริงย่อมพูดเรื่องเดียวเท่านั้น คือ เรื่องการพาคนไปให้ถึงพระนิพพาน และผู้รู้จริงเท่านั้นจึงรู้ว่า ความรู้ทางโลก เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แม้ชาวโลกเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงอยู่ของชีวิตนั้น ก็ยังไม่มีความสำคัญมากเท่ากับความรู้เรื่องการดับทุกข์หรือการเข้าถึงพระนิพพาน

 

 

 

เรื่องจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเวลาเป็นคำถามประเภท อจินไตย ไม่จำเป็นต้องรู้

 

ตราบใดที่เป็นเรื่องการขบคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการของสมองแล้วไซร้ การแก้ปัญหาที่แท้จริงจะไม่เกิด

 

ทำไมอัจฉริยบุคคลจึงชอบงานเรียบง่าย

สาเหตุที่ว่าทำไมคนในระดับอัจฉริยะเหล่านี้จึงเลือกที่จะทำงานเรียบง่ายที่สังคมมักจะให้คุณค่าว่าเป็นงานต่ำ เพราะคนที่มีไอคิวสูงเหล่านี้รู้ข้อเท็จจริงว่า เมื่อประตูแห่งความรู้หนึ่งเปิดออกนั้น มันเพียงเปิดให้เราก้าวไปสู่อีกประตูหนึ่งที่อยู่ถัดไปเท่านั้นเอง และก็เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่เป็นเรื่องการขบคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการของสมองแล้วไซร้ การแก้ปัญหาที่แท้จริงจะไม่เกิด

 

ไอน์สไตน์เป็นคนพูดเองว่า

"ถ้าผมสามารถเลือกใช้ชีวิตได้อีก คราวนี้ผมจะเลือกเป็นนายช่างซ่อมท่อประปา"

 

หากไม่มีความรู้ในขั้นแตกหัก ที่เป็น Absolute Truth การนำทางที่ถูกต้องย่อมไม่มี การเดินทางเพื่อให้ถึงเป้าหมายปลายทางของชีวิตที่แท้จริงย่อมไม่เกิด ความรู้ทุกอย่างจะเป็นการรู้อย่างสัมพัทธ์ ไม่มีการรู้อะไรที่จริงแท้เลย 

 

จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า

จำเป็นต้องทำอย่างมีหลักการ จำเป็นต้องมีผู้รู้จริงมาบอกให้ และพระพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์ผู้รู้จริงท่านแรกในโลกที่สามารถบอกเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ว่า จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความคิดหลุดออกและว่างจากหัวของเราได้ เพื่อว่าในขณะนั้น ๆ เราจะได้นำรถไฟชีวิตวิ่งไปให้ได้ระดับเดียวกับรถไฟขบวนพระเจ้าหรือพระนิพพาน

 

 

เรื่องรถไฟสองขบวนนี้เป็นเพียงสิ่งเปรียบเทียบเท่านั้น

 

ความรู้ทางโลกทั้งหมดที่คุณกำลังไขว่คว้าด้วยความเครียดเพื่อให้ได้ปริญญามาอย่างยากลำบากนั้น ล้วนเป็นเรื่องของการศึกษาที่ติดอยู่ในกล่องเวลาทั้งสิ้น ยังไม่ได้เข้าใกล้สัจธรรม ความรู้ทางโลกก็ยังสำคัญและยังจำเป็นอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่า ถ้าจะให้ดีที่สุดแล้ว ควรเรียนเคียงคู่ไปกับความรู้ของพระพุทธเจ้าด้วยเท่านั้น ก็จะสมบูรณ์ ไม่แตกซ่าน ไม่สร้างปัญหา ไม่เป็นความรู้เหมือนดาบสองคม

 

สัจธรรมไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการคิดหรือด้วยการคิดแบบปรัชญา

ประสบการณ์ของพระเจ้าและพระนิพพานนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของการจินตนาการด้วยความคิดนึกแต่อย่างใด

แต่เป็นเรื่องการมีประสบการณ์

 

ของอัลเบร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้ตั้งคำถามที่สำคัญมากที่สุดแทนมนุษยชาติ นั่นคือ อะไรคือจุดคงที่อันเป็นอนันตยะที่สมบูรณ์ของจักรวาล What is the absolute ruling point in nature?

 

หากไอน์สไสตน์สามารถหาจุดปกติของจักรวาลที่อยู่อย่างคงทนถาวร มีค่าสมบูรณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงได้แล้ว เขาจะสามารถใช้จุดปกตินั้นเป็นมาตรฐานการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ และย่อมทำให้ผลของการวัดอะไรต่าง ๆ คงที่ ปกติ ได้ผลเหมือนกันหมด absolute value ไม่ว่าจะวัดจากจุดไหนของจักรวาล

 

อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่สามารถหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลได้ เพราะว่า สิ่งต่าง ๆ ที่แม้ดูนิ่ง ๆ บนโลก ไม่เคลื่อนไหวก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว มันไม่ได้อยู่นิ่งจริง เพราะโลกกำลังหมุนอยู่ เมื่อดูในวงกว้างออกไปจากนอกโลก ก็พบว่าระบบสุริยะจักรวาลก็กำลังเคลื่อนอยู่ แกแลกซี่ของเราและอื่น ๆ ก็กำลังเคลื่อนอยู่ ตลอดจนถึงจักรวาลทั้งหมดก็กำลังเคลื่อนไปอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้ไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดนิ่งหรือจุดปกติที่สามารถให้คุณค่าที่เที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริงในจักรวาล เพราะทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างไม่หยุดยั้ง

 

ความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องครอบจักรวาล ครอบคลุมทุกเรื่องของชีวิต  เพราะความคิดทั้งหมดเหล่านี้สัมพันกับเรื่องอนิจจังและพระนิพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเรื่องครอบจักรวาลเช่นกัน 

 

เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งสมบูรณ์ คงที่ และปติ อันจะใช้เป็นมาตรฐานของการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงต้องวัดกันอย่างเปรียบเทียบ หรือ สัมพัทธ์กันเช่นนี้  จึงก่อให้เกิดคำวลีภาษาอังกฤษว่า relatively speaking หรือ พูดอย่างสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นวลีที่ใช้กันบ่อยมากในชีวิตประจำวัน เพราะต้องพูดให้รู้เรื่องก่อนว่าเอาอะไรเป็นหลัก มิเช่นนั้น เถียงกันตาย แต่ถ้าหากเรารู้จุดคงที่ของจักรวาล วิถีชีวิตของเราจะต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกลักษณะหนึ่ง

 

ผู้รู้สัจธรรมจริงจะพูดเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น คือ พูดชักชวนคนไปนิพพาน

 

พระพุทธเจ้าสอนอยู่เรื่องเดียว ก็คือการไม่เกิดแห่งทุกข์ หรือ พระนิพพาน ซึ่งอยู่เบื้องหน้านี่เอง ที่นี่ และ เดี่ยวนี้

 

สติปัฏฐานสี่คือคำตอบ

สภาพเดิม =จิตใจ  = จิตอยู่คู่กับใจ โดยจิตเป็นนายเหนือใจ คอยสั่งการ ดึงใจลงต่ำ

สภาพใหม่ = ใจ แยกจาก จิต 

แยก ใจ(วิญญาณขันธ์) ออกจาก ส่วนของ จิต (ความคิด=สังขาร, ความจำ=สัญญา, ความรู้สึก=เวทนา) ที่เจ็บป่วยและมีมลทินจากการรับสัมผัสกับผัสสะที่ไม่บริสุทธุ์ที่เป็นมายา (=อนิจจัง =อนัตตา = ไม่เที่ยง=เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) หลอกล่อชีวิตจาก ทั้ง 5 ทาง (ภาพ=เข้าทางตา, เสียง=เข้าทางหู, กลิ่น=เข้าทางจมูก, รส=เข้าทางลิ้น, สัมผัส=เข้าทางกาย) และพาตัวใจกลับบ้าน Bringing your mental self back home. เมื่อนั้น ความคิด(สังขารขันธ์) ความจำ(สัญญาขันธ์) ความรู้สึก(เวทนาขันธ์) ซึ่งเป็นกล่องเวลาของอดีตและอนาคตก็จะหลุดลุ่ยออกจากหัวของเรา ทำให้ตัวใจของเราว่างจาก จิต หรือความคิด จึงทำให้เราสามารถมายืนอยู่ต่อหน้าพระนิพพาน หรือ พระเจ้า หรือ สัจธรรมอันสูงสุดได้ทันที ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้

 

แก่นสารของชีวิตอยู่ที่ ที่นี่ และ เดี๋ยวนี้

 

ทฤษฎีเอกภาพของไอน์สไตน์ก็คือการคิดเรื่องสัจธรรมนั่นเอง แต่เขาขาดผู้รู้ที่จะถ่ายทอดความคิดของพระพุทธเจ้าให้ฟัง จึงต้องเสียเวลาทั้งหมดในช่วง 30 ปีสุดท้ายของชีวิตเพื่อค้นหาทฤษฎีเอกภาพ (=สัจจะธรรม = นิพพาน = พระเจ้า = สิ่งสุงสุด) แต่ก็ไม่พบ

 

 

น่าเสียดายที่ไอน์สไตน์ไม่ได้เกิดในเมืองพุทธ มิเช่นนั้น อัจฉริยะบุคคลผู้นี้อาจจะสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกยุคใหม่ให้เป็นโลกที่น่าอยู่มากกว่านี้ก็เป็นได้ ความเป็นอัจฉริยบุคคลของเขาบวกกับความรู้เรื่องสติปัฏฐานสี่ย่อมสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในแง่ของการสร้างสรรค์อารยธรรมที่เอื้ออำนวยให้มนุษย์หันเข้าหาสัจธรรมได้อย่างแท้จริง

 

ไอน์สไตน์ได้ทิ้งไว้แต่ 2 ทฤษฎีแรกที่ค้นพบซึ่งเป็นส่วนที่สัจจธรรม จะต้องกำจัดออก จนทำให้โลกเข้าสู่รุ่งอรุณแห่งมิคสัญญี

คือทฤษฎีสัมพัทธภาพ และกลศาสตร์ควอนตัม

 

ก่อให้เกิดสูตรทางคณิตศาสตร์ e=mc2 ที่ดูเรียบง่ายแต่ซับซ้อน รวมทั้งเปิดเผยคุณภาพทั้งฝ่ายดำสนิท (การผลิตระเบิดปรมณู) และฝ่ายขาวอย่างขุ่นมัว (เทคโนโลยี่ทางวัตถุ)ของธรรมชาติ ซึ่งความรู้เหล่านี้ของไอน์สไตน์ได้เปิดโอกาสให้นักฟิสิกส์รุ่นหลังต่อยอดความรู้ของเขาได้อย่างไม่หยุดยั้งจนกลายเป็นความรู้พื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยี่ทางฝ่ายวัตถุ มาจนทุกวันนี้

 

