Monday, February 16, 2009

ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ

ไอน์สไตน์ ผู้ที่โลกยกย่องว่าเป็น ยอดอัจฉริยะ ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจบางอย่างไว้ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้  แต่ผู้เขียนบอกว่าคำตอบนั้นแท้ที่จริง มีผู้ตอบไว้แล้วนั่นคือ "พระพุทธเจ้า"  และที่สำคัญที่สุด คำตอบนี้เป็นคำตอบของมนุษยชาติ  เป็นคำตอบของคนทุกคน ไม่เว้นชนชาติหรือภาษาใดๆในโลก

 

ผู้รู้จริงย่อมพูดเรื่องเดียวเท่านั้น คือ เรื่องการพาคนไปให้ถึงพระนิพพาน และผู้รู้จริงเท่านั้นจึงรู้ว่า ความรู้ทางโลก เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แม้ชาวโลกเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงอยู่ของชีวิตนั้น ก็ยังไม่มีความสำคัญมากเท่ากับความรู้เรื่องการดับทุกข์หรือการเข้าถึงพระนิพพาน

 

 

 

เรื่องจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเวลาเป็นคำถามประเภท อจินไตย ไม่จำเป็นต้องรู้

 

ตราบใดที่เป็นเรื่องการขบคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการของสมองแล้วไซร้ การแก้ปัญหาที่แท้จริงจะไม่เกิด

 

ทำไมอัจฉริยบุคคลจึงชอบงานเรียบง่าย

สาเหตุที่ว่าทำไมคนในระดับอัจฉริยะเหล่านี้จึงเลือกที่จะทำงานเรียบง่ายที่สังคมมักจะให้คุณค่าว่าเป็นงานต่ำ เพราะคนที่มีไอคิวสูงเหล่านี้รู้ข้อเท็จจริงว่า เมื่อประตูแห่งความรู้หนึ่งเปิดออกนั้น มันเพียงเปิดให้เราก้าวไปสู่อีกประตูหนึ่งที่อยู่ถัดไปเท่านั้นเอง และก็เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่เป็นเรื่องการขบคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการของสมองแล้วไซร้ การแก้ปัญหาที่แท้จริงจะไม่เกิด

 

ไอน์สไตน์เป็นคนพูดเองว่า

"ถ้าผมสามารถเลือกใช้ชีวิตได้อีก คราวนี้ผมจะเลือกเป็นนายช่างซ่อมท่อประปา"

 

หากไม่มีความรู้ในขั้นแตกหัก ที่เป็น Absolute Truth การนำทางที่ถูกต้องย่อมไม่มี การเดินทางเพื่อให้ถึงเป้าหมายปลายทางของชีวิตที่แท้จริงย่อมไม่เกิด ความรู้ทุกอย่างจะเป็นการรู้อย่างสัมพัทธ์ ไม่มีการรู้อะไรที่จริงแท้เลย 

 

จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า

จำเป็นต้องทำอย่างมีหลักการ จำเป็นต้องมีผู้รู้จริงมาบอกให้ และพระพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์ผู้รู้จริงท่านแรกในโลกที่สามารถบอกเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ว่า จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความคิดหลุดออกและว่างจากหัวของเราได้ เพื่อว่าในขณะนั้น ๆ เราจะได้นำรถไฟชีวิตวิ่งไปให้ได้ระดับเดียวกับรถไฟขบวนพระเจ้าหรือพระนิพพาน

 

 

เรื่องรถไฟสองขบวนนี้เป็นเพียงสิ่งเปรียบเทียบเท่านั้น

 

ความรู้ทางโลกทั้งหมดที่คุณกำลังไขว่คว้าด้วยความเครียดเพื่อให้ได้ปริญญามาอย่างยากลำบากนั้น ล้วนเป็นเรื่องของการศึกษาที่ติดอยู่ในกล่องเวลาทั้งสิ้น ยังไม่ได้เข้าใกล้สัจธรรม ความรู้ทางโลกก็ยังสำคัญและยังจำเป็นอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่า ถ้าจะให้ดีที่สุดแล้ว ควรเรียนเคียงคู่ไปกับความรู้ของพระพุทธเจ้าด้วยเท่านั้น ก็จะสมบูรณ์ ไม่แตกซ่าน ไม่สร้างปัญหา ไม่เป็นความรู้เหมือนดาบสองคม