ไอน์สไตน์ก็ยังเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยูู่ในขั้นตอนของการแสวงหาสัจธรรมอันสูงสุดเหมือนมนุษย์คนอื่น ๆ อีกมากมาย สัจธรรมอันสูงสุดนี้ ดิฉันได้พูดแล้วว่าเป็นสภาวะเดียวกับพระนิพพาน พระเจ้า เต๋า ต้นไม้แห่งชีวิต หรือ ที่นี่ เดี๋ยวนี้  

 

 

ในปี ค.ศ. 1954/๒๔๙๗ ไอน์สไตน์ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง The Human Side ยอมรับเองว่า คำตอบที่เขาต้องการนั้นอาจจะอยู่ในพุทธศาสนาแล้วก็เป็นได้ เขาพูดว่า  

 

        ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาที่เนื่องกับจักรวาล  ควรอยู่เหนือพระเจ้าส่วนตัว หลีกเลี่ยงลัทธิกฏเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์ ควรครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ ควรตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาที่เกิดจากประสบการณ์ของทุกสิ่งที่สร้างเอกภาพอันมีความหมาย ซึ่งพระพุทธศาสนาดูเหมือนจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ศาสนาพุทธน่าจะเป็นศาสนาที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของยุคสมัยได้

 

จุดคงที่ของจักรวาลที่ไอน์สไตน์ต้องการหาก่อนทฤษฎีสัมพัทธภาพรวมทั้งทฤษฎีเอกภาพที่เขาแสวงหาอยู่ในช่วง ๓๐ ปีสุดท้ายของชีวิตนั้น ไม่ใช่อะไรอื่น  มันคือสภาวะสัจธรรมอันสูงสุดหรือพระนิพพานนั่นเอง ไอน์สไตน์หาไม่พบ เพราะขาดปััจจัยสำคัญ คือ ไม่ได้พบผู้รู้จริง

 

 

จะเป็นการโชคดีมากที่เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา ไอน์สไตน์ยังไม่โชคดี

 

คนมีบารมีในทางธรรม แม้อยู่ไกลเพียงใด ก็ยังหาครูบาอาจารย์พบจนได้ บางคนที่อยู่แสนจะใกล้ชิดครูบาอาจารย์แท้ ๆ แต่กลับไม่ไ่ด้ความรู้อะไรไปเลย น่าเสียดายมาก เรื่องของบุญบารมีนี่ ไม่เข้าใครออกใคร

 

การคิดได้อย่างกว้างขวางของไอน์สไตน์จนทำให้เขาอยู่ในระดับอัจริยะบุคคลแห่งความเป็นนักคิดนั้นไม่มีอะไรซับซ้อนมากไปกว่าการเดินลึกเข้าไปในท่อแห่งความคิดอันมีทางตันเป็นที่สุด

 

สิ่งที่มนุษย์พยายามไขว่คว้าหาอยู่ด้วยความหวังว่าจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขจริง ๆ นั้นจึงเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถคิดค้นและเข้าถึงได้ด้วยความคิดและการคิดเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องฟังผู้รู้ตามพระพุทธเจ้าเท่านั้น

 

หากระบบการศึกษาของโลกตั้งอยู่บนหลักการของ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว การเรียนรู้วิชาการทางโลกจะเป็นไปอย่างไม่หลงทิศทางของชีวิต

 

ท่านเหลาจื้อได้พูดว่า ระบบการปกครองที่ดีที่สุดนั้น ชาวบ้านจะไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามีผู้ปกครองอยู่ เพราะทุกคนล้วนทำมาหาเลี้ยงชีพ รับผิดชอบต่อครอบครัวของตน ใช้ชีวิตอย่างปกติธรรมดาซึ่งเป็นการรักษาศีลอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่รู้ว่านั่นคือศีล

 

การวิจัยเรื่องจิตใจของมนุษย์อย่างถูกทางนี้อาจจะสามารถช่วยมนุษยชาติจากวัฒนธรรมยาเสพติดทั้งหลายที่สังคมมนุษย์กำลังติดกับดักมันอยู่ นี่อาจจะเป็นข่าวร้ายต่อผู้หารายได้กับการผลิตและขายยาเสพติด แต่ย่อมเป็นข่าวดีต่อมนุษยชาติโดยส่วนรวม

 

ยุคนี้จึงเป็นสังคมที่กลับหัวกลับหาง คนหมู่มากเห็นดอกบัวเป็นกงจักร และเห็นกงจักรเป็นดอกบัว (ไม่รู้ดี รู้ชั่ว แบบ Absolute Truth เช่น คนที่ลักเล็กขโมยน้อยก็บอกว่า ตัวเองยังเป็นคนดีมีธรรม เพราะถ้าเทียบแบบความดีสัมพัทธ์ ตามทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์แล้วก็สรุปได้ว่า เขาดีกว่าโจรปล้นฆ่า)

 

 

 

 

"มาฆะ-ราคะ" บูชา พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรัก พระพุทธเจ้ามีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระมหาการุณิโก แปลว่า "พระผู้มีความรักที่แท้"

นิยาม "รัก" จาก "ว.วชิรเมธี" "มาฆะ-ราคะ" บูชา พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรัก

กลีบ กุหลาบถูกเด็ดปลิวโปรยร่อนเพื่อเคล้าประสานสร้างบรรยากาศวันแห่งความรักนาน นับนานหลายปีผ่าน สังคมไทยร่ายรำไปตามวัฒนธรรมตะวันตก 14 กุมภา วันวาเลนไทน์ กลายเป็นเทศกาลที่เด็กวัยรุ่นต่างใจจดใจจ่อเฝ้ารอ เพื่อที่สุดท้ายแล้วจะได้หวังผสมเสน่ห์แห่งกามารมณ์กลมกลืนไปยามค่ำคืน

โลกแห่งความจริง เด็กรุ่นใหม่มองผ่านและละเลยวันเพ็ญเดือน 3 "มาฆบูชา" ที่ปีนี้มาเยือนก่อนวันแห่งความรัก 5 วัน

แต่กลับไม่ลืมที่จะหาช่อดอกไม้ ช็อกโกแลต และของขวัญรูปหัวใจ

รสธรรมหรือหอมหวานกว่ารสรัก

พระ มหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย วิสัชนาปรัชญาการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพแห่งการตื่นรู้ สู่อิสรภาพไว้ว่า

"มหาสมุทรมีรสเค็มเพียงรสเดียวฉันใด พระธรรมวินัยก็มีรสเดียวคือ วิมุตติรส ฉันนั้น"

พระ อาจารย์ ว.วชิรเมธี เจริญสติต่อความเปลี่ยนแปลง ทางสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ และยอมรับในสัจธรรมว่า เปรียบวันมาฆบูชาเป็นการเดินขึ้นเขา ส่วนวันวาเลนไทน์เป็นการเดินลงเขา

ธรรมชาติของคนย่อมชอบที่จะเดินลงเขาทั้งนั้น

ระหว่าง ที่อวลไปด้วยกรุ่นไอรัก บรรทัดต่อไป โปรดตาม พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ก้าวย่างขึ้นเขาทีละขั้น เพื่อสดับนิยาม "รักแท้" ในสมณเพศ

"หนุ่ม สาวรุ่นใหม่ควรจะเรียนรู้ว่า ความรักมีหลายมิติ แต่ที่เราหยิบมาเน้นทุกวันนี้มีมิติเดียวคือความรักในเชิงชู้สาว ซึ่งมักจะไปจบที่การมีความสัมพันธ์ เพราะว่าไม่อยากจะผูกพัน และนั่นเป็นเหตุให้ก่อปัญหาสังคมตามมามากมาย เพราะฉะนั้นเขาควรจะเปิดใจให้กว้าง เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าแท้ที่จริงนั้น ความรักเป็นอะไรที่มากกว่าความสัมพันธ์ในเชิงชายหนุ่มหญิงสาว"

"ใน ทรรศนะของอาตมาที่สรุปมาจากองค์ความรู้ทางพุทธศาสนา ความรักมีด้วยกัน 4 มิติ 1.รักตัวกลัวตาย 2.รักใคร่ปรารถนา 3.รักเมตตาอารี 4.รักมีแต่ให้"

พระ อาจารย์ ว.วชิรเมธี อธิบายว่า 1.รักตัวกลัวตาย เป็น ความรักอิงสัญชาตญาณพื้นฐานของการมีชีวิต ความรักเช่นนี้มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกประเภท อันตรายของความรักชนิดนี้ คือถ้ามีมากเกินไปจะกลายเป็นความเห็นแก่ตัว และบางครั้งเพื่อที่จะปกป้องตัวเอง ก็ถึงกับต้องฆ่าคนอื่น

2.รักใคร่ ปรารถนา เป็นความรักอิงสัญชาตญาณการสืบพันธุ์ มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวเป็นเครื่องมือของความรักชนิดนี้ ความรักชนิดนี้ถ้าวิเคราะห์ลึกๆ มีความโลภเจืออยู่ นั่นก็คืออยากจะได้ ใคร่จะครอบครอง และถ้าตัวเองได้ตามที่ต้องการก็ถือว่าประสบความสำเร็จในความรักชนิดนี้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามไม่ได้ตามที่ต้องการ ความโลภอาจจะกลายเป็นความแค้น

" และนั่นเป็นเหตุให้หลายครั้ง คนที่รักกันแต่พอผิดหวังจากความรัก จึงลงเอยด้วยการทำร้ายซึ่งกันและกัน และในบางกรณีถึงขั้นฆาตกรรม ชำแหละคนรักเป็นศพ ไหนบอกว่ารัก ทำไมต้องจบด้วยการฆาตกรรม เพราะลึกๆ แล้วไม่ใช่รัก เป็นแค่ราคะ คือความปรารถนาในกามารมณ์ และเป็นเพียงความโลภ คือต้องการที่จะครอบครองมาเป็นเจ้าของเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นความรักชนิดนี้จึงไม่ปลอดภัย ต้องก้าวไปหาความรักที่สูงขึ้น"

ความ รักที่ 3 คือ รักเมตตาอารี คือความรักที่อิงและร่วมทางวัฒนธรรมบางอย่าง เช่น มีสายเลือดเดียวกัน พ่อแม่ก็จะรักลูกมาก เพราะลูกก็คือสำเนาของตนเอง คนที่ถือศาสนาเดียวกันก็จะรู้สึกเป็นพวกเพราะมีศาสดาคนเดียวกัน คนที่ถือสัญชาติเดียวกันก็จะรู้สึกเป็นพวกกับคนสัญชาติเดียวกัน และมนุษย์ด้วยกันก็จะรู้สึกว่าต้องให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าสัตว์

" ความรักเช่นนี้เป็นความรักที่อาศัยโยงใยทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เราจะรักใครก็ตามที่เราเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมได้ในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น ถ้าเราเดินอยู่ในอเมริกาแล้วเจอคนไทย เราจะรู้สึกปีติเบิกบานขึ้นมาทันที ทั้งๆ ที่ฝรั่งที่เราเจอก็คนทั้งนั้นแต่เราจะเฉยๆ ถ้าคนไทยคนนั้นเป็นชาวพุทธเหมือนกับเรา ก็ยิ่งดีใจใหญ่ ทำไมเป็นอย่างนั้น เพราะลึกๆ เรามีโยงใยทางวัฒนธรรมร่วมกันบางสิ่งบางอย่าง ความรักชนิดนี้ทำให้มนุษย์รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะเป็นกลุ่มเป็นก้อน