 

สัจธรรมไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการคิดหรือด้วยการคิดแบบปรัชญา

ประสบการณ์ของพระเจ้าและพระนิพพานนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของการจินตนาการด้วยความคิดนึกแต่อย่างใด

แต่เป็นเรื่องการมีประสบการณ์

 

ของอัลเบร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้ตั้งคำถามที่สำคัญมากที่สุดแทนมนุษยชาติ นั่นคือ อะไรคือจุดคงที่อันเป็นอนันตยะที่สมบูรณ์ของจักรวาล What is the absolute ruling point in nature?

 

หากไอน์สไสตน์สามารถหาจุดปกติของจักรวาลที่อยู่อย่างคงทนถาวร มีค่าสมบูรณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงได้แล้ว เขาจะสามารถใช้จุดปกตินั้นเป็นมาตรฐานการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ และย่อมทำให้ผลของการวัดอะไรต่าง ๆ คงที่ ปกติ ได้ผลเหมือนกันหมด absolute value ไม่ว่าจะวัดจากจุดไหนของจักรวาล

 

อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่สามารถหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลได้ เพราะว่า สิ่งต่าง ๆ ที่แม้ดูนิ่ง ๆ บนโลก ไม่เคลื่อนไหวก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว มันไม่ได้อยู่นิ่งจริง เพราะโลกกำลังหมุนอยู่ เมื่อดูในวงกว้างออกไปจากนอกโลก ก็พบว่าระบบสุริยะจักรวาลก็กำลังเคลื่อนอยู่ แกแลกซี่ของเราและอื่น ๆ ก็กำลังเคลื่อนอยู่ ตลอดจนถึงจักรวาลทั้งหมดก็กำลังเคลื่อนไปอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้ไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดนิ่งหรือจุดปกติที่สามารถให้คุณค่าที่เที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริงในจักรวาล เพราะทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างไม่หยุดยั้ง

 

ความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องครอบจักรวาล ครอบคลุมทุกเรื่องของชีวิต  เพราะความคิดทั้งหมดเหล่านี้สัมพันกับเรื่องอนิจจังและพระนิพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเรื่องครอบจักรวาลเช่นกัน 

 

เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งสมบูรณ์ คงที่ และปติ อันจะใช้เป็นมาตรฐานของการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงต้องวัดกันอย่างเปรียบเทียบ หรือ สัมพัทธ์กันเช่นนี้  จึงก่อให้เกิดคำวลีภาษาอังกฤษว่า relatively speaking หรือ พูดอย่างสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นวลีที่ใช้กันบ่อยมากในชีวิตประจำวัน เพราะต้องพูดให้รู้เรื่องก่อนว่าเอาอะไรเป็นหลัก มิเช่นนั้น เถียงกันตาย แต่ถ้าหากเรารู้จุดคงที่ของจักรวาล วิถีชีวิตของเราจะต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกลักษณะหนึ่ง

 

ผู้รู้สัจธรรมจริงจะพูดเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น คือ พูดชักชวนคนไปนิพพาน

 

พระพุทธเจ้าสอนอยู่เรื่องเดียว ก็คือการไม่เกิดแห่งทุกข์ หรือ พระนิพพาน ซึ่งอยู่เบื้องหน้านี่เอง ที่นี่ และ เดี่ยวนี้

 