แต่ อันตรายของความรักชนิดเช่นนี้ก็คือ บางครั้งมันกลายเป็นความหลงผิด ยึดติดถือมั่นในกลุ่ม ในหมู่ ในพรรค ในเผ่า ในพันธุ์ของตัวเอง แล้วกลายเป็นสงครามระหว่างชาติพันธุ์ ระหว่างผิวสี ศาสนา ลัทธิ การเมือง ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้วนับครั้ง ไม่ถ้วน เช่น ฮิตเลอร์สังหารชาวยิวเพราะอะไร หรือสงครามครูเสดเกิดขึ้นยาวนานหลายร้อยปี ก็เพราะทุกคนอยากจะปกป้องพระเจ้าของตนเอง รวมทั้งสงครามแบ่งแยกดินแดนทั้งหลาย ความรักชนิดนี้ลึกๆ เข้าไปอาศัยคำว่าลัทธิ อุดมการณ์เป็นเครื่อง หล่อเลี้ยง เป็นเครื่องเชื่อมโยงที่สำคัญ"

พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ยังรวมถึงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองที่มีทั้ง เสื้อเหลืองและเสื้อแดง หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์เข้าไปยึดติดถือมั่นแล้วมีอิทธิพล ต่อการดำเนินชีวิต

"ความรักของสีเหลืองสีแดงก็เป็นความรักในประเภท ที่ 3 นี้ด้วย ความรักชนิดที่ 1 ที่ 2 และชนิดที่ 3 ก็ยังไม่ปลอดภัย ต้องพัฒนาต่อไปถึงความรักประเภทที่ 4 คือ รักมีแต่ให้"

"รักมีแต่ให้ เป็นความรักที่มาพร้อมกับปัญญา ความรักที่ 1-3 อิงอารมณ์คือความรู้สึกเป็นรากฐานที่สำคัญ แต่ความรักชนิดที่ 4 อิงปัญญาคือความรู้สว่างกระจ่างแจ้งในโลกและชีวิต ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง จนมนุษย์สามารถถอดถอนตัวเองออกมาจากมายาคติ คือสิ่งที่เป็นความลวงทุกชนิด เหมือนพอเมฆที่เคลื่อนออกไป ฟ้าก็เปิด ทอดตามองไปทางไหนก็เห็นแต่แสงสว่างในทิศทั้ง 4"

"ไม่มีอะไรอีกที่ เป็นความลับดำมืดหรือเคลือบแคลงสงสัยมัวเมา ความรักชนิด เช่นนี้เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีปัญญาที่จะหยั่งรู้ ถึงความจริงของโลกและชีวิตอย่างตรงไปตรงมา เช่น ถ้าเราเห็นเงิน เราก็รู้ว่าเงินเป็นเพียงสิ่งสมมติที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เราใช้เงินเสร็จแล้ว เราก็สามารถปล่อยวางมันได้ เราใช้เสื้อผ้าเสร็จแล้วเราก็สามารถถอดวางไว้ได้ เรามียศ เราใช้ยศเสร็จแล้วเราก็ไม่ยึดติดยศ เรามีทรัพย์สมบัติ เราก็บอกว่าสรรพสิ่งคือของใช้ไม่ใช่ของฉัน"

"พอเรามีความเข้าใจโลก และชีวิตตามความเป็นจริงอย่างนี้ ปัญญาของเราจะเป็นอิสระ พอปัญญาของเราเป็นอิสระแล้ว ทอดตาไปทางไหนใจเราก็กว้างขวาง หมดความยึดติดถือมั่น ทอดตาไปทางไหนก็ไม่เห็นใครว่าเป็นเสื้อเหลืองเสื้อแดง เพราะสิ่งเหล่านั้นคือเปลือกของความเป็นมนุษย์ที่เราสมมติขึ้นมาเองทั้งหมด ทอดตาไปทางไหนคุณก็จะเห็นแต่มนุษยชาติกระจายอยู่ ทั่วทุกหนทุกแห่ง เขากับเราแตกต่างกันเพียงเปลือกผิวภายนอก แต่โดยเนื้อหาสาระก็คือ สิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่ามนุษยชาติ ไม่มีใครสูงกว่าใคร ไม่มีใครต่ำกว่าใคร มีแต่สิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่าคน นั่นคือความจริงสุดท้าย พอจิตของเราเป็นอิสระอย่างนี้แล้ว ความรู้สึกในเชิงแบ่งแยกหายไป ความรู้สึกในเชิงถือเขาถือเราหายไป ความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบหายไป ทอดตามองไปทางไหนก็เห็นแต่คนที่เสมอกันกับเรา และนั่นคือเหตุที่ทำให้เราเรียนรู้ที่จะรักคนอื่นพอๆ กับที่เรารักตัวเอง ความรักเช่นนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะนำความรักที่แท้มา นั่นคือความกรุณา รักแท้คือกรุณา"

พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี อธิบายต่อไปอีกว่า กรุณาก็คือความสงสารอันใหญ่หลวง ซึ่งทำให้เราไม่สามารถทำร้ายใครได้อีกเลย เพราะทอดตาไปทางไหนก็ล้วนแล้วแต่เป็น พี่น้องท้องเดียวกันกับเราทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อปัญญาทำหน้าที่เปิดประตูหัวใจของเราแล้ว ธารน้ำแห่งความรักก็จะไหลหลั่งถั่งท้นออกมา ชโลมชาวโลกให้อยู่กันฉันพี่ฉันน้อง

"อุปมาให้เห็นง่ายๆ รักแท้คือกรุณา เปรียบเสมือนแสงเดือนแสงตะวันที่สาดลงผืนโลก โดยที่ไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทน เป็นน้ำก็ไหล เป็นจันทร์ก็ส่อง เป็นนกก็ร้องเพลง โดยไม่เคยถามว่าใครเคยเห็นความสำคัญของฉันหรือ โดยไม่เคยถามว่าฉันจะได้อะไรตอบแทนไหม ฉะนั้นวิวัฒนาการสูงสุดของความรักก็คือ รักแท้คือกรุณา เราต้องไปให้ถึงความรักชนิดเช่นนี้ จึงจะเป็นความรักที่ดีที่สุด ที่ไม่เพียงแต่คนหนุ่มสาวเท่านั้น มนุษยชาติจะต้องไปให้ถึง"

ถึง กระนั้น พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ก็นิยามความรักให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายว่า ความรัก คือการตระหนักรู้ในสัจธรรม แล้วเราสามารถถอดถอนตัวเองออกมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้อย่างสิ้นเชิง มีหัวใจที่บริสุทธิ์ หมดจด แล้วก็แผ่ความรักนั้นออกไปรักคนได้ทั้งโลก ความรักในทรรศนะของอาตมากล่าวอย่างสั้นที่สุดคือกรุณา คือจิตใจอันใหญ่หลวงที่สามารถรักคนได้ทั้งโลกโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ รักแท้คือกรุณาจะมาหลังจากการผลิบานทางปัญญาเสมอไป ถ้าไม่ได้มาพร้อมปัญญาเป็นได้แค่มายาการณ์ชนิดหนึ่ง พูดง่ายๆ เป็นได้แค่ความรู้สึก

"ฉะนั้นถ้าไปดูพระพักตร์ของพระพุทธรูป ทุกองค์ ยิ้มทุกองค์ ทำไมยิ้ม เพราะจิตท่านเบิกบานผ่องใส ท่านจึงกลายเป็นผู้ที่ยิ้มให้กับคนทั้งโลก รักที่แท้จะเป็นอย่างนั้น เราเกลียดใครไม่ลงเลย"

"ฉะนั้นพุทธศาสนานี้ จึงเป็นศาสนาแห่งความรัก เริ่มต้น พระพุทธเจ้าก็รักใน โพธิญาณ ใช้วันเวลาทั้งหมด 84,000 อสงไขย กำไร 100,000 กัลป์ ทุ่มเทปัจจัยลงไปในโพธิญาณ รักในการที่จะเป็นพระพุทธเจ้า และเมื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ก็ไปถึงตาน้ำที่แท้ ตลอดเวลา 45 ปีหลังจากที่ตรัสรู้ เสด็จพุทธดำเนินไปทุกหนทุกแห่งเพื่อหว่านโปรยพุทธธรรมอันเป็นเครื่องมือ ที่จะนำชาวโลกไปสู่ความรักที่แท้ และด้วยเหตุดังนั้น พระพุทธองค์จึงมีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระมหาการุณิโก แปลว่า พระผู้มีความรักที่แท้"

"เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรัก และเราชาวพุทธทุกคน เมื่อเข้าใจพุทธธรรมอย่างถึงที่สุดแล้ว เราจะกลายเป็นผู้ที่มีความรักอย่างลึกซึ้งที่สุด"

หากแต่เมื่อมองกลับมายังสังคม ปัจจุบันที่เยาวชนห่างไกลวัด พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี มองปัญหาอย่างเข้าใจว่า

" การที่คนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่า วันมาฆบูชา อันนี้เป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ ก็วันมาฆบูชานั้นมีบรรยากาศทางศาสนา และเป็นศาสนาที่ชวนให้เราทวนกระแสกิเลสด้วยซ้ำไป มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่อยากทวนกระแสกิเลส อยากจะเดินตามกิเลสอย่างเชื่องๆ มากกว่า แต่วันวาเลนไทน์นั้นมีบรรยากาศของการทำอะไรตามใจกิเลส กล่าวให้เห็นภาพลักษณ์ วันมาฆบูชา มีบุคลิกภาพเหมือนการชวนให้คนทั่วไปเดินขึ้นเขา ส่วนวันวาเลนไทน์นั้นเหมือนการชวนให้คนทั่วไปเดินลงเขา คนส่วนใหญ่จะรู้สึกรื่นรมย์ตอนเดินลงเขามากกว่าตอนเดิน ขึ้นเขา เพราะวันมาฆบูชานั้นชวนให้ทวน กระแสกิเลส ส่วนวันวาเลนไทน์ชวนให้ไหลตามกระแสกิเลส ก็ในเมื่อมันสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ทำไมมนุษย์จะไม่ชอบวันวาเลนไทน์ นี่เป็นเหตุผลทางจิตวิทยาที่เข้าใจได้"

"ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่ง ว่า ชาวพุทธไทยห่างจากพุทธศาสนามาก ทั้งในเชิงเนื้อหาสาระ ทั้งในเชิงวิถีชีวิตประจำวัน และต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า สถาบันสงฆ์ในสังคมไทยเอง ก็มีแก่นสารใน เชิงเนื้อหาสาระน้อยลง นั่นเป็นเหตุให้ พุทธศาสนาในสังคมไทยเวลานี้เหมือนต้นไม้ที่กำลังยืนต้นตาย รักษาไว้ได้แต่ภาพลักษณ์อันสวยหรู แต่เนื้อหาสาระนั้นนับวันจะหาได้ยากยิ่งขึ้นทุกที"

พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี วิเคราะห์ว่า การที่องค์กรหลักของสถาบันพุทธศาสนาในสังคมไทยห่างไกลจากเนื้อหาสาระที่แท้ จริง นั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนร่วมยุคร่วมสมัยพากันถอยห่างออกไปจากสถาบัน ศาสนา และทั้งๆ ที่สภาพสังคมโดยทั่วไปเป็นอย่างนี้ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ผู้ที่อยู่ในสถาบันศาสนาเองก็ไม่ตระหนักรู้ ไม่เพียงไม่ตระหนักรู้ บางทีปล่อยให้ปัญหานั้นคาราคาซัง กลายเป็นเรื่องที่สะเทือนใจในหมู่ ชาวพุทธ เช่น กรณีพระตุ๊ด พระเกย์ พระแต๋ว หลวงเจ๊ เยอะแยะมากมายกระจายกันอยู่ไปทุกหนทุกแห่ง

"นี่ คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า องค์กรกำลังถอยหลังเข้าไปสู่ความเสื่อมอย่างน่าเป็นห่วงที่สุด ถ้าสถาบันสงฆ์ซึ่งเป็นสถาบันตัวอย่างทางจริยธรรมยังเสื่อมได้ถึงขนาดนี้ ก็ไม่ต้องพูดว่าชาวบ้านจะเสื่อมกันขนาดไหน นี่เป็นเรื่องที่สะเทือนใจมากที่เราคนไทยจะต้องมาร่วมกันคิดหาทางออก เพราะมิเช่นนั้นแล้ววันมาฆบูชา จะเป็นได้แค่วันที่คนไทยทั่วประเทศ ตั้งแต่พระสงฆ์ รัฐบาล เด็กและเยาวชนร่วมกันจัดงานอีเวนต์ขึ้นมาหลอกตัวเองเท่านั้น ไม่มีผลอะไรในทางเนื้อหาสาระ"

"แล้วก็มาภาคภูมิใจว่า นี่ไง พุทธศาสนามั่นคง คนไทยเข้าวัดมากขึ้น อาตมาคิดว่านี่เป็นดัชนีชี้วัดที่ไร้สาระโดยสิ้นเชิง ความมั่นคงของพุทธศาสนาไม่ควรจะวัดที่ประชาชนเข้าวัดมากขึ้น แต่ควรจะวัดที่ประชาชนดำเนินชีวิตมีเนื้อหาสาระตรงกับพุทธศาสนามากขึ้น"

กับ ค่านิยมที่คู่รักหมายปองจะใช้โรงแรมเป็นสถานที่สุดท้ายของค่ำคืนแห่งความรัก "ราคบูชา" พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี อธิบายให้เห็นว่า ศาสนาพุทธ กับ กามารมณ์ นั้นมีเหตุและผลสอดรับกันอยู่

"พุทธศาสนาไม่ได้ห้ามใครให้เข้าหรือ ไม่ให้เข้าโรงแรม แต่พุทธศาสนาจะบอกว่าความเหมาะความควรอยู่ตรงไหน เราต้องไม่ลืมว่าพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เป็น positive มาก เราจะเคารพในวิจารณญาณของมนุษยชาติทั่วโลกเลย เราจะบอกว่าถ้าคุณทำอย่างนี้แล้ว คุณจะทุกข์นะ คุณทำอย่างนี้แล้ว คุณจะสุขนะ จากนั้นคุณเลือกเอาสิ คุณจะสร้างเหตุแห่งทุกข์หรือสร้างเหตุแห่งสุข นั่นเป็นวิจารณญาณของคุณ"

" ถ้าคุณเข้าโรงแรมแล้ว คุณมีทุกข์หรือคุณมีสุข คุณไปพิจารณาเอง ถ้าเขามีศักยภาพในทางพินิจพิจารณา เขาก็จะสร้างเหตุแห่งสุข เขาจะรู้เองว่า โรงแรมกับวัยของเขาในขณะนั้นคู่ควรกันหรือไม่คู่ควร นี่คือลักษณะของพุทธศาสนา"

"พุทธศาสนาจะไม่มีลักษณะคำสอนแบบ dogma หรือเทวโองการสั่งลงมา ห้ามทำ ไม่มี พุทธศาสนาจะบอกว่า ทางนี้ทำแล้วดี อันนี้ทำแล้วควร อันนี้ทำแล้วชีวิตมีความสุข อันนี้ทำแล้วจะเสียน้ำตา นี่คือลักษณะของพุทธศาสนา เป็น positive religion"

พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี วิพากษ์ต่ออีกว่า แต่ทุกวันนี้ที่เราคนไทยรู้จักพุทธศาสนาเป็น negative religion คือเป็นศาสนาที่ สั่ง บังคับ ห้าม ตอนหลังนี้หนักกว่านั้น มีผู้พยายามที่จะทำให้พุทธศาสนาเป็น untouchable buddhist คือแตะไม่ได้ ใครวิพากษ์วิจารณ์หน่อยไม่ได้ เขียนรูปสันดานกาหน่อยไม่ได้ หนักเข้าๆ พุทธศาสนาจะถูกรวบไปเป็นขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งบอกว่ารักพุทธศาสนามาก

" ศาสนาไหนก็ตาม องค์กรไหนก็ตาม ที่ไม่ยอมให้ใครแตะ หรือไม่ยอมให้ใครวิพากษ์วิจารณ์ ในที่สุดองค์กรนั้นจะตายทั้งๆ ที่ยังอยู่ จะไม่มีเนื้อหาสาระอะไรเลย"

และแม้ว่าสุดท้าย "เสียงธรรมะ" อาจเบากว่า "เสียงราคะ"

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรักของพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี อาจเข้าไปสั่นคลอนถึงโครงสร้างสถาบันพุทธศาสนาด้วยความกรุณา

เพื่อที่ว่าปีหน้าและทุกๆ ปีต่อไป สังคมไทยจะได้ไม่ต้องปริวิตกกับค่านิยมของ วัยรุ่นที่หมุนแซงโลกใบนี้ไปตั้งนานแล้ว

 

Wednesday, February 4, 2009

ศีลห้า

การรักษาศีลนั้น ถ้าว่าแล้ว คำว่า "ศีล" แปลว่า ปกติ (มีคำแปลมากมาย แต่เอาเฉพาะที่จำเป็น) คนที่มีปกติก็คือจะ

๑. ไม่ฆ่าสัตว์

๒. ไม่ลักทรัพย์

๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม

๔. ไม่พูดเท็จ

๕. ไม่ดื่มสุรา

 

ศีลข้อหนึ่ง

คน ที่มีปกติไม่ทำห้าอย่างนี้ ก็คือคนไม่ผิดศีลห้า คนๆ นั้นก็จะมีความเป็นอยู่อย่างปกติสุข ลองสังเกตว่า จริงมั้ยคนที่ผิดศีลห้าแล้วเดือดร้อน ทุกวันนี้ดูได้ในสังคม คนที่ผิดศีลห้า ก็ต้องถูกเค้าฆ่าตาย หรือไม่ก็ถูกตามล่า ติดตาราง ก็ไม่เป็นปกติสุข

 

ศีลข้อสอง

คน ที่ลักขโมยทรัพย์สินของคนอื่น ผิดศีลข้อสอง ก็จะไม่มีความเป็นปกติสุขไปได้ จะต้องหลีกเร้น หลบซ่อน ถูกตามล่า จับกุม เรียกตัวมาดำเนินคดี

 

ศีลข้อสาม

การ ประพฤติผิดในกาม ข้อนี้จริงๆ แล้วเป็นพื้นฐานของครอบครัว ถ้าครอบครัวใดผิดศีลข้อนี้ ก็เป็นอันว่า ครอบครัวนั้นไม่เป็นปกติสุข ครอบครัวแตกแยก พ่อไปทาง แม่ไปทาง ลูกไปทาง นี่คือจุดสำคัญที่จะทำลายความมั่นคงของครอบครัว มีคนกล่าวว่า "สามีขี้เหล้า ขี้ไพ่ ก็ช่างเถอะ ยอมได้ แต่ผิดศีลข้อสาม ยอมไม่ได้" ภาษิตไทยบอกว่า "เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร" นี่ เป็นเรื่องของกิเลส เรื่องของธรรมดา ธรรมชาติ ของใครใครก็รัก ของใครใครก็หวง เพราะฉะนั้น การผิดศีลข้อสาม จึงเป็นเหตุให้เกิดความร้าวรานในครอบครัว และเป็นการทำลายสังคมที่เห็นได้ชัด เพราะกระทบกระเทือนไปถึงเยาวชนด้วย

 

ศีลข้อสี่

มุสา การ พูดมุสา ทำง่ายที่สุด เพราะว่าการพูดเท็จ บางครั้งไม่ตั้งใจ บางครั้งมีความตั้งใจ เพราะฉะนั้น ศีลทุกข้อจะมีองค์ประกอบว่าจะศีลขาดขนาดไหน ถ้าเบาหน่อยเรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย ศีลยังไม่ขาด (ข้อ ๑ การฆ่า ต้องครบองค์ห้า คือ สัตว์นั้นมีชีวิต เราก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต มีจิตคิดจะฆ่า เพียรพยายามฆ่า - สัตว์นั้นตายลง อันนี้เรียกว่าผิดร้อยเปอร์เซนต์ เรียกว่า ศีลขาด แต่ถ้าไม่มีเจตนา ศีลก็เป็นเพียงด่างพร้อย เช่น ไม่รู้ว่ามียุง เอามือลูบไป ยุงตาย ศีลไม่ขาดแต่ว่าด่างพร้อย ไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ศีลทุกข้อจะมีองค์ประกอบ)

 

ศีลข้อห้า

การเสพย์สุรา ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าข้ออื่นๆ และในบางแห่งจะอธิบายไว้ว่า ตามปกติเราก็มีสติอ่อนอยู่แล้ว ถ้าพอไปดื่มสุรา (ท่านเรียก "น้ำทำลายสติ") ถ้า คนเราขาดสติแล้ว ก็ทำได้ทุกอย่าง จึงสังเกตว่า คนจะปล้น จะฆ่า โจร มิจฉาชีพ ลองดูโทรทัศน์ ไม่ว่าเรื่องอะไร ตัวผู้ร้ายต้องถือขวดเหล้า ดูออกเลย นี่คือสื่อ จะเห็นว่า เหล้าเป็นตัวย้อมใจให้คนกล้าหาญที่จะทำชั่วมากขึ้น บางคนถ้าไม่ดื่มสุรามีความละอาย ไม่กล้าร้องเพลง ไม่กล้าทำอะไรทั้งสิ้น แต่พอดื่มสุรา มึนๆ เข้าหน่อย ตึงๆ เข้าหน่อย ร้องเพลงก็ได้ รำก็ได้ ฆ่าก็ได้ ปล้นก็ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงสังเกตได้ว่า แหล่งอบายมุขซึ่งเป็นแหล่งบันเทิงทั้งหลาย จะต้องมีสุรา แล้วก้าวไปหานารี ไปพาชี ไปกีฬาบัตร เหล่านี้โยงกัน หมายความว่า คนที่ดื่มสุราแล้ว ก็จะสามารถประพฤติชั่วได้หมดทุกอย่าง เพราะว่าไม่มี "สติ" จึงเรียกว่า "น้ำทำลายสติ"