สติปัฏฐานสี่คือคำตอบ

สภาพเดิม =จิตใจ  = จิตอยู่คู่กับใจ โดยจิตเป็นนายเหนือใจ คอยสั่งการ ดึงใจลงต่ำ

สภาพใหม่ = ใจ แยกจาก จิต 

แยก ใจ(วิญญาณขันธ์) ออกจาก ส่วนของ จิต (ความคิด=สังขาร, ความจำ=สัญญา, ความรู้สึก=เวทนา) ที่เจ็บป่วยและมีมลทินจากการรับสัมผัสกับผัสสะที่ไม่บริสุทธุ์ที่เป็นมายา (=อนิจจัง =อนัตตา = ไม่เที่ยง=เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) หลอกล่อชีวิตจาก ทั้ง 5 ทาง (ภาพ=เข้าทางตา, เสียง=เข้าทางหู, กลิ่น=เข้าทางจมูก, รส=เข้าทางลิ้น, สัมผัส=เข้าทางกาย) และพาตัวใจกลับบ้าน Bringing your mental self back home. เมื่อนั้น ความคิด(สังขารขันธ์) ความจำ(สัญญาขันธ์) ความรู้สึก(เวทนาขันธ์) ซึ่งเป็นกล่องเวลาของอดีตและอนาคตก็จะหลุดลุ่ยออกจากหัวของเรา ทำให้ตัวใจของเราว่างจาก จิต หรือความคิด จึงทำให้เราสามารถมายืนอยู่ต่อหน้าพระนิพพาน หรือ พระเจ้า หรือ สัจธรรมอันสูงสุดได้ทันที ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้

 

แก่นสารของชีวิตอยู่ที่ ที่นี่ และ เดี๋ยวนี้

 

ทฤษฎีเอกภาพของไอน์สไตน์ก็คือการคิดเรื่องสัจธรรมนั่นเอง แต่เขาขาดผู้รู้ที่จะถ่ายทอดความคิดของพระพุทธเจ้าให้ฟัง จึงต้องเสียเวลาทั้งหมดในช่วง 30 ปีสุดท้ายของชีวิตเพื่อค้นหาทฤษฎีเอกภาพ (=สัจจะธรรม = นิพพาน = พระเจ้า = สิ่งสุงสุด) แต่ก็ไม่พบ

 

 

น่าเสียดายที่ไอน์สไตน์ไม่ได้เกิดในเมืองพุทธ มิเช่นนั้น อัจฉริยะบุคคลผู้นี้อาจจะสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกยุคใหม่ให้เป็นโลกที่น่าอยู่มากกว่านี้ก็เป็นได้ ความเป็นอัจฉริยบุคคลของเขาบวกกับความรู้เรื่องสติปัฏฐานสี่ย่อมสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในแง่ของการสร้างสรรค์อารยธรรมที่เอื้ออำนวยให้มนุษย์หันเข้าหาสัจธรรมได้อย่างแท้จริง

 

ไอน์สไตน์ได้ทิ้งไว้แต่ 2 ทฤษฎีแรกที่ค้นพบซึ่งเป็นส่วนที่สัจจธรรม จะต้องกำจัดออก จนทำให้โลกเข้าสู่รุ่งอรุณแห่งมิคสัญญี

คือทฤษฎีสัมพัทธภาพ และกลศาสตร์ควอนตัม

 

ก่อให้เกิดสูตรทางคณิตศาสตร์ e=mc2 ที่ดูเรียบง่ายแต่ซับซ้อน รวมทั้งเปิดเผยคุณภาพทั้งฝ่ายดำสนิท (การผลิตระเบิดปรมณู) และฝ่ายขาวอย่างขุ่นมัว (เทคโนโลยี่ทางวัตถุ)ของธรรมชาติ ซึ่งความรู้เหล่านี้ของไอน์สไตน์ได้เปิดโอกาสให้นักฟิสิกส์รุ่นหลังต่อยอดความรู้ของเขาได้อย่างไม่หยุดยั้งจนกลายเป็นความรู้พื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยี่ทางฝ่ายวัตถุ มาจนทุกวันนี้

 

ไอน์สไตน์ก็ยังเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยูู่ในขั้นตอนของการแสวงหาสัจธรรมอันสูงสุดเหมือนมนุษย์คนอื่น ๆ อีกมากมาย สัจธรรมอันสูงสุดนี้ ดิฉันได้พูดแล้วว่าเป็นสภาวะเดียวกับพระนิพพาน พระเจ้า เต๋า ต้นไม้แห่งชีวิต หรือ ที่นี่ เดี๋ยวนี้  

 

 

ในปี ค.ศ. 1954/๒๔๙๗ ไอน์สไตน์ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง The Human Side ยอมรับเองว่า คำตอบที่เขาต้องการนั้นอาจจะอยู่ในพุทธศาสนาแล้วก็เป็นได้ เขาพูดว่า  

 

        ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาที่เนื่องกับจักรวาล  ควรอยู่เหนือพระเจ้าส่วนตัว หลีกเลี่ยงลัทธิกฏเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์ ควรครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ ควรตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาที่เกิดจากประสบการณ์ของทุกสิ่งที่สร้างเอกภาพอันมีความหมาย ซึ่งพระพุทธศาสนาดูเหมือนจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ศาสนาพุทธน่าจะเป็นศาสนาที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของยุคสมัยได้

 

จุดคงที่ของจักรวาลที่ไอน์สไตน์ต้องการหาก่อนทฤษฎีสัมพัทธภาพรวมทั้งทฤษฎีเอกภาพที่เขาแสวงหาอยู่ในช่วง ๓๐ ปีสุดท้ายของชีวิตนั้น ไม่ใช่อะไรอื่น  มันคือสภาวะสัจธรรมอันสูงสุดหรือพระนิพพานนั่นเอง ไอน์สไตน์หาไม่พบ เพราะขาดปััจจัยสำคัญ คือ ไม่ได้พบผู้รู้จริง

 

 

จะเป็นการโชคดีมากที่เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา ไอน์สไตน์ยังไม่โชคดี

 

คนมีบารมีในทางธรรม แม้อยู่ไกลเพียงใด ก็ยังหาครูบาอาจารย์พบจนได้ บางคนที่อยู่แสนจะใกล้ชิดครูบาอาจารย์แท้ ๆ แต่กลับไม่ไ่ด้ความรู้อะไรไปเลย น่าเสียดายมาก เรื่องของบุญบารมีนี่ ไม่เข้าใครออกใคร

 

การคิดได้อย่างกว้างขวางของไอน์สไตน์จนทำให้เขาอยู่ในระดับอัจริยะบุคคลแห่งความเป็นนักคิดนั้นไม่มีอะไรซับซ้อนมากไปกว่าการเดินลึกเข้าไปในท่อแห่งความคิดอันมีทางตันเป็นที่สุด

 

สิ่งที่มนุษย์พยายามไขว่คว้าหาอยู่ด้วยความหวังว่าจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขจริง ๆ นั้นจึงเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถคิดค้นและเข้าถึงได้ด้วยความคิดและการคิดเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องฟังผู้รู้ตามพระพุทธเจ้าเท่านั้น

 

หากระบบการศึกษาของโลกตั้งอยู่บนหลักการของ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว การเรียนรู้วิชาการทางโลกจะเป็นไปอย่างไม่หลงทิศทางของชีวิต

 

ท่านเหลาจื้อได้พูดว่า ระบบการปกครองที่ดีที่สุดนั้น ชาวบ้านจะไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามีผู้ปกครองอยู่ เพราะทุกคนล้วนทำมาหาเลี้ยงชีพ รับผิดชอบต่อครอบครัวของตน ใช้ชีวิตอย่างปกติธรรมดาซึ่งเป็นการรักษาศีลอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่รู้ว่านั่นคือศีล

 

การวิจัยเรื่องจิตใจของมนุษย์อย่างถูกทางนี้อาจจะสามารถช่วยมนุษยชาติจากวัฒนธรรมยาเสพติดทั้งหลายที่สังคมมนุษย์กำลังติดกับดักมันอยู่ นี่อาจจะเป็นข่าวร้ายต่อผู้หารายได้กับการผลิตและขายยาเสพติด แต่ย่อมเป็นข่าวดีต่อมนุษยชาติโดยส่วนรวม

 

ยุคนี้จึงเป็นสังคมที่กลับหัวกลับหาง คนหมู่มากเห็นดอกบัวเป็นกงจักร และเห็นกงจักรเป็นดอกบัว (ไม่รู้ดี รู้ชั่ว แบบ Absolute Truth เช่น คนที่ลักเล็กขโมยน้อยก็บอกว่า ตัวเองยังเป็นคนดีมีธรรม เพราะถ้าเทียบแบบความดีสัมพัทธ์ ตามทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์แล้วก็สรุปได้ว่า เขาดีกว่าโจรปล้นฆ่า)

 

 

 

 

No comments: